4 เรื่องควรรู้ ลงทุนอย่างไรไม่ให้เจ็บหนัก ปลอดภัย ลดความสูญเสีย
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

4 เรื่องควรรู้ ลงทุนอย่างไรไม่ให้เจ็บหนัก ปลอดภัย ลดความสูญเสีย

icon-access-time Posted On 14 กุมภาพันธ์ 2565
by Krungsri The COACH
“การลงทุนมีความเสี่ยง” ประโยคคลาสสิคที่ได้ยินบ่อยครั้งสำหรับคนที่สนใจด้านการลงทุน โอกาสในการสร้างรายได้แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility) หรือการขึ้นลงของราคาสินทรัพย์ ซึ่งใครที่วางแผนไม่ดีก็อาจเจ็บหนักจากการลงทุนได้ ในบทความนี้จึงนำเรื่องควรรู้ที่จะช่วยลดความเสี่ยงเจ็บหนักจากการลงทุน จะมีเรื่องใดบ้างอ่านต่อได้ในบทความนี้
 

4 เรื่องควรรู้ ปิดประตูเจ็บหนักจากการลงทุน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนขาดทุน แต่จะเจ็บมากหรือเจ็บน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการป้องกันความเสี่ยงของตัวเอง โดย 4 เรื่องที่ควรรู้เพื่อปิดประตูเจ็บหนักจากการลงทุนมีดังนี้
 

1. รู้จักการ Cut loss ลดความสูญเสีย

การ Cut loss คือ การขายสินทรัพย์ออกไปโดยที่ “ขาดทุน” แต่เป็นการขาดทุนที่น้อยกว่าการไม่ขายสินทรัพย์ เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่านี้ ทั้งนี้นักลงทุนในแต่ละคนจะมีจุด cut loss ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน

หนึ่งในวิธีการ Cut loss ที่นิยมใช้คือ การกำหนดเปอร์เซ็นต์การขาดทุน ซึ่งจำนวนเปอร์เซ็นต์ในการกำหนดเพื่อ Cut loss นั้นไม่มีตายตัว ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงและความเต็มใจในการยอมขาดทุน ยกตัวอย่างเช่น ซื้อหุ้นในราคา 10 บาท ตั้งเปอร์เซ็นต์การขาดทุนไว้ที่ 5% (0.50 บาท) ดังนั้นเมื่อหุ้นราคา 9.50 บาท ต้องตัดสินใจขายในทันที เพื่อเป็นการ Cut loss ลดความสูญเสียในอนาคต
 
4 เรื่องควรรู้ ลงทุนอย่างไรไม่ให้เจ็บหนัก ปลอดภัย ลดความสูญเสีย
 

2. ความเสี่ยงด้วย Stop loss

การ Stop loss หมายถึง การหยุดความเสี่ยงไม่ให้มูลค่าหลักทรัพย์ลดลงไปมากกว่านี้ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้กำไรลดลงไปมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการทำ Stop loss จึงสามารถทำได้ทั้งในภาวะ“ขาดทุน” และ “กำไร” หนึ่งในวิธีการ Stop loss สำหรับการป้องกันกำไร คือ Trailing stop เป็นการกำหนด Stop loss จากราคาสูงสุด ช่วยหาจุดขายในการทำกำไรได้ และป้องกันการถือสินทรัพย์จนขาดทุน

ยกตัวอย่าง ซื้อหุ้นมา 100 บาท แล้วราคาขึ้นไปที่ 200 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุด หากเรากำหนด Stop loss ไว้ที่ 10% จาก 200 บาท คือ 20 บาท ดังนั้นเมื่อราคาหุ้นลงมาถึง 180 บาท (200-20) ก็ต้องทำการ Stop loss เพื่อป้องกันการถือหุ้นไว้ จนได้กำไรน้อยหรือขาดทุน
 

3. ลงทุนแบบ DCA

สำหรับใครที่ลงทุนเป็นประจำ มีวินัยทางการเงิน การลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Average) เป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการซื้อราคาสินทรัพย์ที่สูงไป ผ่านการแบ่งเงินในจำนวนเท่าๆ กันทุกเดือน ลงทุนในสินทรัพย์ที่ต้องการ เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุน

อย่างไรก็ตามการลงทุนแบบ DCA มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดี คือ เมื่อขาดทุนจะขาดทุนน้อยกว่าการลงทุนแบบก้อนเดียวในราคาเดียว (Lump Sum) แต่ข้อเสีย คือ กำไรที่ได้รับจะน้อยกว่า แต่สำหรับนักลงทุนคนไหนที่ยังไม่ชำนาญ การลงทุนแบบ DCA ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความเจ็บหนักจากการขาดทุนได้ เพียงแต่จะมีโอกาสได้กำไรที่น้อยกว่าเท่านั้นเอง
 
4 เรื่องควรรู้ ลงทุนอย่างไรไม่ให้เจ็บหนัก ปลอดภัย ลดความสูญเสีย
 

4. ลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง แต่นักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงและกำหนดได้เองว่าจะรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในการลงทุนยังมีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้และกองทุนความเสี่ยงต่ำ แต่สินทรัพย์เหล่านี้อาจจะได้ผลตอบแทนในระดับที่ไม่สูงมาก และผลตอบแทนที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ลงทุนไปด้วย

ยกตัวอย่างกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุน KFSMART ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ หรือ กองทุน KFSPLUS ที่มีนโยบายการลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ สถาบันการเงิน รวมถึงบริษัทเอกชนที่มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่ดี เป็นต้น

สรุป
การลงทุนกับความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน ดังนั้นหากนักลงทุนต้องการที่จะลดโอกาสการขาดทุนได้หลากหลายวิธี เช่น การศึกษาวิธี Cut loss และ Stop loss เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลงทุน หรือการเลือกสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างกองทุนหรือตราสารหนี้ เป็นต้น สุดท้ายนี้ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง เพียงแต่นักลงทุนต้องศึกษาและค้นหาวิธีการลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเจ็บหนักจากการลงทุน สามารถติดต่อ ผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ คลิก

บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP®
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา