ทุกวันนี้ คนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม พวกเขาได้พิสูจน์แล้วว่ามีสามารถเปลี่ยนโลกทั้งใบได้ โดยใช้เทคโนโลยีร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์กับสังคม ซึ่งคนรุ่นใหม่สามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำกัดเพศและวัย แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ใน Gen Y และ Gen Z เพราะเป็นวัยที่เรียนรู้และปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และมีมุมมองที่เปิดกว้างกว่ากรอบสังคมแบบเดิมๆ บทความนี้ ผมจะพาไปดูกันว่า ไอเดียเก็บเงินซื้อบ้านของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างไรบ้าง
ความท้าทายของคน Gen Y และ Gen Z ในการเก็บเงินซื้อบ้านหลังแรก
Gen Y คือคนที่เกิดในปี พ.ศ. 2523 – 2540 ปัจจุบันอายุ 24 – 41 ปี ส่วน Gen Z คือคนที่เกิดในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป ปัจจุบันอายุต่ำกว่า 24 ปี ทั้งสองกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีความสามารถด้านเทคโนโลยี มองโลกในแง่ดี แต่ไม่ค่อยมีความอดทน ต้องการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งคนรุ่นใหม่เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการพาสังคมไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล อย่างเต็มตัว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นความท้าทายใหญ่สำหรับพวกเขาคือ "การเก็บเงินซื้อบ้าน" การซื้อบ้านไม่ใช่เรื่องง่ายในยุคปัจจุบัน แต่เนื่องจากการทำงานและการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้การเก็บเงินสร้างบ้านด้วยตัวเองอาจยากขึ้น มาดูกันว่าเหตุผลหลัก 3 ข้อ ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญความยากในการเก็บเงินซื้อบ้านมีอะไรบ้าง และควรมีเงินเก็บเท่าไหร่เมื่อคิดจะซื้อบ้าน
1. บ้านเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงที่สุดในชีวิต
การมีบ้านเป็นของตนเองถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนมีความคิดที่จะเก็บเงินซื้อบ้าน เพื่อสะท้อนการประสบความสำเร็จในชีวิต แต่การซื้อบ้านควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ นั้นเป็นคำถามที่ต้องคิดให้ละเอียด บ้านในปัจจุบันมีราคาสูงกว่าสมัยก่อนมาก ผมขอแนะนำให้ใจเย็นและรอเก็บเงินให้พร้อมก่อน
2. รวยกระจุกจนกระจาย: ความท้าทายของการเก็บเงิน
การเก็บเงินซื้อบ้านเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคนรุ่นใหม่ เพราะต้องหักห้ามใจไม่ให้เป็นหนี้ที่ไม่จำเป็น มีสินค้าแบรนด์เนมน่าซื้อเยอะแยะเต็มไปหมด เห็นคนอื่นมี เราก็อยากมีบ้าง ทำให้เราอาจเผลอใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย การวางแผนซื้อบ้านจึงต้องมาพร้อมกับการฝึกฝนตัวเองในการออมเงินอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะสามารถเก็บเงินซื้อบ้านได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. รายได้เฉลี่ยโตไม่ทันราคาบ้าน
การเก็บเงินสร้างบ้านจึงใช้เวลานานกว่าจะได้เป็นเจ้าของบ้านหลังแรก บางคนต้องยอมลดขนาดความต้องการของตนเองลง เช่น ยอมเลือกพื้นที่เล็กลง หรืออยู่อาศัยทำเลไกลขึ้นมาก ผมขอแนะนำไอเดียวางแผนซื้อบ้านที่ดีซื้อบ้านด้วยการหารายได้เพิ่ม เพื่อให้รายได้ของเราโตเร็วกว่าราคาบ้าน
วางแผนซื้อบ้าน: เก็บเงินยังไงให้ฝันเป็นจริง
การเก็บเงินซื้อบ้านเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิต บ้านเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงมาก และการวางแผนซื้อบ้านต้องใช้การวางแผนการเงินที่รอบคอบ เรามาดูตารางราคาบ้านเฉลี่ยในกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องเก็บสำหรับซื้อบ้าน หรือแม้แต่การเก็บเงินสร้างบ้านในอนาคต
ตารางราคาบ้านเฉลี่ยในกรุงเทพฯ (ล้านบาท)
ทำเล |
คอนโด |
ทาวน์โฮม |
บ้านเดี่ยว |
เมืองชั้นใน |
6.2 |
13.0 |
27.0 |
เมืองชั้นกลาง |
3.4 |
4.0 |
11.5 |
วงแหวนฝั่งตะวันออก |
2.1 |
3.0 |
7.5 |
วงแหวนฝั่งตะวันตก |
2.1 |
2.7 |
6.6 |
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บ TerraBKK ณ วันที่ 11/10/2017
ผมขอใช้ตัวเลขราคาบ้านเฉลี่ยในกรุงเทพฯ มาแสดงให้เห็นภาพจำนวนเงินที่ต้องวางแผนซื้อบ้าน เพื่อเป็นไอเดียในการเก็บเงินซื้อบ้านให้ทุกคนเห็นภาพได้ง่ายขึ้น โดยบ้านเดี่ยวมีราคาแพงสุด รองลงมาคือทาวน์โฮม และคอนโดตามลำดับ ทำเลเมืองชั้นในมีราคาสูงที่สุด ตามมาด้วยเมืองชั้นกลาง วงแหวนฝั่งตะวันออก และวงแหวนฝั่งตะวันตกตามลำดับ หากคุณเป็นคนทำงานในเมืองและมีงบจำกัดไม่เกิน 3 ล้านบาท ผมมองว่าการเก็บเงินซื้อบ้านควรพิจารณาทาวน์โฮมกับคอนโดที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าและทางด่วนเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่าบ้านเดี่ยว เนื่องจากกว่า 80% ของคนซื้อบ้านใช้วิธีขอ
สินเชื่อบ้านกับธนาคาร การเก็บเงินซื้อบ้านอย่างมีวินัยจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยและทำให้การเงินไม่ตึงตัว การเก็บเงินสร้างบ้านหรือเก็บเงินซื้อบ้านควรทำตามกำลังที่สามารถจ่ายได้ เปรียบเหมือนกับนกน้อยทำรังแต่พอตัว เพื่อให้มีเงินเหลือไป
ลงทุนสร้างความมั่งคั่งได้
ตารางเปรียบเทียบทาวน์โฮมกับคอนโดงบ 3 ล้านบาท
|
คอนโด |
ทาวน์โฮม |
ทำเล |
กรุงเทพฯ ชั้นกลาง |
กรุงเทพฯ ชั้นนอก |
พื้นที่ใช้สอย |
30 ตร.ม. |
100 ตร.ม. |
จำนวนห้องนอน |
1 ห้องนอน |
2 ห้องนอน |
จำนวนห้องน้ำ |
1 ห้องน้ำ |
2 ห้องน้ำ |
จำนวนที่จอดรถ |
1 คัน |
2 คัน |
คนรุ่นใหม่เทใจเลือกคอนโดมากกว่าทาวน์โฮม เนื่องจากคอนโดมักตั้งอยู่ในทำเลทองใกล้รถไฟฟ้า เดินทางสะดวก และมีดีไซน์ทันสมัย แม้ว่าจะต้องลดขนาดพื้นที่ใช้สอย แต่ก็คุ้มค่ากับความสะดวกสบายและการได้อยู่ในที่สูงเห็นวิวแบบ Bird Eye View แต่ก่อนตัดสินใจเก็บเงินซื้อบ้าน อยากให้ลองสำรวจความต้องการที่แท้จริงของตนเองและครอบครัวดูว่า รูปแบบการอยู่อาศัยแบบไหนตอบโจทย์มากกว่ากัน เพราะการวางแผนเก็บเงินซื้อบ้านสักหลังหมายความว่าเราต้องอยู่กันนับสิบปี ถ้าเลือกถูกชีวิตก็จะมีความสุข
ตารางวงเงินกู้และวงเงินผ่อนชำระสูงสุดตามเงินเดือน (บาท)
โดยสมมติระยะเวลากู้ 30 ปี ไม่มีหนี้สินอย่างอื่น และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 7% ต่อปี
รายได้ต่อเดือน |
วงเงินกู้ |
วงเงินผ่อนชำระ |
20,000 |
1,202,460 |
8,000 |
30,000 |
1,803,690 |
12,000 |
40,000 |
2,404,921 |
16,000 |
50,000 |
3,006,151 |
20,000 |
100,000 |
6,012,302 |
40,000 |
อ้างอิงข้อมูลจาก Home.co.th
การเก็บเงินซื้อบ้านด้วยตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะมีเครดิตขอสินเชื่อบ้านผ่าน จุดเริ่มต้นต้องมาจากการมีรายได้มั่นคงอย่างน้อย 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นงานประจำหรืองานฟรีแลนซ์ก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องมีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอ และมีความมั่นคงพอที่จะสามารถเริ่มต้นวางแผนซื้อบ้านได้อย่างจริงจัง นอกจากนี้ เมื่อคุณมีรายได้มั่นคงแล้ว ต้องเริ่มรู้จักออมโดยใช้จ่ายน้อยกว่าที่หามา โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการเก็บเงินอย่างน้อย 20% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งบางเดือนอาจมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ แต่เฉลี่ยทั้งปีไม่ควรต่ำกว่าตัวเลขนี้ เพราะการเก็บเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
จากตารางวงเงินกู้ด้านบนและวงเงินผ่อนชำระสูงสุดตามเงินเดือนที่มีการอ้างอิง รายได้ 20,000 บาทต่อเดือน เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะกู้บ้านราคาล้านต้น ๆ แต่บ้านที่หมายปองราคาอาจสูงขึ้น เช่น คอนโดราคา 3 ล้านบาทใกล้รถไฟฟ้า คุณอาจจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 50,000 บาทต่อเดือน หรือต้องหาคนกู้ร่วมที่มีรายได้อย่างน้อย 30,000 บาทต่อเดือน มาร่วม
มาถึงตรงนี้แล้ว บางคนอาจสงสัยว่า "ทำไมเราไม่เก็บเงินให้ครบ 3 ล้านบาทแล้วค่อยไปซื้อบ้าน" แต่ในความจริงกว่าจะเก็บครบ ราคาบ้านก็แพงขึ้นไปอีกไกลแล้ว วิธีที่ดีที่สุดในการเก็บเงินซื้อบ้านควรตอบโจทย์ทั้งเรื่องเวลาและจำนวนเงินในการซื้อบ้านในฝันไปพร้อม ๆ กัน
4 เทคนิคการหารายได้และเก็บเงินซื้อบ้าน
การเก็บเงินซื้อบ้านเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทนและการวางแผนอย่างรอบคอบ การมีบ้านเป็นของตัวเองเป็นเป้าหมายที่หลายคนใฝ่ฝัน แต่การไปให้ถึงจุดนั้นต้องใช้ความพยายามในการวางแผนซื้อบ้านและเก็บเงินสร้างบ้านให้เพียงพอ เรามาดูเทคนิคในการเก็บเงินที่จะทำให้คุณได้บ้านในฝันกัน
1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและทำบันทึกการเงิน
การตั้งเป้าหมายและทำบันทึกการเงิน เป้าหมายนี้ช่วยให้เราไม่หลงทาง และรู้สึกมีกำลังใจเวลาขยับเข้าใกล้เป้าหมายทุกที ส่วนการทำบันทึกการเงินยังช่วยให้คุณมองเห็นพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง ไม่ว่าเรื่องรายได้ เงินออม หนี้สิน หรือการลงทุน พอทำตัวเลขออกมาจะเห็นจุดที่ควรปรับปรุง ลองทำตามไอเดียเรื่องเก็บเงินซื้อบ้านนี้ดู แล้วจะพบว่าเก็บเงินได้อยู่หมัด
2. การขอสินเชื่อบ้าน
การขอสินเชื่อบ้านเป็นหนึ่งในแนวทางที่หลาย ๆ คนเลือกเมื่อต้องเก็บเงินซื้อบ้าน สินเชื่อประเภทนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติ และจุดประสงค์ไม่ใช่แค่กู้ผ่าน แต่ยังต้องผ่อนไหวด้วย ดังนั้น ผมขอสรุปคุณสมบัติของคนที่พร้อมขอสินเชื่อบ้านเอาไว้ดังนี้
- มีรายได้มั่นคงอย่างน้อย 20,000 บาทต่อเดือน
- มีเงินออมอย่างน้อย 20% ของราคาบ้านที่ต้องการซื้อ
- ราคาบ้านไม่เกิน 60 เท่าของรายได้ต่อเดือน
- ยอดผ่อนชำระรายเดือนรวมทุกสินเชื่อไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน
- มีประวัติการชำระเงินที่ดีในเครดิตบูโร
3. สร้างนิสัยการเก็บเงิน
คุณสมบัติที่กล่าวมานี้ อาจต้องใช้เวลาสำหรับการเก็บเงินสร้างบ้านให้เพียงพอ แต่การตั้งเป้าหมายที่สูงและพยายามเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้คุณมีความพร้อมและมั่นใจว่าสามารถผ่อนชำระบ้านได้โดยไม่เป็นภาระจนเกินไป
4. วางแผนการเงินในระยะยาว
นอกจากการเก็บเงินซื้อบ้าน การวางแผนทางการเงินระยะยาวก็เป็นสิ่งสำคัญ การรู้ว่าซื้อบ้านควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ และจะช่วยให้คุณไม่ประสบปัญหาทางการเงินในอนาคต
คุณสมบัติที่ผมแนะนำต้องใช้เวลาเก็บเงินเพิ่มอีกสักหน่อย แต่ทำให้มั่นใจว่าสินเชื่อบ้านจะไม่เป็นภาระจนจ่ายไม่ไหวกลายเป็นหนี้เสีย ตัวเลขนี้อาจสูงในสายตาของคนรุ่นใหม่ แต่พอทำไปสักพักจะรู้ว่าการตั้งเป้าหมายไว้สูงจะทำให้เราเก็บเงินเป็นและสามารถซื้อบ้านได้อย่างสบาย และนี่ก็คือไอเดียเก็บเงินซื้อบ้านที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเองได้เลยครับ