ปัจจุบันคนในสังคมไทยจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อให้มีเงินใช้เพียงพอสำหรับวัยหลังเกษียณ โดยตามปกติชาวออฟฟิศก็จะตั้งเป้าเกษียณตอนอายุ 60 ปี หรือบางคนที่ยังขาดความพร้อมในการมีเงินใช้หลังเกษียณ ก็อาจจะต้องยืดอายุเกษียณออกไปอีก เพื่อเก็บเงินให้เพียงพอสำหรับ
ใช้ชีวิตหลังเกษียณโดยไม่เดือดร้อนคนในครอบครัว ซึ่งก็อาจจะสร้างความยุ่งยาก ลำบากกว่าคนที่เตรียมตัวเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าหากเราเริ่มวางแผนเพื่อไปถึงเป้าหมายมีเงินใช้หลังเกษียณได้เลย ตั้งแต่วันนี้
อยากมีเงินใช้สบายหลังเกษียณต้องรู้อะไรบ้าง?
หากเราอยากมีเงินเก็บเอาไว้ใช้ในยามเกษียณเยอะ ๆ ไม่เป็นภาระของคนรอบข้าง เราจะต้องรู้เรื่อง ดังนี้
- รู้เป้าหมาย : ต้องรู้ก่อนว่าเราอยากจะเก็บเงินให้ได้เท่าไร แล้วนำเป้าหมายนั้นมาวางแผนการเก็บเงิน ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวจะต้องมีความเป็นไปได้และเราสามารถทำได้จริง
- รู้วิธีการออมเงิน : ต้องรู้ว่าเราจะบริหารรายรับอย่างไรให้มากกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือน เพื่อให้เรามีเงินออม และสามารถนำเงินออมนั้นมาต่อยอดในการลงทุนได้
- รู้ระยะเวลาที่ต้องออมอย่างต่อเนื่อง : การสร้างเงินเกษียณนั้นไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่เดือน เราจึงต้องวางแผนว่า จะต้องออมอย่างไรและใช้เวลานานแค่ไหน เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย
- รู้วิธีการหาผลตอบแทนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ : เมื่อเรามีเงินออมแล้ว เราสามารถนำเงินออมไปลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น กองทุนรวม เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงมากกว่าเงินฝาก ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเรา
อยากเกษียณได้อย่างสบาย ๆ ควรมีเงินเท่าไร?
การที่เราจะสามารถใช้ชีวิตในยามเกษียณได้อย่างไม่ต้องกังวลเรื่องเงินจะต้องรู้จัก 2 เรื่อง ได้แก่
1. รายจ่ายหลังเกษียณ
ก่อนอื่นต้องลองคำนวณดูก่อนว่าเราจะต้องใช้เงินเท่าไรในอนาคต โดยสามารถคำนวณจากไลฟ์สไตล์ของตัวเองในปัจจุบันได้เลย ยกตัวอย่าง ในแต่ละเดือนเราใช้เงินประมาณเดือนละ 20,000 บาท ก็จะตก 240,000 บาทต่อปี และอย่าลืมว่าในแต่ละวันของจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ เราอาจจะต้องคำนวณเผื่อในเรื่องของเงินเฟ้อด้วย
2. ระยะเวลาใช้ชีวิตหลังเกษียณ
โดยทั่วไปแล้วเราจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีชีวิตอยู่ยาวถึง 70-80 ปี หรืออาจจะ 90 ปีได้ ซึ่งเราสามารถประเมินในเบื้องต้นโดยใช้ค่าเฉลี่ยของอายุขัยคนในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือใช้ตัวเลขอายุขัยเฉลี่ยที่มาจากข้อมูลทางสถิติ อย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ระบุว่าในปี 2023 ประชากรชายไทยมีแนวโน้มที่จะมีอายุถึง 74 ปี 9 เดือน ส่วนประชากรหญิงมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 81 ปี 1 เดือน ซึ่งอาจจะสรุปเป็นตัวเลขค่าเฉลี่ยอายุขัยที่ 80 ปี ดังนั้นหากเราเกษียณอายุที่ 60 และอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 80 ปี นั่นแปลว่าเราจะต้องมี
เงินเกษียณเตรียมไว้ถึง 20 ปี
เมื่อเรารู้รายจ่ายหลังเกษียณและระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณแล้ว สามารถนำมาคำนวณได้ว่าเราจะต้องเตรียมเงินไว้เท่าไร โดยสูตรการคำนวณคือ
รายจ่ายหลังเกษียณ(ต่อปี) x ระยะเวลาใช้ชีวิตหลังเกษียณ(ปี) = เงินเกษียณ
ตัวอย่างเช่น
- รายจ่ายหลังเกษียณ (ต่อปี) คิดเป็น 240,000 บาท (20,000 บาท ต่อเดือน)
- ระยะเวลาใช้ชีวิตหลังเกษียณ (ปี) ตั้งแต่อายุ 60 ปี ถึง 80 ปี รวม 20 ปี
ดังนั้น เงินเกษียณที่จะต้องเตรียมไว้คือ 240,000 x 20 ปี = 4,800,000 บาท หรือประมาณ 5 ล้านบาทก็จะช่วยให้เรามีชีวิตหลังเกษียณที่สบายได้มากขึ้น
ควรลงทุนเดือนละเท่าไรเพื่อให้เกษียณสบาย ๆ
สำหรับการวางแผนลงทุน สิ่งที่ควรต้องกำหนดมีทั้งหมด 2 สิ่ง ได้แก่
- กำหนดระยะเวลาในการลงทุน ลองดูว่าจากวันนี้จนถึงวันที่เราต้องเกษียณนั้น เรามีระยะเวลาเก็บเงินมาลงทุนนานแค่ไหน เช่น หากเราอายุ 30 ปี และเราจะต้องเกษียณตอนอายุ 60 ปี นั่นหมายความว่าเราจะมีเวลาเก็บเงิน 30 ปี เท่านั้น
- กำหนดผลตอบแทนที่คาดหวัง สำหรับการลงทุนระยะยาว เช่น ปีละ 5% 8% หรือ 10% เป็นต้น
ตัวอย่าง : เงินต่อเดือนที่เราต้องนำไปลงทุนเพื่อให้เราสามารถมี
เงินหลังเกษียณตามเป้าหมายที่ 5 ล้านบาท
จำนวนเงินลงทุน สำหรับการมีเงินเก็บหลังเกษียณ 5 ล้านบาท
จากตารางจะเห็นได้ว่า
“อายุที่เริ่มต้นลงทุน” เป็นปัจจัยที่สำคัญ หากเราเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะมีเวลาในการสร้างผลตอบแทนได้มาก ทำให้เงินที่เราลงทุนต่อเดือนน้อยกว่าคนที่มาเริ่มตอนอายุมากแล้ว นอกจากนี้การลงทุนในกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 5% ก็จะเหมาะสมกับจำนวนเงินที่เราจะลงทุนในระยะยาว เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายมีเงินเก็บหลังเกษียณ 5 ล้านบาทได้อย่างสบาย ๆ ซึ่งหากใครมีเป้าหมายทางการเงินที่ต่างจากนี้ สามารถคำนวนเงินเกษียณได้ที่
เครื่องคำนวณเงินเกษียณ
อย่างไรก็ตามหากใครที่กังวลว่าจะไม่สามารถวางแผนเกษียณได้ด้วยตัวเอง หรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านการวางแผนเกษียณ สามารถขอคำแนะนำ
บริการให้คำปรึกษาด้านการออมและการลงทุนโดยมืออาชีพ ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ควรลงทุนอะไรเพื่อให้เกษียณได้ตามที่หวังไว้
ทางเลือกในการลงทุนเพื่อให้มีเงินเกษียณใช้อย่างสบาย ๆ มีอยู่หลายทางเลือก แต่ถ้าเราอยากได้ประโยชน์ถึง 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนภาษีและให้เงินงอกเงยจากการออมเงินในระยะยาว เช่น กองทุน RMF, SSF และ Thai ESG ถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มากที่สุด ด้วยนโยบายการลงทุนที่มีความยืดหยุ่น สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ จึงเหมาะกับการลงทุนเพื่อไปสู่เป้าหมายมีเงินก้อนเก็บไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณได้ แถมยังได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย
Krungsri The COACH แนะนำการวางแผนเกษียณด้วย RMF และ SSF
วางแผนเกษียณด้วย RMF
ข้อดีของการลงทุนใน RMF สำหรับการสร้างเงินล้านนั้นคือ เป็นการบังคับให้เราลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี และไม่ให้เรานำเงินก้อนนี้ออกมาใช้ในระหว่างทางจนกว่าจะอายุ 55 ปี จึงทำให้เรามีโอกาสได้ผลตอบแทนจากพลังของดอกเบี้ยทบต้น
กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับ RMF
การลงทุน RMF เราสามารถใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA ได้ทั้งรายเดือนและรายปี เช่น เราสามารถลงทุนทุกปี ปีละ 60,000 บาท หรือแบ่งเป็นรายเดือน เดือนละ 5,000 บาท อย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว
กองทุน RMF แนะนำจากทางกรุงศรี PRINCIPAL VNEQRMF
(ข้อมูลอ้างอิงวันที่ 31 สิงหาคม 2567)
- นโยบายลงทุน : เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ เน้นลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามที่มีศักยภาพในการเติบโต รวมถึงธุรกิจที่จะได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
- ความเสี่ยง : กองทุนนี้เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มาก
วางแผนเกษียณด้วย SSF
ข้อดีข้องการลงทุนใน SSF คือ มีความยืดหยุ่นมากกว่า ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีแบบ RMF เราจะลงทุนกี่บาทก็ได้ ลงทุนปีนี้แล้วเว้นการลงทุนอีก 2 ปี ก็ทำได้ พูดง่าย ๆ ว่าเมื่อมีเงินพร้อมเมื่อไร ก็มาลงทุนใน SSF ได้เมื่อนั้น
กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับ SSF
การลงทุนใน SSF สามารถใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Lump Sum หรือการใช้เงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อในทีเดียว โดยการจับจังหวะการลงทุนในช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง
กองทุน SSF แนะนำจากทางกรุงศรี KFGBRANSSF
(ข้อมูลอ้างอิงวันที่ 30 สิงหาคม 2567)
- นโยบายลงทุน : เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ เน้นลงทุนบริษัทในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จ หรือมีชื่อเสียงในแบรนด์ โดยพิจารณาจากทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ มีสัมปทานในการจัดจำหน่าย เป็นต้น
- ความเสี่ยง : กองทุนนี้เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มาก
สามารถเช็กข้อมูลกองทุนแนะนำเพิ่มเติมได้ที่
ชี้เป้า SSF | RMF | Thai ESG ตัวเด็ด
จะเห็นได้ว่า การมีเงินก้อนไว้ใช้หลังเกษียณ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป มีหลายวิธีการที่ทำให้เราไปสู่เป้าหมายนี้ได้ หากเราเริ่มต้นวางแผนการสร้างเงินเกษียณตั้งแต่เนิ่น ๆ เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย และเลือกใช้เครื่องมือในการลงทุนที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน
- SSF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม Thai ESG เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาว และสนับสนุนการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย และ RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
- กองทุน KFGBRANSSF, PRINCIPAL VNEQRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- PRINCIPAL VNEQRMF ลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
อ้างอิง