บริการรับฝากเช็คเคลียริ่ง

 
บริการรับฝากเช็คเคลียริ่ง
เช็คกรุงศรี รับเงินเร็ว ฝากวันนี้ รับวันนี้
เพื่อให้ลูกค้าสามารถบริหารกระแสเงินสดจากการฝากเช็คได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ธนาคารจึงยกระดับการบริการรับฝากเช็ค ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
 
การรับฝากเช็ค เวลาได้รับเงิน
ลูกค้าฝากเช็คกรุงศรีเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ลูกค้าฝากเช็คกรุงศรีเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา passbook
รับเงินภายในวันที่ฝากเช็ค
ลูกค้าฝากเช็คต่างธนาคารเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ลูกค้าฝากเช็คกรุงศรีเข้าบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา passbook
รับเงินตั้งแต่ 11.00 น.
ในวันทำการถัดไป

สาขาในเขตสำนักหักบัญชีกรุงเทพฯ ปิดรับฝากเช็คเคลียริ่งเวลา 15.00 น. จำนวน 209 สาขา สาขานอกเขตสำนักหักบัญชีกรุงเทพฯ ปิดรับฝากเช็คเคลียริ่งเวลา 15.00 น. แยกตามภูมิภาค ดังนี้
  • สาขาในเขตภาคกลาง ทุกจังหวัด
  • สาขาในเขตภาคใต้ ทุกจังหวัด
  • สาขาในเขตภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกจังหวัด
  • สาขาในเขตภาคเหนือ ทุกจังหวัด

 
  • ลูกค้าต้องฝากเช็คกรุงศรีที่มีความถูกต้องและถึงกำหนดชำระแล้ว ในวันทำการของธนาคาร (วันจันทร์-ศุกร์) ก่อนเวลาปิดรับเช็คของแต่ละสาขา โดยสามารถทราบผลการเรียกเก็บเงินในวันเดียวกับวันที่ฝากเช็ค ในกรณีฝากเช็ค ภายหลังเวลาปิดรับเช็ค สามารถทราบผลการเรียกเก็บเงินในวันทำการถัดไป
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ เป็นไปตามที่กำหนด
  • ค่าธรรมเนียมเป็นไปตามประกาศธนาคาร
ระบบ ICAS คือ
  • ระบบการเรียกเก็บเงินตามเช็คระบบใหม่ด้วยภาพเช็ค
  • ธนาคารที่รับฝากเช็คส่งภาพเช็คไปให้ธนาคารผู้จ่าย เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของการสั่งจ่าย
  • ระบบนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่ให้บริการด้านเช็ค สามารถลดเวลาเรียกเก็บเงินตามเช็ค จาก 1-5 วันทำการเหลือ 1 วันทำการ

ไอแคส (ICAS) มีประโยชน์อะไรบ้างกับผู้ใช้เช็ค
  • การหมุนเวียนเงินมีความคล่องตัวมากขึ้น ผู้ฝากเช็คจะรู้ผลการเรียกเก็บเงินภายใน 1 วันทำการหลังจากวันที่ฝากเช็ค
  • มีเวลาฝากเช็คได้มากขึ้น การใช้ภาพเช็คจะช่วยลดเวลาในการขนส่งตัวเช็ค ทำให้ธนาคารสามารถขยายเวลาในการรับฝากเช็คจากลูกค้าได้ยาวนานขึ้น

การสั่งจ่ายเช็คต้องมีตราประทับ/ตรานูน/ตราสี หรือไม่
  • กฎหมายไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเช็คว่าต้องมีตราประทับ/ตรานูน/ตราสี
  • แม้หนังสือบริคณห์สนธิอาจกำหนดเงื่อนไขการลงนามว่าต้องมีตราประทับกำกับ แต่การสั่งจ่ายเช็คของนิติบุคคลสามารถกระทำได้ตามเงื่อนไขการลงลายมือ ตามที่ตกลงไว้กับธนาคารโดยไม่จำเป็นต้องมีตราประทับ
  • การเปิดบัญชีกระแสรายวันของนิติบุคคล จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดการมอบอำนาจที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องทำอย่างไร
  • เตรียมเงินในบัญชีให้เพียงพอสำหรับการชำระเงิน ตามวันที่ระบุในหน้าเช็ค เนื่องจากมีการเรียกเก็บเงินเร็วขึ้นกว่าเดิม
  • ไม่ควรแก้ไขข้อมูลบนหน้าเช็ค เพื่อป้องกันการทุจริตจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
  • ไม่ปรุจำนวนเงิน เจาะหรือทำให้เช็คเป็นรู และไม่ใช้ดินสอหรือปากกาสีแดงหรือปากกาเคมีในการเขียนเช็ค
  • จำนวนเงินบนหน้าเช็คไม่ควรเกิน 1,000 ล้านบาท (หากชำระเกินกว่านั้นให้ใช้การโอนเงินผ่านระบบบาทเนต)
  • ควรติดต่อธนาคารของท่านเพื่อขอยกเลิกการใช้ตราประทับ/ตรานูน/ตราสีเป็นเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คเพราะตราเหล่านี้อาจบดบังข้อมูลที่สำคัญบนเช็ค
  • หากมีการใช้ตราประทับฯ ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสมุดเช็คสูงขึ้น เนื่องจากตราประทับฯ อาจบดบังสาระสำคัญบนเช็ค ทำให้ต้องส่งตัวเช็คจริงไปให้ธนาคารผู้จ่ายตรวจความถูกต้อง ในกรณีเช่นนี้ การจ่ายเงินอาจล่าช้ากว่าเช็คทั่วไป ผู้รับเงินจะไม่สะดวก และอาจไม่ยินดีรับเช็คที่มีตราประทับฯ
  • เก็บรักษาเช็คให้อยู่ในที่ปลอดภัย และต้องแจ้งธนาคารทันทีเมื่อทราบว่าเช็คหาย

ระบบไอแคส (ICAS) เริ่มใช้ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2554 และขยายไปทั่วประเทศปี 2555
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา