ในตอนนี้ฐานการผลิตทั่วโลกเริ่มมีแนวโน้มเข้ามาขยายตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น ทำให้ตลาดอาเซียนกลายเป็นแหล่งลงทุนใหม่สำหรับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายใหญ่-รายย่อย วันนี้เราเลยสรุปเทรนด์ 3 ประเทศน่าลงทุนใน ASEAN มาฝากทุกคนกัน
อาเซียนถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็ว และมีศักยภาพที่โดดเด่น มีจำนวนประชากรเมื่อนับรวมกันจะเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้มีปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ ตำแหน่งที่ตั้ง แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มีความพร้อมด้านแรงงาน ขนาดเศรษฐกิจ อีกทั้งนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของกลุ่มอาเซียน นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้า และสงครามเทคโนโลยี
โดยเฉพาะตั้งแต่ในช่วง 2017 เป็นต้นมา สงครามการค้าคงยังไม่หยุดง่าย ๆ เพราะอเมริกามองว่าจีนยังเป็นภัยคุกคามในทุกมิติ ดังนั้นเงินจากหลายภูมิภาคทั่วโลก ทั้งจากยุโรป อเมริกา รวมทั้งจีน ก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะไหลเข้าสู่อาเซียน ประกอบกับอาเซียนถือได้ว่าเป็นฐานการผลิตร่วมชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ มีนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิด และเป็นมิตรกับทุกประเทศ ก็เลยทำให้ประเทศในอาเซียนมีความโดดเด่น น่าลงทุนอย่างต่อเนื่อง
3 เทรนด์ธุรกิจที่น่าลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนรับปี 2024
1. เทคโนโลยีด้าน Digital – Ecommerce
รายงานจาก Google, Temasek, และ Bain & Company เผยว่า ประเทศกลุ่ม “ASEAN-6” ซึ่งประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จะมียอดขายสินค้าออนไลน์ หรือ Gross Merchandize Volume (GMV) รวมเป็นมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อสิ้นสุดปี 2022 และจะแตะ 3.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025
ซึ่งในช่วง 3 ปีมานี้ ภูมิภาคอาเซียนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึงร้อยล้านราย ซึ่งการระบาดของโควิดทำให้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง และซื้อขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านดิจิทัลยังคงมาแรง มีแนวโน้มเติบโต
2. พลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากเทรนด์รักษ์โลกมาแรง หลายประเทศจึงตื่นตัวในเรื่องนี้มาก ดังนั้นธุรกิจอุตสาหกรรมภาคการผลิต หากสามารถดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยมลพิษได้ ย่อมได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เพราะเป็นอีกปัจจัยที่คู่ค้าเริ่มให้ความสำคัญ
3. การท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน
อาเซียนมีหลายประเทศ มีทรัพยากรทางท่องเที่ยวที่สวยงาม และน่าสนใจ มีชื่อเสียงในฐานะจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกชื่นชอบ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ต้องไปชม และภูมิทัศน์ทางธรรมชาติอันงดงาม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และมีส่วนช่วยอย่างมากต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น แม้ว่าการแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างหนักในปี 2563 แต่ก็ฟื้นตัวได้ดีในปี 2566 และตัวชี้วัดสำหรับปี 2567 ก็มีแนวโน้มเป็นบวกมากยิ่งขึ้น
Economic Outlook: ส่องเศรษฐกิจ 3 ประเทศมาแรงใน ASEAN
หลังจากที่เราเห็น
เทรนด์ธุรกิจมาแรงในปี 2024 กันไปบ้างแล้ว หากอยากลงทุนควรเลือกลงทุนในประเทศก่อน ดังนั้นเรามี 3 ประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่น่าสนใจมาแนะนำพร้อมจุดเด่นในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. ประเทศเวียดนาม
ในช่วงที่ผ่านมาการย้ายฐานการผลิตของบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายแห่งไปเวียดนามก็มีปรากฏให้เห็น หรือแม้แต่ในช่วงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนก็มีการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาสู่เวียดนามด้วยเช่นกันส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าแรงของเวียดนามอีกทั้งยังมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากข้อตกลงการค้าต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น CPTPP, RCEP หรือ EVFTA เป็นต้น
จึงไม่แปลกใจที่ประเทศเวียดนามสามารถดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติ (FDI) ให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงไม่ว่าจะเป็นบริษัทสัญชาติเกาหลีอย่าง SAMSUNG หรือบริษัทชั้นนำอย่าง Intel, Apple หรือ LG ถือได้ว่าเป็น Hi-Tech Hub –ASEAN Next Silicon Valley (ที่มา: datahouse.asia, asia.nikei.com)”
เวียดนามเองมีทรัพยากรธรรมชาติ และวัตถุดิบสำหรับภาคการผลิตอย่างอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำมันดิบกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีปริมาณเชื้อเพลิงสำรอง เช่น ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม และถ่านหินอยู่ในปริมาณมาก มีแหล่งสินแร่ที่สำคัญ และยังมีทรัพยากรป่าไม้อยู่อีกมาก นอกจากนี้ สภาพพื้นที่ของเวียดนามยังเอื้อต่อการเพาะปลูก สินค้าเกษตรที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้เวียดนามเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม มีวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่โดดเด่น ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเวียดนามมีการเติบโตสูงขึ้นอีกด้วย นอกจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์แล้ว
ปัจจุบันเวียดนามมีประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน ทำให้เป็นแหล่งแรงงานจำนวนมาก และมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าอีกหลายประเทศในอาเซียน อีกทั้งเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน ทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกจึงมีความต้องการนําเข้าสินค้า และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตในปริมาณสูง นอกจากนี้เวียดนามยังได้จัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรม และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก มีการอำนวยความสะดวกให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่นักลงทุนต่างชาติ จึงไม่น่าแปลกใจที่
นักลงทุนต่างชาติได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศเวียดนาม
2. ประเทศสิงคโปร์
ใแม้ว่าสิงคโปร์จะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่สิงคโปร์กลับเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงแห่งหนึ่งของโลก และที่รู้กันว่าสิงคโปร์เป็น Financial Hub ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเงินสูง นอกจากนี้รัฐบาลมีรายได้อย่างสม่ำเสมอติดต่อกันหลายปี ส่งผลให้ปัจจุบันเศรษฐกิจสิงคโปร์ถือได้ว่าแข็งแกร่งมีเสถียรภาพมาก
นอกจากอุตสาหกรรม Financial Hub ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสิงคโปร์ แล้วยังเป็นอุตสาหกรรมภาคการผลิต โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมเครื่องจักร ซึ่งคิดเป็น 20-25% ของ GDP เฉลี่ยต่อปี นอกจากนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ยังขยายตัวจากการขยายตัวของสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ โลจิสติกส์ และวิศวกรรมการขนส่ง
นอกจากนี้ในด้านภูมิศาสตร์สิงคโปร์เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลเซีย นอกจากนี้สิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่โครงสร้างพื้นฐานพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทางบก ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ทางเรือ มีสายการเดินเรือมากกว่า 200 เส้นทางเป็นฐานท่าเรือที่สำคัญ และทางอากาศ มีสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินกว่า 7,000 เที่ยวต่อสัปดาห์ ทำให้สิงคโปร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ที่ผ่านมาสิงคโปร์ยังคงเป็นผู้นำในภูมิภาคที่ดึงดูด FDI เข้ามาในอาเซียนได้มากที่สุด โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 สิงคโปร์ดึงดูดการลงทุนได้มากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่า ภาคเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของสิงคโปร์คือภาคการเงิน และประกันภัย การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชีวการแพทย์ และเศรษฐกิจดิจิทัล
(ที่มา:
https://thaibizsingapore.com)
3. ประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียถือได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นตลาดใหญ่ มีประชากรกว่า 270 ล้านคนมากเป็นอันดับ 4 ของโลก หลายประเทศมองเห็นศักยภาพมองไปในทิศทางเดียวกันว่าถ้าจะทำธุรกิจในอนาคตต้องมีฐานที่มั่นที่อินโดนีเซีย เพราะมีปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญหลายอย่างที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นฐานที่มั่นไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟซึ่งมีลาวาอยู่ใต้พื้นโลกมันคือแร่ธาตุ ทุกครั้งที่มีแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด แร่ธาตุเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนเป็นสินแร่ที่อุดมสมบูรณ์มาก โดยเฉพาะสินแร่ที่เกี่ยวข้องกับอนาคต เช่น Rare Earth (กลุ่มแร่หายาก) หรือเรื่องของพลังงาน เหล็ก ก็อุดมสมบูรณ์มาก ทำให้อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศเนื้อหอมในสายตาของกลุ่มธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า
เพราะหากฐานการผลิตที่อินโดนีเซีย ก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่านำเข้าวัตถุดิบเพิ่ม เป็นการประหยัดต้นทุนได้มหาศาล นอกจากนี้ หรือเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ อินโดนีเซียเป็นสังคมมุสลิม จึงห้ามคุมกำเนิด ในขณะที่หลายประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย วัยแรงงานเริ่มหดหาย แต่ที่ประเทศอินโดนีเซียนั้นอายุเฉลี่ยวัยแรงงานของอินโดนีเซียยังอยู่ในช่วง 19-20 ปี และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับคุณภาพการศึกษา และคุณภาพประชากร จึงมีวัยแรงงานเป็นจำนวนมากที่พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
กองทุนต่างประเทศที่น่าสนใจ ที่มีการลงทุนในกลุ่มประเทศ ASEAN
- กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน หรือ ETF ของประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 66) กองทุนลงทุนในกองทุนทุนหลักคือ JP Morgan Vietnam Opportunities Fund 62% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และ Trackers FTSE Vietnam Swap UCITS ETF 18% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
- ระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม : ระดับ 6
- มีผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ยนับตั้งแต่ต้นปี : 13.08% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 66)
- ตัวอย่างหุ้นที่กองทุนนี้ลงทุนเป็น 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 66) เช่น
- Hoa Phat Group : บริษัทผลิตเหล็กชั้นนำของประเทศเวียดนาม
- Vingroup (VIC) : บริษัทค้าปลีก และโรงแรม และเป็นบริษัทใหญ่สุดของเวียดนาม (Hotel)
- Vietcombank (VCB) : สถาบันการเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดของประเทศเวียดนาม (Bank)
- Vinhomes (VHM) : บริษัทจัดการ และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อันดับ 1 ของประเทศเวียดนาม
- Vietnam Dairy Products : บริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนม และทำฟาร์มโคนม
- ความเสี่ยงของกองทุนนี้คือ มีความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม และความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
2. KFHASIA-A กองทุนเปิดกรุงศรีเอเชียนอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า
- มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักคือ Baillie Gifford Pacific Fund (Class B Acc) ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่อยู่ในทวีปเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
- ระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม : ระดับ 6
- มีผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ยนับตั้งแต่ต้นปี : -5.47% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 66) สาเหตุหลักมาจากผลตอบแทนของตลาดหุ้นจีนที่ปรับลดลงมาอย่างมาก
- ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 66) มีสัดส่วนการลงทุนในประเทศ
- จีน 33.7%
- อินเดีย 20.5%
- เกาหลีใต้ 15.3%
- ไต้หวัน 10.1%
- เวียดนาม 7.9%
- ตัวอย่างหุ้นที่กองทุนนี้ลงทุนเป็น 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 66) เช่น
- Samsung Electronics : บริษัทลูกของ Samsung ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
- TSMC : บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ และเป็นผู้ผลิตชิป ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple
- CNOCC : บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในจีน
- Reliance Industries : บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย และมีธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น
- Ping An Insurance : บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน
- ความเสี่ยงของกองทุนนี้คือ มีความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มเอเชีย และความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
หมายเหตุ
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- KFVIET-A ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- KFVIET-A ลงทุนกระจุกตัวในตราสารผู้ออกจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก