ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Thai ESGX
รอบรู้เรื่องภาษี
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

4 ข้อควรรู้ ก่อนสับเปลี่ยนกองทุน LTF ไป กองทุน Thai ESGX

icon-access-time Posted On 04 เมษายน 2568
By ปริตา ธิติปรีชาพล
ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ การตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX) ขึ้นมา โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รองรับเงินลงทุนใหม่ และการสับเปลี่ยนมาจาก LTF สำหรับผู้ที่กำลังถือลงทุนกองทุน LTF อยู่ตอนนี้ คงมีคำถามในใจว่าควรทำอย่างไรดี? วันนี้ Krungsri The COACH เรามี 4 ข้อควรรู้ก่อนสับเปลี่ยนกองทุน LTF ไป กองทุน Thai ESGX

1. กองทุน Thai ESGX คืออะไร?

กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thailand ESG Extra Fund : Thai ESGX) เป็นกองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินที่ออกโดยผู้ออกหรือกิจการในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV เช่นเดียวกับ Thai ESG เดิม แต่มีกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ต้องลงทุนหุ้นกลุ่มความยั่งยืนไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV

กองทุน Thai ESGX เป็นกองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยสำหรับในปี 2568 จะเปิดให้ลงทุนระยะเวลา 2 เดือนเท่านั้น คาดว่าจะเป็นช่วง 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2568 และจะกลับมาเปิดให้ลงทุนได้อีกครั้งในปี 2569 ในวงเงินลดหย่อนเดียวกับ Thai ESG
 
สิทธิลดหย่อนภาษี TESGX

2. กองทุน Thai ESGX ให้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างไร?

กองทุน Thai ESGX แบ่งวงเงินลดหย่อนภาษีเป็น 2 ส่วน คือ
 

ส่วนที่ 1 วงเงินลดหย่อนสำหรับเงิน LTF เก่า

ณ วันที่ ครม. มีมติอนุมัติ (11 มี.ค. 68) เปิดให้ผู้ที่ถือกองทุน LTF อยู่ในปัจจุบันสามารถสับเปลี่ยนมาที่กองทุน Thai ESGX เพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีรวม 5 ปี สูงสุด 500,000 บาท โดยที่
ปีที่ 1 (2568) : รับสิทธิ์ลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท
ปีที่ 2 – 5 : รับสิทธิ์ลดหย่อนสูงสุดปีละ 50,000 บาท
 

ส่วนที่ 2 วงเงินลดหย่อนสำหรับเงินลงทุนใหม่ ปี 2568

สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท (ถือเป็นวงเงินใหม่ ไม่นำไปนับรวมกับกองทุน Thai ESG)
 
กองทุน Thai ESGX เงื่อนไข

3. เงื่อนไขการสับเปลี่ยนกองทุน LTF ไปกองทุน Thai ESGX มีอะไรบ้าง?

หากต้องการรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากวงเงิน LTF เดิม มีเงื่อนไขสำคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ ดังนี้

3.1. สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนี้ สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน LTF ที่ไม่ขายคืน และไม่สับเปลี่ยน LTF ไม่ว่าจะเป็นการสับเปลี่ยนไปยัง LTF อื่น ทั้งภายใต้ บลจ. เดียวกัน หรือข้าม บลจ. รวมถึงการสับเปลี่ยนไปยังกองทุนประเภทอื่น ตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. 68 เป็นต้นไป

3.2. ถ้าหากต้องการเปลี่ยนกองทุน LTF ไปเป็นกองทุน Thai ESGX ต้องโอนหน่วยลงทุนที่มีใน LTF ทุกกองทุน ทุกบลจ. (ยกเว้นหน่วยใน class SSF) ณ วันที่ 11 มี.ค. 68 ไปยังกองทุน Thai ESGX

4. ถ้าลงทุนกองทุน Thai ESGX ต้องถือครองนานเท่าไร?

ระยะเวลาการถือครองจะต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแบบวันชนวัน กรณีสับเปลี่ยนไปมากกว่า 500,000 บาท เงินลงทุนส่วนที่เกิน 500,000 บาท ก็จะต้องถือครองตามเงื่อนไขข้างต้นเช่นกัน

สำหรับผู้ที่ถือกองทุน LTF อยู่แล้ว เรามี 3 ตัวอย่างทางเลือกมาแนะนำ

 

ทางเลือกที่ 1 ถือลงทุนกองทุน LTF ต่อไป

เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการลดหย่อนภาษีอีก หรือมีอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว
 

ทางเลือกที่ 2 สับเปลี่ยนกองทุน LTF ไปยังกองทุน Thai ESGX

ซึ่งมีข้อดีคือสามารถนำเงินลงทุนก้อนเดิมไปลดหย่อนภาษีได้

ทางเลือกนี้เหมาะสำหรับคนที่รายได้สูงและฐานภาษีสูง มีเงินลงทุนใน กองทุน RMF และกองทุน Thai ESG เต็ม Max และต้องการวงเงินลดหย่อนภาษีในกองทุน Thai ESGX เพิ่มเติมอีก
 

ทางเลือกที่ 3 สับเปลี่ยนกองทุน LTF

ไปยังกองทุนลดหย่อนภาษีประเภทอื่น เช่น Thai ESGX หรือ กองทุน RMF ซึ่งมีข้อดีคือมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายกว่า เหมาะสำหรับคนมีกองทุน LTF ที่ลงทุนหุ้นไทยอยู่ และไม่ได้อยากลงทุนในหุ้นไทยต่อ หรือไม่ต้องการสิทธิ์ลดหย่อนเพิ่มเติมจาก Thai ESGX

และสำหรับใครที่ยังลังเลตอนนี้ ไม่รู้ว่าควรตัดสินใจกับกองทุน LTF ที่ลงทุนอยู่อย่างไรดี ตอนนี้ที่ธนาคารกรุงศรีฯ มีบริการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านกองทุนรวมโดยเฉพาะ สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนภาษี ติดต่อกลับ

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | Thai ESG/ Thai ESGX เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาวและสนับสนุนการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน


บทความโดย
ปริตา ธิติปรีชาพล
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา