กรุงศรีห่วง คนยุคใหม่ที่เลือกทำอาชีพ
ฟรีแลนซ์ หรือเป็นพ่อค้า
แม่ค้าออนไลน์ อาชีพยอดนิยมในยุคดิจิทัล ซึ่งมีอิสระกว่าการทำงานประจำหรือเป็นมนุษย์เงินเดือน มีอิสระทางด้านเวลา จะไปเที่ยวตอนไหน หรือหยุดวันไหนก็ได้ไม่มีข้อบังคับ แต่เหรียญก็มีสองด้าน สำหรับการที่ไม่ได้ทำงานประจำ หลายคนก็มักจะมีความห่วงในเรื่องการดูแลการเงิน เพราะไม่มีเงินเดือนประจำ รายได้อาจมาไม่สม่ำเสมอ หรือได้ไม่ตรงเวลา ทำให้ต้องมีการบริหารการเงินที่ดี เพื่อที่จะไม่ให้ตัวเองลำบาก วันนี้เรามีแผนการเงินสุดเจ๋งมาฝากเหล่าคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ แต่อยากมีเงินเหลือกินเหลือใช้ จะมีเทคนิคอะไรกันบ้าง มาวางแผนไปพร้อม ๆ กับเราได้เลย
แบ่งเงินเพื่อค่าใช้จ่ายประจำ เป็นสัดส่วน
สิ่งสำคัญที่ต้องทำก่อนการวางแผนการเงินคือ สำรวจ
รายจ่ายของเราดูว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องจ่ายทุกเดือนบ้างให้แบ่งออกเป็น 3 กอง เช่น
- รายจ่ายประจำ ที่เราต้องจ่ายในทุกเดือน เช่น ค่าเช่า/ผ่อนบ้าน ค่างวดรถ ฯลฯ
- รายจ่ายทั่วไป ที่มีจำนวนไม่แน่นอนในแต่ละเดือน เช่น ค่าน้ำ-ไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือบิลบัตรเครดิต
- เงินเก็บสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเก็บออม เงินสำรอง และเงินสำหรับการลงทุน
เพิ่มรายรับให้หลายช่องทาง เสริมฐานะให้มั่นคง
เพราะอาชีพฟรีแลนซ์ หวังพึ่งรายรับจากการทำงานอย่างเดียวคงไม่พอเพราะวิถีชีวิตที่ไม่แน่นอน และในยุคปัจจุบันกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น การมีเงินจากหลายช่องทางเป็นสิ่งที่ดี โดยเราอาจจะเริ่มทำสิ่งที่เราถนัดมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น หากคุณเป็นกราฟิกฟรีแลนซ์ มีฝีมือด้านการออกแบบ ลองวาดภาพประกอบเพื่อนำไปลงขายบนเว็บขายภาพ หรือลองออกแบบลายบนเสื้อ เพื่อจำหน่ายช่วยสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง แต่ถ้าอยากจะเริ่มทำ
ธุรกิจ แต่ไม่ได้ทำงานประจำก็ขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้ เช่น สินเชื่อ
Krungsri iFIN ที่สมัครงานผ่านแอปฯ KMA ยื่นเมื่อไหร่ก็กู้มาสร้างตัวเอง ได้ง่าย ๆ
แต่เพื่อการเงินที่มั่นคงอีกขั้น ลองนำเงินเก็บไปต่อยอดด้วยการลงทุน อาจจะเริ่มต้นด้วยการลงทุนในกองทุนรวมแบบ
DCA-Dollar Cost Averaging หรือลงทุนในกองทุนรวมทั้งของไทย และต่างประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสไตล์การลงทุนและระดับความเสี่ยงที่เรารับได้
วางแผนสำหรับภาษี ลดหย่อนให้เต็มที่ได้เงินคืนอีกเพียบ
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ สิ่งสำคัญที่ต้องจัดการให้ดีนั่นก็คือ การวางแผนเรื่องภาษี โดยที่เราต้องจัดการให้ถูกวิธี ดังนี้
- ยื่นภาษีทุกปี ห้ามช้า ห้ามขาด ไม่อย่างนั้นเราอาจจะโดนค่าปรับ จะกระทบกับเงินที่เก็บออมเอาไว้
- ลงทุนในกองทุนรวม เช่น กองทุน RMF และ SSF ที่นอกจากจะได้รับเงินปันผลและยังได้ประโยชน์ในการช่วยลดหย่อนภาษี ถือว่าได้ประโยชน์สองทาง
เพราะเรื่องภาษีเป็นเรื่องที่ชาวฟรีแลนซ์อาจมองข้าม ดังนั้นเราต้องจัดการเรื่องนี้ให้ดี เพื่อจะช่วยเปิดโอกาสทางการเงินให้ชีวิตเราดีขึ้นอีก
แบ่งเงินเก็บ 3-6 เดือน เผื่อกรณีฉุกเฉิน
เพราะรายได้ของคนที่ไม่ได้ทำงานประจำนั้นไม่แน่นอน ข้อสำคัญที่สุดเราต้องให้ความสำคัญกับเงินสำรอง หากเกิดอะไรขึ้น เช่น เจ็บป่วยกะทันหัน หรือต้องซื้ออุปกรณ์การทำงาน จะได้ใช้เงินก้อนนี้เป็นค่าใช้จ่าย อาจจะแบ่งจากเงินที่ได้จากการทำงาน หรือขายของ ส่วนจะเก็บเท่าไหร่นั้นเราต้องคิดคำนวณว่า เงินก้อนนี้หากไม่มีงานเข้ามา จะอยู่ได้โดยไม่ลำบาก
เพราะร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ อย่าลืมทำประกันสุขภาพ แค่มีไว้ก็อุ่นใจ
เพราะการไม่ได้ทำงานประจำ ทำให้ไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพเหมือนมนุษย์เงินเดือน การมองหาประกัน
สุขภาพก็เป็นตัวเลือกที่ดีให้กับตัวเรา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชีวิต หากเกิดล้มป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ก็มีเงินที่เข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แถมการทำประกันสุขภาพยังช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกทาง ดีทั้งร่างกายและช่วยในเรื่องของการเงินแบบนี้ ไม่ควรมองข้ามประกันสุขภาพโดยเด็ดขาด หากก้าวสู่โลกของการไม่ทำงานประจำ
เพราะอาชีพอย่างเราที่เป็นอิสระแต่แลกมาด้วยการไม่มีสวัสดิการ หรือเงินเดือนที่แน่นอน ทำให้ต้องใช้การวางแผนที่รัดกุม เพราะเหตุผลแบบนี้เราเลยห่วงใยคุณ หากได้ลองทำตามเคล็ดลับดี ๆ แบบนี้ เชื่อได้เลยว่า เราจะมีความมั่นคงในชีวิต มีสุขภาพการเงินที่เป็นบวก ไม่ต่างจากการทำงานประจำเลยทีเดียว