ทฤษฎีการมีรายได้อย่างยั่งยืน พระราชดำรัสที่ช่วยยกระดับชีวิตของคนทุกคน

ทฤษฎีการมีรายได้อย่างยั่งยืน พระราชดำรัสที่ช่วยยกระดับชีวิตของคนทุกคน

By Krungsri Guru

ทฤษฎีการมีรายได้อย่างยั่งยืน เป็นหลักในการพัฒนาชีวิต ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกอาชีพ โดยมีหลักในการปฏิบัติดังนี้ครับ

  • มีทัศนคติที่ดีต่องาน ไม่ว่าจะทำการใด ในขั้นแรก เราจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่จะทำ มีความชอบในงาน และเห็นประโยชน์ว่า การทำงานนั้น ๆ จะสร้างคุณค่าต่อสังคมอย่างไร ซึ่งในทางตรงข้าม เราไม่ควรเสียเวลากับงานที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ อย่าลืมครับว่า เรามีเวลา และทรัพยากรอย่างจำกัด ดังนั้น เรามาเลือกทำแต่สิ่งที่มีประโยชน์กันดีกว่าครับ
  • ทำงานด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ หากมีอุปสรรคใดก็ไม่ท้อแท้ รวมทั้งเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่น และนำข้อเสนอแนะมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • การเริ่มทำการงานหรือธุรกิจใด ๆ ให้เริ่มจากขอบเขตงานเล็ก ๆ ก่อน แล้วนำผลที่ได้มาปรับปรุง หรือปรับเปลี่ยนวิธีไปตามความเหมาะสม จนเมื่อธุรกิจเริ่มอยู่ตัวแล้วจึงค่อยขยับขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพื่อจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
  • เน้นความจำเป็นขั้นพื้นฐานเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ ในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมากมาย หลายครั้ง เมื่อเราได้ยิน หรือได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ก็มักจะรู้สึกอยากนำไปลองใช้ไปเสียหมด แต่ทั้งนี้ พึงระลึกว่า การทำธุรกิจใด ๆ ย่อมมีงบประมาณที่จำกัด ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ไม่เกินความจำเป็น สิ่งใดประหยัดได้ ก็ควรประหยัดให้มากที่สุด โดยข้อนี้ เราสามารถปรับใช้ในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ด้วยการเลือกใช้ของที่พอดีกับความจำเป็น ไม่ตามกระแส
  • เน้นการรวมกลุ่ม เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน เมื่อเรามีความชำนาญในงานที่ทำ สามารถพึ่งพาตัวเองได้แล้ว อาจมีการรวมกลุ่มกันกับคนในสายอาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น ต่อยอดความรู้ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • การสื่อสารในกลุ่มควรจะเน้นให้เข้าใจง่าย แต่ยังคงความน่าสนใจไว้ ในการทำงานร่วมกันนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่คนในกลุ่มจะมีการรับรู้ที่แตกต่างกัน เนื่องจากพื้นฐานความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการสื่อสารที่เข้าใจง่ายจึงเป็นสื่อกลางในการทำให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
  • มีการวางแผนการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน เพื่อลดความซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย รวมถึงมีวิธีการตรวจสอบ วิธีการวัดผลในการทำงาน เพื่อนำไปปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ใช้ความรู้เข้ามาพัฒนาเพิ่มเติม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้วยการหมั่นค้นคว้าหาความรู้ ร่วมกับข้อมูลที่แท้จริงจากการลงมือทำ รวมทั้งนำความรู้จากหลาย ๆ ด้านมาประยุกต์ใช้ หลายครั้งที่องค์ความรู้จากสาขาวิชาชีพด้านหนึ่ง สามารถนำมาปรับใช้ได้กับอีกวิชาชีพหนึ่งทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง
  • มีคุณธรรม ไม่ว่าจะทำอาชีพใด คุณธรรมเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ เพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะผู้นำกลุ่ม ที่ต้องตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม เพื่อความเจริญ ความสามัคคีกันของกลุ่ม
หลักการทั้งหมดนี้ เป็นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน จากการพึ่งพาตัวเอง ไปสู่การรวมกลุ่มสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อเตรียมพร้อมขั้นต่อไปในการประสานเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลก และพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด ดังแนวความคิดที่ว่า
 
เมื่อไม่พอก็ต้องเติม เมื่อพอก็ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินก็ต้องรู้จักแบ่งปัน
เพื่อสร้างความเข้มแข็งไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow