เข้าสู่วัยใกล้ “เกษียณ” แต่มีเงินเก็บไม่พอ ต้องทำยังไง?
เพื่อยามเกษียณ
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

เข้าสู่วัยใกล้ “เกษียณ” แต่มีเงินเก็บไม่พอ ต้องทำยังไง?

icon-access-time Posted On 14 ธันวาคม 2563
By Krungsri the COACH
ปัญหาการเงินเรื่องหนึ่งที่ถือว่ากำลังเป็นปัญหาระดับโลกเลย คือ การที่ “มีเงินไม่พอสำหรับวัยเกษียณ” ซึ่งประเทศไทยเราเองก็กำลังประสบปัญหาตรงนี้อยู่ด้วยเช่นกัน จากสถิติพบว่า ณ ปัจจุบัน ประชากรผู้สูงอายุมีประมาณ 15% ของประชากรไทยทั้งหมด และ 80% ของผู้สูงอายุมีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับมีการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยเกษียณที่ช้าจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน
ปัญหาการเงินเรื่องหนึ่งที่ถือว่ากำลังเป็นปัญหาระดับโลกเลย คือ การที่ “มีเงินไม่พอสำหรับวัยเกษียณ” ซึ่งประเทศไทยเราเองก็กำลังประสบปัญหาตรงนี้อยู่ด้วยเช่นกัน จากสถิติพบว่า ณ ปัจจุบัน ประชากรผู้สูงอายุมีประมาณ 15% ของประชากรไทยทั้งหมด และ 80% ของผู้สูงอายุมีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับมีการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยเกษียณที่ช้าจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน

นอกจากผู้สูงอายุในประเทศไทยจะมีเงินไม่พอสำหรับการเกษียณอายุแล้ว จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังพบว่า สถานการณ์การเป็นหนี้ของคนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยเป็นหนี้มากขึ้น เร็วขึ้นและนานมากขึ้น แล้วเมื่อเราสู่วัยเกษียณก็ยังไม่สามารถเคลียร์หนี้ให้หมดได้ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายสำหรับปัญหาของการเกษียณอายุเลยทีเดียว นอกจากนี้รายงานยังบ่งชี้ว่าประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60-69 ปี ยังคงมีหนี้เฉลี่ยสูงถึง 453,438 บาทต่อคน และประชากรที่มีอายุตั้ง 70-79 ปี มีหนี้เฉลี่ย 287,932 บาทต่อคน

สำหรับใครที่เข้าสู่ช่วง ‘วัยเกษียณ’ แล้ว หรือกำลังใกล้จะเข้าสู่วัยเกษียณแล้วคิดว่าตัวเองจะมี ‘เงินไม่เพียงพอ’ สำหรับใช้หลังเกษียณเรามีวิธีที่จะแนะนำ ดังนี้

ลดภาระหนี้’ ให้เหลือน้อยที่สุด

เนื่องจากการเป็นหนี้ก็หมายถึงภาระดอกเบี้ยที่ตามมา ซึ่งโดยปกติแล้วคนวัยเกษียณจะไม่สามารถลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงได้มากนัก ทำให้แหล่งเก็บเงินที่สามารถลงทุนได้ ก็จะหนีไม่พ้นเงินฝากออมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ตราสารหนี้ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนก็มักจะน้อยกว่าดอกเบี้ยที่ถูกเรียกเก็บอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้รายจ่ายลดลง การเคลียร์หนี้จึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก

คำนวณสวัสดิการที่เรามีอย่างจริงจัง

หลังจากที่พยายามลดภาระหนี้เรียบร้อยแล้ว ว่าตอนนี้เราได้รับสิทธิประโยชน์ตรงไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิตต่าง ๆ รวมไปถึงกองทุนเพื่อการเกษียณที่เก็บออมมาตลอดก่อนเข้าวัยเกษียณไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม หุ้นรายตัว อสังหาริมทรัพย์ที่เคยซื้อปล่อยเช่าไว้

ทางธนาคารกรุงศรีเองก็มีเครื่องมือที่เอาไว้ช่วยคำนวณสำหรับการเกษียณอายุว่าต้องเตรียมเงินเท่าไหร่สำหรับการเกษียณ สามารถเข้าไปดูทดลองคำนวณได้ ที่นี่ พร้อมฟังก์ชั่นการแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้
Reverse Mortgage คืออะไร

Reverse Mortgage

แต่สำหรับใครที่คำนวณแล้วพบว่าเงินที่เตรียมไว้ไม่เพียงต่อการเกษียณอายุของเรา ณ ปัจจุบัน ก็ได้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวหนึ่งออกมาเพื่อรองรับคนที่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณแล้วแต่มีเงินไม่เพียงพอ นั่นก็คือ ‘Reverse Mortgage’ ซึ่งแนวคิดนี้กำลังเป็นที่นิยมในระดับโลกและได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

หลักการของ Reverse Mortgage จะตรงกันข้ามกับการจำนอง (Mortgage) แบบทั่วไป ที่เมื่อเวลาเราจะซื้อบ้านสักหลังแต่มีเงินไม่พอ เราก็จะนำบ้านที่เราอยากได้ไปจำนองกับสถาบันการเงินเพื่อขออนุมัติเงินก้อนออกมาจ่ายให้กับเจ้าของบ้านเดิม และจากนั้นก็ทยอยผ่อนให้กับสถาบันการเงินไปตามสัญญาที่กำหนด

แต่ Reverse Mortgage จะเป็นกรณีที่เรามีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภาระกับสถาบันการเงินใด ๆ นำไปขายกับสถาบันการเงิน และจากนั้นสถาบันการเงินจะทยอยจ่ายเงินให้กับเราไปเรื่อย ๆ โดยที่เราก็ยังสามารถอาศัยบ้านหลังนั้นอยู่ได้ตามปกติจนกว่าจะครบอายุที่สัญญากำหนดหรือจนกว่าจะเสียชีวิต ซึ่งสำหรับคนวัยเกษียณส่วนใหญ่จะมีบ้านเป็นของตัวเองอยู่แล้ว และสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีลูกหลานคอยดูแลก็ไม่ต้องเตรียมส่งมอบมรดกให้กับใคร การแปลงสินทรัพย์ที่เมื่อเราเสียชีวิตแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็น ‘กระแสเงินสดรับ’ เพื่อใช้จ่ายหลังวัยเกษียณเลยเป็นทางออกที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก
Reverse Mortgage คือการขายบ้านล่วงหน้าให้ธนาคาร
อย่างไรก็ตาม อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญสำหรับวัยเกษียณ คือ การเตรียม ‘ค่ารักษาพยาบาล’ ที่ห้ามข้ามมองเด็ดขาด เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสเจ็บป่วยก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งค่ารักษาพยาบาลก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นด้วย ทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่มีงบเพียงพอ คือ วางแผนทำ ‘ประกันสุขภาพ’ ไปจนครบอายุกรมธรรม์ที่บริษัทประกันอนุญาตให้ทำได้ แต่ต้องบอกก่อนว่าการทำประกันสุขภาพยิ่งมีอายุมากก็จะยิ่งจ่าย ‘เบี้ยประกัน’ มากขึ้น หรือสำหรับที่งบไม่สูงมากแนะนำว่าให้ลองดูสิทธิ ‘บัตรทอง’ เพื่อเป็นเบาะรองรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระและลดความเสี่ยงเรื่องของการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี

อีกเรื่องหนึ่งสำหรับคนที่เข้าสู่ ‘วัยเกษียณ’ ต้องระวังก็คือ เรื่องของ ‘เงินเฟ้อ’ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าแค่เอาเงินฝากธนาคารแล้วก็ถอนเงินออกมาใช้เรื่อย ๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า ณ ปัจจุบัน ‘อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก’ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ‘เงินเฟ้อ’ ซึ่งแปลว่า ถ้าเราเก็บเงินอยู่ในธนาคารทั้งหมด มูลค่าเงินของเราจะลดลงเรื่อย ๆ นั่นเอง

วิธีการแก้ไขก็คือ การจัดพอร์ตการลงทุน โดยอย่างน้อยที่สุดต้องให้ ‘ผลตอบแทนคาดหวัง (Expected Return)’ เท่ากับระดับเงินเฟ้อ (แนะนำว่าให้คิดคำนวณเงินเฟ้อที่ระดับประมาณ 2.5-3% ต่อปี) ซึ่งผลตอบแทนถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ และความเสี่ยงก็จะต่ำลงด้วยเช่นกัน

แนวทางพอร์ตการลงทุนสำหรับคนวัยเกษียณ
สินทรัพย์การลงทุน อัตราส่วน (%)
เงินฝาก 80%
ตราสารหนี้ 10%
หุ้น หรือ REIT 10%
*หมายเหตุ สัดส่วนดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางการจัดพอร์ตเท่านั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การลงทุนที่ต้องให้ผลตอบแทนคาดหวังเท่ากับหรือมากกว่าระดับเงินเฟ้อ


สำหรับในส่วนของพอร์ตการลงทุน ในช่วง 3 ปีแรก ควรเน้นไปที่ ‘เงินฝาก’ สำหรับการถอนออกมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยส่วนที่เหลือสามารถจัดลงในตราสารหนี้ได้ และนำบางส่วนมาลงทุนในหุ้นหรือ REIT เพื่อช่วยเพิ่มผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ตการลงทุน
วางแผนการเงินก่อนเกษียณเพื่ออนาคตที่มั่นคง คลิกเลย
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา