โครงการกรุงศรีรวมพลังอนุรักษ์พัฒนาโบราณสถานจังหวัดบ้านเกิด

การพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการกรุงศรีรวมพลังอนุรักษ์พัฒนาโบราณสถานจังหวัดบ้านเกิด

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือเป็น “บ้านเกิด” ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา และถือเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนานควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2478 โบราณสถานหลายแห่งในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร ในฐานะที่เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ และในปี พ.ศ.2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

ด้วยเหตุนี้ กรุงศรีจึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นมรดกของชาติและโลกมาตั้งแต่ปี 2548 ผ่านกิจกรรมอันหลากหลายเพื่อพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และบำรุงรักษาโบราณสถานต่างๆ ให้คงความสมบูรณ์คู่แผ่นดินไทย และเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาความเป็นมาอันน่าภาคภูมิใจของประวัติศาสตร์ไทย อาทิ
การบริจาคเงินเพื่อการปฏิสังขรณ์สถาปัตยกรรมโบราณสถาน การสนับสนุนกรมศิลปากรในโครงการจัดทำป้ายจิตรกรรมเสมือนจริงและป้ายคำบรรยายโบราณสถาน การสนับสนุนกรมศิลปากรในโครงการอนุรักษ์และจัดแสดงโบราณวัตถุกลางแจ้ง 190 รายการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

ในปี 2558 กรุงศรีได้ร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร ดำเนินโครงการ “กรุงศรีรวมพลังอนุรักษ์พัฒนาโบราณสถานจังหวัดบ้านเกิด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งธนาคารได้นำอาสาสมัครกรุงศรีร่วมกิจกรรมทำความสะอาดและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบโบราณสถาน รวมทั้งกำจัดวัชพืชที่ชอนไชพื้นผิวของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โบราณสถานเสี่ยงต่อการชำรุดทรุดโทรมและอาจพังทลายลงได้ในระยะยาว

โครงการกรุงศรีรวมพลังอนุรักษ์พัฒนาโบราณสถานจังหวัดบ้านเกิด นอกจากจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 11: การส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานและชุมชนอย่างยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) และ เป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals)

ผลการดำเนินงาน
ปี สถานที่จัดกิจกรรม จำนวนอาสาสมัคร
2566
  • วัดวังชัย
  • วัดแค (ร้าง)
  • วัดวรโพธิ์
  • วัดสีกาสมุด
305 คน
2565
  • วัดหลวงชีกรุด
  • วัดอุโบสถ
  • วัดมเหยงคณ์
132 คน
2564 -   -
2563
  • วัดเตว็ด
  • วัดจักรวรรดิ์
  • วัดเจ้าปราบ
  • หมู่บ้านโปรตุเกส
278 คน
2562
  • วัดกุฎีดาว
  • วัดวรเชษฐาราม
  • พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์
  • วัดหัสดาวาส
  • วัดสังขแท้-สังขทา
  • พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์
  • วัดเชิงท่า
500 คน
2561
  • วัดพระงาม
  • วัดพระยาแมน
  • วัดเชิงท่า
  • วัดจงกลม
  • วัดตะไกร
472 คน
2560
  • วัดเจ้าย่า
  • วัดจงกลม
  • วัดเชิงท่า
  • วัดพระงาม
  • วัดตะไกร
  • วัดพระยาแมน
657 คน
2559
  • วัดมเหยงค์
  • วัดเจ้าย่า
  • วัดจงกลม
  • วัดราชบูรณะ
  • วัดแค
335 คน
2558
  • วัดภูเขาทอง
  • วัดเชิงท่า
  • วัดตะไกร
  • วัดโคกพระยา
  • วัดใหม่คลองสระบัว
  • วัดพระศรีสรรเพชญ์
266 คน
โครงการกรุงศรีรวมพลังอนุรักษ์พัฒนาโบราณสถานจังหวัดบ้านเกิด
โครงการกรุงศรีรวมพลังอนุรักษ์พัฒนาโบราณสถานจังหวัดบ้านเกิด
โครงการกรุงศรีรวมพลังอนุรักษ์พัฒนาโบราณสถานจังหวัดบ้านเกิด
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา