ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น
สังคมผู้สูงอายุ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจลดลง รวมไปถึงทักษะทางด้านเทคโนโลยีของคนไทย ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งฉุดรั้งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างแต่ละอย่างจำเป็นต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาหลายปี ยากที่จะหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะโตปีละ 6-7% เหมือนในอดีต
แต่เมื่อมาดูเงินในกระเป๋าเรากลับพบว่าทำไมรายจ่ายเราเพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อน ไม่ว่าจะเป็นค่าเน็ต ค่าไอโฟน ค่าสมัครสมาชิกรายเดือนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหนัง ซีรีส์ เกม ค่าเซิร์ฟสเก็ตอีก นี่ยังไม่รวม CF ของออนไลน์อีกนะ
ถ้ารายจ่ายของเราคือรายได้ของคนอื่น แสดงว่ายังมีธุรกิจที่กำลังเติบโตอยู่ “เงินแค่ย้ายที่” ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เราจ่ายให้ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจประเภทดิจิทัลเทคโนโลยี และเป็นบริษัทต่างชาติที่มองว่าคนทั้งโลกคือลูกค้า แล้วถ้าเราเป็นเจ้าของธุรกิจเหล่านี้แทนที่จะเป็นลูกค้าเพียงอย่างเดียวจะดีกว่าไหม?
โลกที่เราอยู่ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เมื่อซัก 10 ปีก่อนเราไปเที่ยวต่างประเทศเราเห็นธุรกิจนี้ดี สินค้านี้เจ๋งก็นำเข้ามาขาย มาเปิดธุรกิจในไทยสร้างความร่ำรวย ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโต แต่ธุรกิจยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็น E-COMMERCE, CLOUD COMPUTING,
STREAMING ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกม หนัง หรือแม้แต่คลิปวีดีโอต่าง ๆ เจ้าของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เป็นของต่างชาติทั้งหมด แม้ว่าคลิปวิดีโอ หนัง หรือแม้แต่เพลงที่คนไทยเป็นคนผลิต เป็นเจ้าของก็อยู่บนแพลตฟอร์มเหล่านี้ และได้รับรายได้จากต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่ใช้ทรัพยากรในไทย ดังนั้น ถ้าเราจะคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นไทยเฉลี่ย 10% ต่อปีในระยะยาวเหมือนในอดีตคงเป็นไปได้ยาก ถ้าอนาคตเศรษฐกิจไทยจะเติบโตช้าลงเมื่อเทียบกับอดีต การ
ลงทุนในหุ้นต่างประเทศจึงเป็นโอกาสอย่างแท้จริง
เราสามารถลงทุนในธุรกิจระดับโลกที่เป็นเจ้าของสินค้าที่เราใช้อยู่แล้ว หรือแม้แต่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างมากที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการเติบโตของบริษัทที่ในประเทศหรือภูมิภาคอื่น อย่างที่เรารู้กันดีว่าการกระจายการลงทุนในหลาย ๆ สินทรัพย์ และหลาย ๆ ภูมิภาคจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนของเราได้ และด้วยข้อดีหลายประการข้างต้น ผมจึงอยากให้ทุกคนลองศึกษาการ
ลงทุนต่างประเทศเพื่อเปิดโอกาสใหม่ให้กับตัวเอง
การลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศโดยการเปิดบัญชีหลักทรัพย์เพื่อซื้อขายหุ้น มีข้อจำกัดหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือต้องใช้เงินก้อนใหญ่ มีขั้นตอนการเปิดบัญชีเพื่อการลงทุนต่างประเทศโดยตรงที่ยุ่งยาก และมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่สูง เช่น เราต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีค่าธรรมเนียมต่อครั้งราว ๆ 1,000 บาท นั่นแปลว่าถ้าแลกเงินครั้งละ 1,000 บาท หรือ 1 ล้านบาท ก็จะเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาทเท่ากัน เท่านั้นไม่พอ ราคาหุ้นที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็น AMAZON แพลตฟอร์ม E-Commerce ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ALPHABET เจ้าของ Google และ YouTube หรือหุ้น TESLA ของอีลอน มัสก์ ก็มีราคาหลักร้อยถึงหลักพันเหรียญดอลลาร์ต่อหุ้นเป็นเงินไทยก็ประมาณ หลักพันกลาง ๆ ถึงหลักหมื่นบาทต่อหุ้น ทำให้นัก
ลงทุนที่ไม่ได้มีเงินลงทุนเยอะ หรืออยาก
ลงทุนแบบ DCA ไม่สามารถทำได้ แต่เครื่องมือทางการเงินที่ชื่อว่ากองทุนสามารถสร้างโอกาสให้ทุกคนสามารถลงทุนต่างประเทศได้โดยใช้เงินหลักพันบาท
ประโยชน์ของการลงทุนต่างประเทศโดยผ่านกองทุนนั้นมีอะไรบ้าง
- เพิ่มโอกาสสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน เพราะมีทางเลือกหลากหลายในการลงทุน
- กระจายความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ การเมือง และค่าเงิน จากการถือสินทรัพย์สกุลเงินอื่น รวมถึงการถือหุ้นที่ไม่ได้ทำธุรกิจในไทย และไม่ได้มีลูกค้าเป็นคนไทยเพียงกลุ่มเดียว เนื่องจากปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และค่าเงิน จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศนั้น ๆ มากกว่าธุรกิจที่อยู่ต่างประเทศ
- แม้ไม่มีความรู้ว่าบริษัท หรือหุ้นตัวไหนทำธุรกิจอะไร แต่เราศึกษามาอย่างดีว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ DIGITAL TECHNOLOGY ซึ่งเป็นแนวโน้มหลักของโลกที่จะเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นสูงที่ไม่มีในไทย เช่น กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเทคโนโลยีอิควิตี้(KF-GTECH) ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี โดยเน้นลงทุนในบริษัทที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศในตลาดเกิดใหม่ เราก็ให้ผู้จัดการกองทุนระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน เป็นผู้คัดเลือกหุ้นที่จะลงทุนแทนเรา
เมื่อชีวิตคือการเรียนรู้ลองเปิดใจกับการลงทุนใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้
ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุน KF-GTECH ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- กองทุน KF--GTECH ลงทุนกระจุกตัวในหมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน