อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าอายุ 50 แล้วไม่มีเงินเก็บ
เพื่อยามเกษียณ
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าอายุ 50 แล้วไม่มีเงินเก็บ

icon-access-time Posted On 05 กุมภาพันธ์ 2558
By Maibat
รู้หรือไม่ว่าคนไทยอายุยืนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งมีแนวโน้มเดียวกันกับคนทั่วโลกจากพัฒนาการทางการแพทย์ ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวถึง 74 ปี โดยผู้หญิงมีอายุเฉลี่ยมากกว่าผู้ชายที่ 78 ปีและ 71 ปีตามลำดับ เพราะผู้หญิงใส่ใจดูแลสุขภาพมากกว่าผู้ชาย (ข้อมูลอ้างอิงจากธนาคารโลก พ.ศ. 2555)
รู้หรือไม่ว่าคนไทยอายุยืนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งมีแนวโน้มเดียวกันกับคนทั่วโลกจากพัฒนาการทางการแพทย์ ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวถึง 74 ปี โดยผู้หญิงมีอายุเฉลี่ยมากกว่าผู้ชายที่ 78 ปีและ 71 ปีตามลำดับ เพราะผู้หญิงใส่ใจดูแลสุขภาพมากกว่าผู้ชาย (ข้อมูลอ้างอิงจากธนาคารโลก พ.ศ. 2555)
อนาคตคนไทยอาจมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวถึง 80 ปี หากคุณยังต้องการเกษียณจากการทำงานที่อายุ 60 ปี นั่นหมายถึงคุณต้องเตรียมเงินและทรัพย์สินให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณ 20 ปีท้ายของชีวิต เพื่อให้เกษียณจากการทำงานได้อย่างมีความสุข มีเวลามีเงินไว้ใช้ตามที่ใจต้องการ ด้วยสูตรคำนวณอย่างง่ายดังนี้ครับ
 
“จำนวนเงินและทรัพย์สินสำหรับใช้หลังเกษียณ = ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเฉลี่ยต่อเดือน x 12 เดือน x อายุที่เหลือหลังเกษียณ”
สมมุติครอบครัวคาดว่าต้องใช้จ่ายหลังเกษียณเดือนละ 20,000 บาท คูณกับระยะเวลา 12 เดือนต่อปี คูณกับอายุที่เหลือหลังเกษียณ 20 ปี ดังนั้นต้องเตรียมเงินและทรัพย์สินที่ปราศจากการเป็นหนี้จำนวน 4,800,000 บาท เพื่อให้มีเงินเพียงพอใช้ยามเกษียณ โดยทรัพย์สินที่มีต้องเปลี่ยนเป็นเงินได้ไม่ยากจนเกินไปนัก ที่สำคัญจากสูตรจะเห็นได้ว่ายิ่งมีภาระต้องใช้เงินหลังเกษียณมากและคิดว่าตนเองจะอายุยืนยาวนาน ยิ่งต้องเตรียมเงินมากขึ้นทวีคูณ จึงอยากให้ทุกคนเห็นความจำเป็นในการวางแผนทางการเงินตั้งแต่อายุยังน้อยครับเพื่อมีเวลาเตรียมตัวนานขึ้นนั่นเอง
แต่ทว่าปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อยมีหนี้สินเกินรายได้เยอะจนไม่มีเงินเก็บ ส่วนใหญ่หมดเงินไปกับการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น ออกรถป้ายแดงใหม่เรื่อยๆ เปลี่ยนมือถือรุ่นใหม่ทุกปี กินเที่ยวใช้จ่ายตามใจ หลงใหลสินค้าแบรนด์เนม ติดเสพสุราบุหรี่ เลยทำให้ต้องมีเงินใช้แบบเดือนชนเดือนปราศจากภูมิคุ้มกันด้านการเงิน
มาลองจิตนาการดูครับว่าอะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง เมื่อตื่นขึ้นมาในวัยเรี่ยวแรงอ่อนล้าตอนอายุ 50 แล้วพบว่าตัวเองไม่มีเงินเก็บเหลือเลย
  • หวนนึกถึงวันเวลาที่ผ่านมาอย่างเสียดายว่า รู้งี้ขยันเก็บเงินบ้างก็ไม่ลำบากแล้ว
  • รู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง ทุกข์ใจ กังวลกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ
  • โทษโชคชะตาที่มีไม่เท่าคนอื่น ทำให้ต้องมาลำบากตอนแก่
  • หยุดทำงานหาเงินไม่ได้ แม้ว่าร่างกายและจิตใจอยากจะหยุดพักแค่ไหนก็ตาม
  • เสี่ยงตกงานหรือหางานทำต่อไปไม่ได้ แล้วทีนี้จะเอาอะไรกิน
  • เริ่มใช้เงินอย่างจำกัด เพราะสภาพร่างกายเสื่อมถอยหารายได้ๆ น้อยลง
  • ขุดเอาสมบัติเก่าไปขายไปจำนำ เปลี่ยนเป็นเงินอย่างน่าเสียดาย
  • มีโรคภัยไข้เจ็บรุมเร้า เพราะไม่กล้าใช้เงินรักษาสุขภาพให้ดี
  • หวังพึ่งความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ไม่มีทางเพียงพอ ต้องอยู่อย่างลำบาก
  • หวังพึ่งลูกหลานเลี้ยงดู อันนี้น่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายของหลายคนที่ไม่มีเงินเก็บ
โชคยังดีที่ตื่นขึ้นมาตอนอายุ 50 ยังพอมีเวลาเหลือให้แก้ตัวอีกหลายปี แต่ต้องสัญญากับตัวเองว่าจะเปลี่ยนเป็นคนใหม่ มีความมุ่งมุ่นเก็บเงินอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้เกษียณได้อย่างมีความสุข สิ่งที่ควรทำคือ

เร่งหาวิธีเก็บออมเงินจากรายการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

โดยทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามาก็หักเงินบางส่วนที่เคยไว้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไปเก็บไว้อีกบัญชีที่ไม่จำเป็นไม่ถอนออกมาใช้

เปิดใจรับความรู้ใหม่เพื่อหาช่องทางลงทุนเพิ่มรายได้

ใช้ทุนน้อยความเสี่ยงไม่สูงมากเพื่อให้มีรายได้เพิ่ม เช่น กองทุนรวมผสม บ้านให้เช่า ขายของออนไลน์ นายหน้า ฯลฯ หากเป็นไปได้ควรหารายได้จากทรัพย์สินสร้างเงิน (Passive Income) ซึ่งไม่ต้องทำงานก็ยังได้เงินเป็นประจำเหมาะมากกับคนใกล้เกษียณ

หมั่นดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจ

จะได้มีกำลังมีเรี่ยวแรงทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จและไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่เปิดโอกาสให้แชร์แนวคิดการเงินส่วนบุคคล และขอย้ำเพื่อนๆ ว่าการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่จำเป็นในชีวิตสามารถหาความรู้ได้เองจากหนังสือ อินเทอร์เน็ต และคนที่ประสบความสำเร็จ ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิตกันนะครับ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา