อีกทางเลือกของการลงทุนเฉพาะลูกค้าคนสำคัญ

ตราสารหนี้ต่างประเทศในตลาดรอง U.S. Treasury Bill ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ

 

จุดเด่นของ U.S. Treasury Bill

ความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำ ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร AA+ โดย Fitch ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566
ความเสี่ยงด้านราคาต่ำ มีความผันผวนต่อการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยตลาดต่ำ
สภาพคล่องสูง สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ
ผลตอบแทนสม่ำเสมอ คาดการณ์กระแสเงินสดรับจากดอกเบี้ย และ/หรือเงินต้นได้ในกรณีที่ถือจนครบกำหนดอายุไถ่ถอน

 
รุ่น 0% Treasury Bill 16/05/24
ผู้ออกตราสาร US Government
ระดับความเสี่ยงของตราสาร 1
อายุคงเหลือ 175 วัน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566)
วันที่ครบกำหนด 16 พฤษภาคม 2567
ISIN US912797FH58
ประมาณการผลตอบแทนต่อปี 5.02%* (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566)
ข้อมูลเงื่อนไข/ข้อกำหนดการซื้อ
  • เสนอขายขั้นต่ำ 200,000 USD
  • สามารถทำ FX Hedging ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
*อัตราผลตอบแทนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะตลาด

หมายเหตุ:
  • ราคาเสนอขาย (Indic Ask) หมายถึงราคาที่ผู้ลงทุนจะต้องจ่ายเมื่อซื้อตราสารหนี้ต่างประเทศ
  • ราคาเสนอขายที่แสดงข้างต้นเป็นราคาที่ยังอาจเปลี่ยนแปลงได้ (Indicative Price) อาจมีความแตกต่างจากราคาซื้อจริง ทั้งนี้บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ราคาที่แสดงเป็นราคายังไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ (Clean Price)
  • ผลตอบแทนที่แสดงข้างต้นเป็นผลตอบแทนหากผู้ลงทุนถือตราสารจนครบวันไถ่ถอนก่อนกำหนด (YTC – Yield to Call) หรือผู้ลงทุนถือครองตราสารหนี้จนครบกำหนดอายุ (YTM - Yield to Maturity)
  • การจัดความเสี่ยง (Risk Rating) ดังกล่าวเป็นการจัดลำดับความเสี่ยงภายใน บล. กรุงศรีโดยใช้เกณฑ์ของ กลต.
  • เสนอขายเฉพาะนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra HNW)
  • การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศไม่ใช่ “เงินฝาก” จึงไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
  • ตราสารหนี้ต่างประเทศเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงในหลายปัจจัย ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาความเสี่ยงอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจในการลงทุน
  • ความเสี่ยงทั่วไปการลงทุนในตราสารหนี้มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินลงทุนไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วนได้ ทั้งนี้ อาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ กล่าวคือการดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐ สภาวะเศรษฐกิจการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงเหตุการณ์อื่นๆ เช่น สงคราม จลาจล ความวุ่นวายภายในบ้านเมืองการก่อการร้าย ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ทำให้เกิดความผันผวนรุนแรงต่อราคาหลักทรัพย์
  • ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Credit/ Default Risk) หมายถึง ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ เป็นความเสี่ยงที่บริษัทผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนได้ไม่ว่าด้วย เหตุผลใดๆ ผู้ลงทุนอาจจะไม่ได้รับเงินคืน หรือได้รับไม่เต็มจำนวน หากผู้ออกตราสารตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้เจ้าหนี้อื่นของผู้ออกตราสารหนี้จะมีบุริมสิทธิเหนือผู้ถือหุ้นของผู้ออกตราสารหนี้
  • ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย (Interest rate Risk) ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยคือ ความเสี่ยงจากการที่ราคาตราสารหนี้จะลดลงเมื่ออัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนแปลง เนื่องจากราคาตราสารหนี้จะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ยแต่ถ้าถือตราสารจนครบกำหนดอายุ จะไถ่ถอนได้ตามราคาหน้าตั๋วเสมอ ดังนั้นผู้ลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้โดยการถือตราสารจนครบกำหนดอายุ
  • ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้ถือตราสารหนี้อาจไม่สามารถขายตราสารหนี้ได้ในทันทีที่ต้องการ หรืออาจขายไม่ได้ ณ ราคาที่ต้องการ เช่น ตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (Low Credit Rating) แต่ให้ผลตอบแทนสูง การซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองอาจมีไม่มาก ทำให้ไม่สามารถขายได้ หรือราคาที่ขายได้อาจต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น
  • ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของราคาตราสารหนี้ ผู้ถือตราสารหนี้ที่ราคาของตราสารหนี้ลดลง ทำให้ราคาที่ต้องการขายอาจต่ำกว่าราคาคาดหวังหรือราคาที่ซื้อมา เมื่อผู้ถือตราสารหนี้ต้องการขายก่อนวันครบกำหนดการไถ่ถอนตราสารหนี้ เช่น หากอัตราดอกเบี้ยของตลาดสูงขึ้น ราคาของตราสารหนี้จะลดลง เป็นต้น อาจทำให้ผู้ลงทุนต้องถือตราสารหนี้จนครบอายุ
  • ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการลงทุนในต่างประเทศมีการชำระเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนอาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงหากมูลค่าของเงินตราต่างประเทศดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเมื่อเทียบกับมูลค่าของเงินบาท ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นอย่างถาวร นอกจากนี้ หากเกิดการลดค่าของเงินตราต่างประเทศสกุลใดๆ ที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนไป ผู้ลงทุนอาจได้รับความเสียหายจากการลดค่าของเงินตราต่างประเทศดังกล่าว
  • ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับกฎหมายหรือระเบียบที่ใช้บังคับ เนื่องจากการลงทุนในต่างประเทศเป็นการลงทุนในบริษัทที่มีถิ่นที่อยู่หรือมีสำนักงานทรัพย์สิน บุคลากร และผลประโยชน์อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบที่แตกต่างกันการลงทุนในประเทศต่างๆ หรือในบางประเทศดังกล่าว อาจถูกจำกัดหรือถูกควบคุมในระดับที่แตกต่างกันออกไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่ใช้บังคับในแต่ละประเทศนั้น ซึ่งข้อจำกัดหรือการควบคุมดังกล่าวอาจรวมถึงการต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐหรือจากบุคคลอื่นใดก่อนการลงทุนข้อจำกัดการลงทุนของผู้ลงทุนต่างชาติในธุรกิจบางประเภท การขออนุญาตจากหน่วยงานของรัฐเพื่อนำเงินได้จากการลงทุนหรือเงินทุนหรือเงินที่ผู้ลงทุนต่างชาติได้รับจากการลงทุนต่างประเทศออกนอกประเทศดังกล่าว หรือการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของผู้ลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ กฎหมายและระเบียบในประเทศเหล่านั้นอาจมีความไม่ชัดเจนและอาจขึ้นอยู่กับการตีความของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในประเทศดังกล่าว ซึ่งอาจตีความกฎหมายหรือระเบียบเหล่านั้นในทางที่ไม่เป็นคุณต่อผู้ลงทุน อีกทั้งประเทศต่างๆ ดังกล่าวอาจมีการออกกฎหมายหรือระเบียบใหม่เป็นครั้งคราว ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนในเรื่องของขอบเขตและเนื้อหาของกฎหมาย หรือระเบียบที่ออกมาใหม่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อการลงทุน นอกเหนือจากข้อจำกัดและการควบคุมตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ในบางประเทศอาจมีการคุ้มครองสิทธิของผู้ลงทุนไว้อย่างจำกัดหรือน้อยมาก ซึ่งรวมถึงสิทธิในการฟ้องร้องดำเนินคดี และการขอให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา นอกจากนี้ ความมีประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมของแต่ละประเทศ ก็มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนประสบปัญหาในการดำเนินการฟ้องร้องในชั้นศาลในประเทศนั้นๆ อีกทั้งในกรณีที่ผู้ลงทุนได้รับคำพิพากษาให้ชนะคดีในประเทศหนึ่ง แต่ผู้ลงทุนอาจต้องดำเนินการให้มีการบังคับตามคำพิพากษาดังกล่าวในประเทศที่ผู้ลงทุนได้ทำการลงทุน ก็มิได้มีหลักประกันใดๆ ว่าศาลของประเทศนั้นๆ จะดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ได้รับ
  • ความเสี่ยงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้ลงทุนทรัพย์สินของผู้ลงทุนที่ได้รับหรือฝากไว้ หรืออยู่ภายใต้การเก็บรักษาของผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ หรือผู้รับฝากทรัพย์สินต่างประเทศจะอยู่ภายใต้การคุ้มครอง และการจัดการตามกระบวนการล้มละลายที่บัญญัติตามกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลของต่างประเทศนั้น ซึ่งอาจแตกต่างจากที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทย ดังนั้นหากเกิดกรณีที่มีเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองทรัพย์สินของผู้ลงทุน หรือในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการจะเรียกร้องทรัพย์สินของผู้ลงทุนที่เก็บหรือรักษาในต่างประเทศคืนหรือโอนไปยังบุคคลอื่น หรือกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศหรือผู้รับฝากทรัพย์สินต่างประเทศนั้นประสบปัญหาทางการเงิน จนถึงขั้นล้มละลาย ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงในเรื่องขั้นตอน ระยะเวลา และต้นทุนในการดำเนินการ หรืออาจได้รับคืนไม่ครบถ้วนตามประเภทจำนวน หรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ผู้ลงทุนได้รับหรือฝากไว้ในต่างประเทศนั้น ผู้ลงทุนจึงควรทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์ที่กำหนด และอาจขอให้ผู้ประกอบธุรกิจ อธิบายหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดการและความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุน Offshore Fixed Income 0% Treasury Bill 03/07/24

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่น ข้อมูล รูปภาพ เครื่องหมาย ชื่อ สัญลักษณ์ หรือการแสดงผลใดๆ บริษัทฯ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลง แก้ไข ทำซ้ำ ดัดแปลง คัดลอก ใช้เครื่องหมายการค้า ใช้ในลักษณะเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า หรือทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิของบริษัทฯ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้แนะนำการลงทุนของท่าน หรือเบอร์โทรศัพท์ 0 2659 7500 ในวันและเวลาทำการ

คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะของตราสาร เงื่อนไขผลตอบแทน ก่อนตัดสินใจลงทุน

หมายเหตุ: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้แนะนำและสนับสนุนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ให้กับ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เท่านั้น
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา