โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี

การพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี

ย้อนกลับไปหลายสิบปีที่ผ่านมา เดิมพื้นที่ดินบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรีแห่งนี้ ได้ถูกทำลายจากการตัดไม้ทำลายป่า การทำเกษตรอย่างผิดวิธีโดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่ดินมาเพาะปลูกพืชไร่ อาทิ สับปะรด ซึ่งมีการใช้สารเคมีและเผาทำลายหน้าดิน ส่งผลให้หน้าดินเสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณ์จนกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ จนไม่สามารถเพาะปลูกพืชใดๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2556 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) จึงมีพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ด้วยการปลูกป่าและจัดหาแหล่งน้ำ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่โดยรอบบริเวณศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยทรายฯ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ในปี 2557 กรุงศรีจึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ดำเนิน “โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี” เพื่อร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียงให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริ โดยทั้งสององค์กรได้นำ
“อาสาสมัครพนักงานกรุงศรี” และ “พนักงานอินทรีอาสา” ร่วมกิจกรรมสร้างฝายกึ่งถาวร ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างฝ่ายชะลอความชุ่มชื้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในวโรกาสทรงมีพระชนมายุ 84 พรรษา (เป้าหมาย: 84 ฝาย) เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับพื้นดินและชะลอการไหลของน้ำลงสู่ทะเล รวมทั้งเป็นการกักเก็บน้ำไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร

โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ถือเป็นโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของกรุงศรี อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอุปนิสัยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานกรุงศรี ผ่านการดำเนินกิจกรรมปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ อาทิ ภูเขา
ป่าไม้ พื้นที่ชุมน้ำ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 6: การบริหารจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 15: การส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และเป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกด้วย

ผลการดำเนินงาน
ปี จำนวนฝายที่สร้าง (ฝาย) จำนวนอาสาสมัคร (คน)
อาสาสมัครกรุงศรี พนักงานอินทรีอาสา ตำรวจตระเวณชายแดน
2562 2 80 15 15
2561 2 85 15 15
2560 2 74 15 15
2559 2 103 15 24
2558 2 50 20 30
2557 2 46 20 30
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา