ขั้นตอนวางแผนเกษียณสำหรับมนุษย์เงินเดือน
เพื่อยามเกษียณ
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ขั้นตอนวางแผนเกษียณสำหรับมนุษย์เงินเดือน

icon-access-time Posted On 17 มกราคม 2566
by Krungsri The COACH
เคยสงสัยไหมว่าเพราะอะไรใคร ๆ จึงบอกว่าควรรีบเก็บเงินตั้งแต่อายุยังน้อย ทั้ง ๆ ที่การเก็บเงินเป็นเรื่องยากมาก โดยเฉพาะเมื่อรายได้สวนทางกับค่าครองชีพอย่างทุกวันนี้ คำตอบก็คือเพราะค่าครองชีพของเราแพงนี่แหละ จึงยิ่งต้องเก็บเงินตั้งแต่วันนี้เพื่อรับมือกับสถานการณ์เงินเฟ้อในวันข้างหน้า มาวางแผนเกษียณสไตล์มนุษย์เงินเดือนไปพร้อมกัน กับขั้นตอนเตรียมเกษียณสำหรับคนไม่ชอบความยุ่งยาก แค่ตั้งคำถาม หาคำตอบแล้วเริ่มเก็บเงินได้เลย

ก่อนวางแผนเกษียณต้องรู้อะไรบ้าง

หลาย ๆ คนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวางแผนเกษียณอย่างไร เราแนะนำให้เริ่มต้นจากการตอบคำถาม 5 ข้อต่อไปนี้ก่อน
 

1. จะเกษียณอายุได้ตอนอายุเท่าไหร่

ข้อนี้ไม่ยาก แค่กำหนดขึ้นมาว่าคุณจะทำงานจนถึงอายุเท่าไร
 

2. คาดว่าจะใช้ชีวิตถึงอายุเท่าไร

ข้อนี้อาจจะลำบากสักหน่อยเพราะอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน แต่ขอให้ลองคาดการณ์ดูว่าคุณจะใช้ชีวิตจนถึงอายุเท่าไร เช่น 80 ปี
 

3. หลังเกษียณจะใช้เงินเท่าไร

คำนวณค่าใช้จ่ายในอนาคตว่า ณ เวลานั้นเราจะใช้เงินเดือนละเท่าไร จุดสำคัญคือต้องไม่ลืมนึกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยอาจกำหนดอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ประมาณ 4% ถ้าไม่อยากยุ่งยาก ให้ประมาณค่าใช้จ่ายแบบยังไม่คิดเรื่องเงินเฟ้อไปก่อนก็ได้
 

4. หลังเกษียณจะมีเงินเท่าไร

สำรวจรายได้หลังเกษียณของตัวเองจากแหล่งต่าง ๆ เช่น เงินชราภาพจากประกันสังคม (ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ประกันสังคมหรือแอป SSO Connect), เงินจากประกันที่ซื้อไว้ (ตรวจสอบได้กับตัวแทนหรือบริษัทประกันนั้น ๆ), เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท (ตรวจสอบได้กับ HR) ฯลฯ
 

5. ตอนนี้มีเงินเก็บเท่าไร

สำรวจเงินเก็บ ณ ปัจจุบันเพื่อนำมาคำนวณร่วมกับตัวเลขที่วางแผนข้างต้น ว่าจะต้องเก็บเงินอีกเท่าไรและวางแผนการออมเงิน หากผู้ที่ไม่ถนัดเรื่องการคำนวณอาจจะเริ่มปวดหัวแล้ว ขอให้ใจเย็น ๆ แล้วมาคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอนไปพร้อมกัน

เริ่มต้นวางแผนเกษียณอายุ

เมื่อตั้งคำถามและหาคำตอบได้แล้ว ก็ถึงเวลาวางแผนเกษียณ เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น เราจะสมมติตัวอย่างขึ้นมา 1 คน
  1. ขวัญอายุ 30 ปี วางแผนจะเกษียณตอนอายุ 55 ปี = จะเกษียณในอีก 35 ปี
  2. ขวัญคาดว่าจะมีอายุถึง 80 ปี = จะใช้ชีวิตหลังเกษียณ 25 ปี
  3. ขวัญจะใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 20,000 บาท
 
เริ่มต้นวางแผนเกษียณอายุ
 
  1. ขวัญจะมีเงินหลังเกษียณจากประกันสังคมประมาณ 157,500 บาท ประกันสะสมทรัพย์ที่ทำไว้ 625,000 บาท รวมเป็นเงิน 782,500 บาท
  2. ปัจจุบันขวัญมีเงินเก็บ 50,000 บาท

หมายความว่าในระยะเวลา 35 ปีนี้ ขวัญต้องเก็บเงินอีก 23,700,000 - (782,500 + 50,000) = 22,867,500 บาทเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ เมื่อได้จำนวนเงินโดยคร่าวมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือเลือกวิธีการเก็บเงินที่เหมาะสมกับตัวเอง

ออมเงินให้ไม่เจ็บตัวแล้วยังมีเงินใช้หลังเกษียณ

 
ออมเงินใช้หลังเกษียณ

อีกเรื่องที่ควรให้ความสนใจ นั่นคือ การซื้อประกัน

ประกันคือเครื่องมือลดภาระจากความไม่แน่นอนของชีวิต เราไม่รู้วันหนึ่งจะต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ใดบ้าง อาจจะเป็นอุบัติเหตุ ความเจ็บป่วย หรือความเสียหายของที่อยู่อาศัย การซื้อประกันคือการจ่ายเบี้ยประกันให้บริษัทประกัน แล้วเมื่อถึงเวลาก็ให้บริษัทประกันช่วยรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่าย ณ เวลานั้นแทน ทว่าประกันไม่ได้มีแค่ประกันรถ ประกันบ้าน หรือประกันสุขภาพ ยังมีสิ่งที่เรียกว่าประกันสะสมทรัพย์ และประกันบำนาญ ประกันประเภทนี้เป็นการออมเงินอีกรูปแบบหนึ่ง แทนที่จะฝากเงินกับธนาคารก็จ่ายเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกันแทน โดยเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี เป็นประกันที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเกษียณเป็นอย่างยิ่ง

ประกันสะสมทรัพย์จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กันคือให้จ่ายเบี้ยประกันติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี เมื่อครบกำหนดสัญญากรมธรรม์ก็จะได้รับเงินก้อนพร้อมผลตอบแทน ส่วนประกันบำนาญจะมีรูปแบบคล้ายกัน แตกต่างกันที่เมื่อครบกำหนดแล้วจะได้รับเงินเป็นรายปีไว้ใช้หลังเกษียณ การซื้อประกันเป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี แต่จะมากหรือจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก หากมีงานที่มั่นคงหรือมีรายได้ที่แน่นอน สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ วิธีนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่แนะนำให้ทำเพื่อเตรียมการณ์สำหรับการมีเงินสำรองใช้ในอนาคต

วางแผนเกษียณยิ่งเร็วยิ่งดี

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทุกท่านคงเห็นภาพแล้วว่าทำไมใคร ๆ จึงพากันบอกว่าให้รีบวางแผนเกษียณแต่เนิ่น ๆ ใช่แล้ว เพราะยิ่งเริ่มเก็บเงินเร็วเท่าไร เงินเก็บก็จะยิ่งมีโอกาสงอกเงยมากเท่านั้น

มาเก็บเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณของคุณโดยเลือกวิธีที่คุณสะดวก ตามหาวิธีออมเงินที่เหมาะกับตัวเองได้ที่โปรแกรมคำนวณการวางแผนการเกษียณ

พร้อมสำหรับการวางแผนแล้วหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มตั้งคำถามแรกกับตัวเองเลย “คุณคิดว่าตัวเองจะเกษียณตอนอายุเท่าไร?”

หากต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ทางธนาคารกรุงศรีฯ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ ที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี ติดต่อกลับ

บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP®
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา