2 ตุลาคม 2567
ด้วยศักยภาพของภูมิภาค “อาเซียน” ทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ และสัดส่วนประชากรที่อายุเฉลี่ยอยู่ที่ไม่ถึง 30 ปี ล้วนเป็นแมกเนตที่ดึงดูดผู้ประกอบจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาด เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แต่เส้นทางในการพิชิตตลาดอาเซียน อาจไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเท่านั้น เพราะนอกจากโอกาสแล้ว ยังมีความท้าทายที่เป็นของคู่กันเสมอ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยในการพิจารณามองหาพันธมิตรที่พร้อมสนับสนุนในทุกมิติธุรกิจ เพื่อไปลุยอาเซียนด้วยกัน
ล่าสุด กรุงศรี จัดงานสัมมนาแห่งปี
“Krungsri ASEAN LINK Forum” ตอกย้ำศักยภาพอันแข็งแกร่ง ในฐานะธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาค และเครือข่ายธุรกิจของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ MUFG หนึ่งในสถาบันการเงินชั้นนำระดับโลก ที่ไม่เพียงสามารถนำเสนอบริการด้านการเงินอย่างครบวงจรให้แก่ธุรกิจทั้งรายบุคคล ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ยังพรั่งพร้อมไปด้วยผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรหลายแขนง ที่พร้อมเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ประกอบการไทยขยายการเติบโตสู่อาเซียน ผ่านบริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ Krungsri ASEAN LINK
ความพิเศษของงานครั้งนี้ นอกจากกรุงศรีจะยกทัพวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงธนาคารพันธมิตรในอาเซียนมาร่วมฉายภาพให้เห็นโอกาสและความท้าทายของตลาดอาเซียนอย่างรอบด้าน ยังพาไปชี้เป้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคที่เปลี่ยนไป เพื่อเป็นไอเดียสำหรับผู้ประกอบการอีกด้วย
เปิดประตูสู่อาเซียน ภูมิภาคที่กำลังเนื้อหอม
ทีมวิจัยเศรษฐกิจ กรุงศรี เริ่มต้นด้วยการสะท้อน 3 ปัจจัยที่สนับสนุนให้อาเซียนเป็นภูมิภาคแห่งโอกาสทางเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างน่าสนใจ ดังนี้
อาเซียนมีการเติบโตของเศรษฐกิจที่ร้อนแรง มีการคาดการณ์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า หลายประเทศในอาเซียนจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยที่ 5-6% ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชากรและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเวียดนาม ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น Rising Star หรือ ดาวรุ่งของภูมิภาค มีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปี ข้างหน้าเศรษฐกิจจะเติบโตเฉลี่ยถึง 6.5% ต่อปี และถ้ายังเติบโตแบบนี้ ไปอีก 14 ปี เศรษฐกิจเวียดนามจะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจไทย โดยปัจจัยหนุนสำคัญของเวียดนาม คือ มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมาก และเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาดี นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีนโยบายที่ดึงดูดการลงทุน มี FTA มากกว่า 50 ประเทศ และมีสิทธิประโยชน์การลงทุนที่หลากหลายตามประเภทอุตสาหกรรรม เช่น สิทธิประโยชน์ที่ให้จ่ายภาษีนิติบุคคลเพียง 5% ติดต่อกันเป็นเวลากว่า 30 ปี
อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ประชากรมากถึง 680 ล้านคน ที่สำคัญเมื่อไปดูโครงสร้างประชากรจะพบว่า อายุเฉลี่ยอยู่ที่ราว 30 ปีเท่านั้น จึงเป็นตลาดแรงงานที่สำคัญ เช่น ฟิลิปปินส์ที่ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นคนป่วยของเอเชีย ปัจจุบันเศรษฐกิจกลับมาโตได้ 5-7% หนึ่งในปัจจัยสำคัญมาจากการมีทรัพยากรมนุษย์ที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี จนสามารถไปทำงานต่างประเทศและส่งเงินกลับมายังบ้านเกิด ซึ่งเงินโอนกลับเหล่านี้มีมูลค่าราว 10% ของ GDP ฟิลิปปินส์
อาเซียนมีความหลากหลายของผู้คน วัฒนธรรม และสถานที่ท่องเที่ยว มีทรัพยากรธรรมชาติ ตอบโจทย์ธุรกิจสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง อินโดนีเซีย มีแหล่งทรัพยากรสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างนิกเกิล ทองแดง ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม แม้อาเซียนจะได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยโอกาส แต่ก็มาพร้อมความท้าทายทั้งในเรื่องของกฎระเบียบแและการติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลของแต่ละประเทศที่มีความซับซ้อนและไม่เหมือนกัน แม้อยู่ในเขตเศรษฐกิจเดียวกันแต่ก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น คนเวียดนาม มีวัฒนธรรมการนอนกลางวันสั้นๆ หลังอาหารเที่ยง หรือ Power Nap ซึ่งต่างกับไทย นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ในอาเซียนยังต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ และปัญหาความความท้าทายในแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย ดังนั้น การจะเข้าไปทำธุรกิจ จึงต้องมีความรู้และความเข้าใจอินไซต์ต่างๆ เพื่อก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นแล้วพลิกเป็นโอกาสทางธุรกิจ
เจาะ 6 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียน รู้เร็ว คว้าโอกาสได้ก่อน
นอกจากโอกาสและความท้าทายในมิติของเศรษฐกิจและการลงทุน ในงานนี้กรุงศรียังชวน คันทาร์ อินไซท์ ประเทศไทย (KANTAR Thailand) มาชี้เป้าให้เห็น 6 โอกาสที่จะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียนที่เปลี่ยนไป ได้แก่
- โอกาสจากการที่ผู้คนมองหาความมั่นคงทางชีวิต ทรัพย์สิน และจิตใจมากขึ้น จึงหันมาวางแผนเพื่ออนาคต หนึ่งในผลิตภัณฑ์ยอดฮิต คือ การซื้อประกันภัยที่ไม่ได้ตอบโจทย์แค่เรื่องสุขภาพหรือชีวิต แต่รวมไปถึงประกันที่คุ้มครองภัยพิบัติต่างๆ หรือ อย่างที่อินโดนีเซีย มีการออกแบบประกันตามไลฟ์สไตล์เพื่อเจาะกลุ่ม Gen Z ที่ต้องการสนุกกับการใช้ชีวิตแบบไร้กังวล เช่น ไปดูคอนเสิร์ตเจอเหตุไม่คาดฝันก็มีประกันคุ้มครอง
- โอกาสจากการใช้ชีวิตสูงวัยแบบแอกทีฟ แนวโน้มประชากรสูงวัยในอาเซียนอยู่ในช่วงขาขึ้น จากปัจจุบันมีอยู่ 85.7 ล้านคนหรือ คิดเป็น 12.5% ของประชากรอาเซียนทั้งหมด จะเพิ่มเป็น 15% ในปี 2030 และ 22% ในปี 2050 ซึ่งถือเป็น Sweet Spot ในการนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ Pain Point และ Unmet Need ของคนกลุ่มนี้ ที่ต้องการมีไลฟ์สไตล์ที่แอกทีฟแบบไม่สนวัย เช่น กลุ่มธุรกิจแฟชั่นและความงาม ที่ตอบโจทย์วัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงแกดเจ็ตต่างๆ ที่เข้ามาช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่า ไม่เป็นภาระคนรอบข้าง
- โอกาสจากการเป็นสังคมดิจิทัล ทำให้คนในอาเซียนคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตทั้งในโลกออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะช็อปปิ้ง หาข้อมูล ติดตามข่าวสาร หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ดังนั้น หากธุรกิจไหนสามารถอำนวยความสะดวก ด้วยบริการแบบไร้สัมผัส (Contactless) หรือ บริการที่สามารถยืนยันตัวตนผ่านการเซลฟี่ ที่ทั้งง่าย สะดวกและรวดเร็วจะตอบโจทย์พฤติกรรมของคนในยุคนี้ได้ดีกว่า
- โอกาสจากพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่ามากกว่ามูลค่า ดังนั้นแทนที่จะมุ่งทำสงครามราคา เพื่อขายของในราคาที่ถูกที่สุด ควรทำให้ลูกค้าเห็นว่าสินค้าและบริการที่นำเสนอนั้นมีคุณค่าและคุ้มค่าอย่างไร
- โอกาสจากเทรนด์ความยั่งยืน จากสถิติพบว่า 75.5% ของคนในอาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะเข้ามาบุกตลาดอาเซียน แทนที่จะโฟกัสเฉพาะธุรกิจ ต้องใส่ใจไปถึงสังคมด้วย ตัวอย่างเคสธุรกิจที่น่าสนใจ คือ ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ที่ไม่เพียงจะออกแบบตัวบัตรที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล แต่ยังสามารถนำแต้มไปช่วยสังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชน
- โอกาสจากค่านิยมของคนในอาเซียนที่เปิดกว้าง พร้อมเปลี่ยนผ่านจากโลกเก่าไปสู่โลกใหม่ เช่น การเปิดรับกลุ่ม LGBTQ ทำให้เกิดกระแสซีรีย์วาย รวมไปถึงการนำความเชื่อมาผสานกับเทคโนโลยี เช่น กิจกรรมการตลาดมูเตลูผ่านเมตาเวิร์ส
GO ASEAN with krungsri ทำไมต้องไปกับกรุงศรี
จากโอกาสและความท้าทายที่มีอยู่มากมายนี้เอง การก้าวไปทำธุรกิจในอาเซียน จึงต้องใช้ทั้งความฉับไว และต้องไปกับเชี่ยวชาญที่รู้ลึกรู้จริง ดังนั้น เพื่อช่วยปลดล็อกผู้ประกอบการไทยให้สามารถคว้าโอกาสและขยายการเติบโตของธุรกิจในทุกเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนในอาเซียนได้ก่อนใคร กรุงศรี ในฐานะธนาคารแห่งภูมิภาค จึงพร้อมพาธุรกิจคุณก้าวสู่อาเซียนอย่างมั่นใจ
โดยจุดแข็งสำคัญของกรุงศรี คือ นอกจากจะมีสาขาและเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศอยู่ 6 บริษัท ดำเนินธุรกิจใน 5 ประเทศในอาเซียน และยังมี MUFG (มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำระดับโลก ที่มีธุรกิจทางการเงินที่ครอบคลุมทั้งธนาคารพาณิชย์ ทรัสต์แบงก์กิ้ง ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อย ธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธุรกิจเช่าซื้อ MUFG ยังมีเครือข่ายสำนักงานราว 2,000 แห่ง ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เฉพาะในอาเซียน MUFG มีทั้งสาขา สำนักงาน ธนาคารพันธมิตร ที่ MUFG เข้าไปถือหุ้น ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศของอาเซียน
นอกจากการมีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง กรุงศรียังมีโซลูชันที่พร้อมเชื่อมต่อกับคู่ค้าต่างแดน ด้วยบริการที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ เชื่อมโยงบริการทัั้งภูมิภาคผ่าน Krungsri ASEAN LINK บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมในอาเซียนที่แตกต่างและหลากหลาย พร้อมนำเสนอโซลูชันทางการเงินให้กับลูกค้าแบบ Tailor-made โดยเริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษา วิเคราะห์ และสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด รวมถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจเพื่อขยายการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ การพัฒนาและจัดตั้งสำนักงานธุรกิจในระดับภูมิภาค การให้บริการที่ปรึกษาทางกฎหมายและภาษีอากร และการจับคู่ทางธุรกิจ(Business Matching) เป็นต้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กรุงศรีเปิดโอกาสให้มีการพบปะเจรจาการค้าระหว่างประเทศมาแล้วกว่า 3,000 คู่ธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจในอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บริการโอนเงินระหว่างประเทศ บริการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และบริการจัดการเงินสด ด้วยบริการ Transaction โอนเงินระหว่างประเทศแบบทันทีโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เพราะกรุงศรี มีการทำความร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรท้องถิ่นในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อยู่แล้ว จึงช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจในอาเซียน
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า ทำไม Krungsri ASEAN LINK ถึงเป็นพาร์ตเนอร์ที่แข็งแกร่งสำหรับผู้ประกอบไทยที่อยากคว้าโอกาสในอาเซียน ถ้าไม่อยากปล่อยผ่านโอกาสที่จะได้พิชิตภูมิภาคอาเซียนที่กำลังเนื้อหอมเวลานี้ แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ติดต่อกรุงศรี แล้ว GO ASEAN ไปด้วยกัน