ในตอนนี้ใครที่กำลังวางแผนลงทุนระยะยาวอยู่ มีเป้าหมายที่อยากจะพิชิตเงินล้าน การลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) หรือเทคนิคที่หลาย ๆ คนรู้จักในชื่อของ "การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย" ที่เน้นทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยจำนวนเงินเท่า ๆ กัน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
บทความนี้เราเลยอยากจะพาคุณไปดูการจัดพอร์ตกองทุนว่าควรลงทุน DCA ด้วยเงินเท่าไร และต้องใช้ระยะเวลากี่ปีถึงจะพิชิตเงินล้านแรกได้ พร้อมแนะนำทริคดี ๆ และกองทุนน่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนด้วย จะทำได้อย่างไรตามไปดูกัน!!
การลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Average) คือ
การทยอยลงทุนแบบสม่ำเสมอ โดยนำเงินจำนวนเท่า ๆ กันทุกงวด โดยลงทุนในสินทรัพย์ที่เราเลือกลงทุนไว้ในระยะเวลาเท่า ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดือนละหนึ่งครั้ง เป็นต้น และลงทุนไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 10 ปี หรือ 20 ปี เป็นต้น
ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA มีข้อดี
- ลงทุนน้อยในแต่ละครั้ง และเป็นการสร้างวินัยการลงทุน เพราะจะทำให้เรานำเงินมาออมก่อนนำไปใช้ หรือไม่ต้องกลัวว่าจะลืมลงทุน เพราะใช้วิธีการตัดเงินออกจากบัญชีไปลงทุนโดยอัตโนมัติ
- นอกจากนี้การลงทุนแบบ DCA ไม่ต้องกังวลเรื่องราคาว่าจะขึ้น หรือจะลง เพราะเป็นการลดความเสี่ยงด้าน Market Timing โดยเราจะกระจายระยะเวลาการลงทุนออกไป ทำให้ราคาสินทรัพย์ที่เข้าไปลงทุนนั้นมีหลากหลายราคา สุดท้ายแล้วจะได้ราคาต้นทุนเฉลี่ย
สำหรับคนที่ไม่มีเวลาติดตามภาวะการลงทุน อยากมีคนช่วยวิเคราะห์ และตัดสินใจแทน การลงทุน DCA ในกองทุนรวมน่าจะเหมาะกว่าการ DCA ในหุ้นโดยตรง เพราะว่ากองทุนรวมมีนักวิเคราะห์รวมถึงผู้จัดการกองทุน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยเลือกบริษัท หรือสินทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนแทนเรา ซึ่งทำให้เรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนในระยะยาว และช่วยให้เราสามารถลงทุนได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องหวั่นต่อการเปลี่ยนแปลงของการลงทุนที่เกิดขึ้น
DCA 3 กองทุนไหนน่าสนใจ!! ในปี 2023
1. การลงทุนกลุ่มประเทศ ASEAN โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติประเทศเวียดนามได้คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2023 ค่า GDP ของประเทศจะเติบโตขึ้นในอัตรา 6.5% ซึ่งแตกต่างจากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เล็กน้อย ที่คาดการณ์ว่า GDP ของประเทศเวียดนามจะเติบโตขึ้น 6.2%
แต่ไม่ว่าการคาดการณ์ของหน่วยงานไหนก็สามารถเป็นจริงได้ เพราะความแข็งแกร่งของภาคการผลิต ที่มีบริษัทระดับแถวหน้าของโลกย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในประเทศนี้ อย่างบริษัท Samsung ที่ยังคงฐานการผลิต และลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมาก็เพิ่งจะเพิ่มทุนไปอีก 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ส่วนในปี 2023 นี้ บริษัท Apple ได้ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศเวียดนามด้วยเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ Apple ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิต AirPods และ iPad มาแล้ว ในปีนี้จึงถึงคิวของ MacBook ที่จะย้ายเข้ามาลงทุนในเวียดนาม และอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และแนวโน้มที่จะเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจในประเทศเวียดนามในอนาคตคือ
การรวมตัวกันของผู้บริหารระดับสูงจาก 52 บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา อย่าง Boeing และ Netflix ที่ได้เข้าร่วมดูงานในประเทศเวียดนาม โดยการนำของอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศเวียดนาม เพื่อศึกษา และหาแนวทางในการขยายธุรกิจ
และการที่ประเทศเวียดนามมีจุดแข็งอยู่ที่ความสามารถในการค้าขายได้อย่างอิสระกับหลากหลายประเทศ เพราะได้ทำข้อตกลงการค้าเสรี (CPTPP) กับนานาประเทศ จึงเป็นเครื่องการันตีได้ว่า นอกจากประเทศเวียดนามจะได้รับความไว้วางใจจากเวทีเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังเป็นประเทศที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาทำธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และรวมไปถึงธุรกิจอื่น ๆ ภายในประเทศได้อย่างเสรี
จากข้อมูล
เรื่องน่ารู้ก่อนการลงทุนในเวียดนาม ฉบับปี 2023
กองทุนที่แนะนำ: กองทุนกรุงศรีเวียดนามอิควิตี้-สะสมมูลค่า (KFVIET-A) ซึ่งเป็นกองทุนเน้น
ลงทุนตราสารทุนในประเทศเวียดนาม
ความเสี่ยงอยู่ในระดับ 6 ซึ่งนับว่ามีความเสี่ยงสูง
เหมาะสมกับผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจในประเทศเวียดนาม และกองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากค่าเงินได้
2. ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนการลงทุนในญี่ปุ่นโดยเฉพาะตลาดหุ้นเริ่มคึกคักและได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น นักลงทุนทั่วโลกมองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีเสถียรภาพที่ดีขึ้นต่อเนื่องโดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังโควิดน่าจะฟื้นตัวเป็นอย่างมาก มีภาคการท่องเที่ยวหนุนเศรษฐกิจ และภาคการผลิตขยายตัว
ประกอบกับเมื่อกลางเดือนเมษายนปี 2566 ปู่ Warren Buffett ประกาศว่าได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น พร้อมส่งสัญญาณว่ายังมีความตั้งใจเพิ่มเงินลงทุนในญี่ปุ่นในอนาคตด้วย ความเคลื่อนไหวของปู่ Warren Buffett ส่งผลให้กระแสการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากนักลงทุนทั่วโลก
จากมุมมองเชิงบวกของ Warren Buffett ที่มีต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น และบางแห่งได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว ทำให้นักวิเคราะห์ให้คำแนะนำว่า “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” ในตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ดังนั้นใครที่มือใหม่สามารถ
ลงทุนในกองทุนรวมแบบ Passive ด้วยการลงทุนในกองทุนที่อิงกับดัชนีหุ้น TOPIX กับ Nikkei 225 ข้อดี คือ มีค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุนต่ำ กระจายการลงทุนไปยังหุ้นที่อิงกับดัชนีของตลาดที่ดี จึงมีความเสี่ยงต่ำ
กองทุนที่แนะนำ: กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนอิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า (KFJPINDX-A) ซึ่งเป็นกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี Nikkei225 หรือหุ้นที่กำลังจะมาเป็นส่วนประกอบของดัชนี Nikkei225
ความเสี่ยงอยู่ในระดับ 6 ซึ่งนับว่ามีความเสี่ยงสูง จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่น และกองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากค่าเงินได้
3. ประเทศในทวีปเอเชียหลาย ๆ ประเทศ
เรามีกองทุนที่ชื่อว่า
กองทุนเปิดกรุงศรีเอเชียนอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ ชนิดสะสมมูลค่า (KFHASIA-A)
ซึ่งมีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักคือ Baillie Gifford Pacific Fund (Class B Acc) ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่อยู่ในทวีปเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
ในปัจจุบัน (ข้อมูล Factsheet ณ วันที่ 31 ส.ค. 66) มีสัดส่วนการลงทุนในประเทศ
- จีน 33.8%
- อินเดีย 18.2%
- เกาหลีใต้ 16.3%
- ไต้หวัน 9.1%
- อินโดนีเซีย 8.1%
โดยกองทุนนี้มีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 6 จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจในเอเชียได้ และกองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
วิธีการจัดพอร์ตการเงินแบบ DCA
สำหรับการจัดพอร์ตการเงินแบบ DCA นั้น อยากให้เน้นการทำ Asset Allocation เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของตลาด และนอกจากกระจายความเสี่ยง จากผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ยังสามารถใช้กระจายโอกาส ในกรณีที่เราไม่สามารถตัดสินใจอย่างแน่ชัด ว่าสินทรัพย์ใดจะเติบโตมากกว่าสินทรัพย์ใด
อาจเพราะในระยะยาวก็ดูน่าสนใจทั้งคู่ เช่น เราตัดสินใจไม่ถูกระหว่างหุ้นจีน กับหุ้นเวียดนาม เราก็สามารถกระจายไปยังทั้งสองทางเลือกได้ เป็นต้น และเราสามารถปรับลดสัดส่วนได้ตามความสามารถในการรับความเสี่ยง และความผันผวนของตลาด โดยการกระจายไปในหลายสินทรัพย์โดยใช้กองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยง ดังตัวอย่างด้านล่าง
แต่หากใครลงทุน DCA ไปแล้ว และกองทุนรวมติดลบ ทางเลือกมีดังนี้ ลงทุนต่อไปเพราะเป็นวิธีที่ไม่ใช้อารมณ์มาตัดสิน เป็นการถัวเฉลี่ยต้นทุน และอย่าลืมหลักการที่สำคัญคือ การรักษาวินัยการลงทุนได้ต่อเนื่อง และยาวนานพอ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ และเป็นแก่นของ DCA ส่วนปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้
เช่น ความผันผวนของตลาด เราอาศัย
การทำ Asset Allocation จัดสัดส่วนการลงทุนแบบ DCA กองทุนแต่ละกองใหม่เพื่อถัวเฉลี่ยความเสี่ยง คือ การจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันย้ายเงินลงทุนบางส่วน (หรือทั้งหมด) ไปกองทุนใหม่ และเริ่มต้น DCA กองทุนใหม่ดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยง ให้เราสามารถถือลงทุน DCA ได้นานพอที่จะให้ออกดอกออกผลในระยะยาว
หลายคนอาจจะอยากรู้ว่า เมื่อเราจัดพอร์ตแล้ว ทำ Asset Allocation แล้ว และเมื่อไหร่ เราจะมีเงินล้านบาท มาดูกัน
ถ้าเราลงทุน DCA ทุกเดือน ต่อเนื่อง โดยได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง 5% ต่อปี
- ลงทุนเดือนละ 2,000 บาท ใช้เวลา 22.6 ปี
- ลงทุนเดือนละ 5,000 บาท ใช้เวลา 12.2 ปี
- ลงทุนเดือนละ 10,000 บาท ใช้เวลา 7 ปี
- ลงทุนเดือนละ 20,000 บาท ใช้เวลา 3.8 ปี
เราจะได้ล้านบาทแรกแล้ว เห็นไหมว่าการลงทุน DCA หากเราลงทุนสม่ำเสมอ เราสามารถมีเงินล้านได้สบาย ๆ และหากใครสนใจที่จะลงทุนกองทุนรวมแบบ DCA ทางธนาคารกรุงศรีพร้อมให้บริการ เพราะเรามีผลิตภัณฑ์กองทุนที่หลากหลาย สามารถตอบทุกโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ สนใจสอบถามข้อมูลกองทุนจากที่ปรึกษาทางการเงินการลงทุน โทร. 0 2296 5959 หรือ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
หมายเหตุ: บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- KFVIET-A ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- KFVIET-A ลงทุนกระจุกตัวในตราสารผู้ออกจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก