ในช่วงวิกฤตครั้งใหญ่ที่ผ่านมาและยังไม่หายไปนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกองค์กรต่างก็ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ Disruption หรือความเสี่ยงของธุรกิจต่าง ๆ บางธุรกิจก็ล้มหายตายจากไป แต่บางธุรกิจสามารถอยู่รอด หรือแม้กระทั่งกลับเติบโตยิ่งใหญ่ได้ในสถานการณ์นี้ เพราะธุรกิจเหล่านั้นล้วนมีความ Resilience อยู่ใน DNA ขององค์กร
Resilience คืออะไร
คำว่า Resilience เมื่อดูความหมายแล้วหลายคนอาจเข้าใจว่าหมายถึง ‘ความยืดหยุ่น’ แต่จริง ๆ แล้วคำนี้มีความหมายที่ลึกลงไปกว่านั้น และยิ่งพูดถึง Organizational Resilience แล้ว คำว่ายืดหยุ่นอย่างเดียวก็ไม่สามารถอธิบายคำนี้ได้อย่างครอบคลุม เพราะ Organizational Resilience คือความสามารถขององค์กรในการคาดการณ์ เตรียมพร้อม ตอบสนอง และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมถึงการ Disruption ที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เพื่อความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ‘ล้มเร็วลุกเร็ว’
Resilience มีความสำคัญต่อธุรกิจมากกว่าที่คิด
Resilience เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบันมีพลวัตและสามารถคาดเดาได้ยากมากกว่าที่เคย ตั้งแต่เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเชื่อมโยงของเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ที่มีมากขึ้น ไปจนถึงปัญหาระดับโลกต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้งทางการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก หรือแม้กระทั่งโรคระบาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ ๆ Resilience จึงเป็นเหมือนความสามารถขององค์กรที่เข้ามาดูดซับความเครียด และฟื้นคืนประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานให้กลับมาอีกครั้ง สู่ความอยู่รอดเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
“ธุรกิจใดที่มี Resilience ธุรกิจนั้นย่อมได้รับผลกระทบน้อยกว่า”
ปัจจุบันองค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญกับ Resilience จึงอาจอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะการมี Resilience ที่เพียงพอจะทำให้เราปรับตัวเข้ากับโอกาสในการแก้ปัญหาที่ใหญ่และซับซ้อนได้ด้วยแนวคิดธุรกิจสมัยใหม่ แต่ Resilience ขององค์กรก็เป็นเรื่องท้าทายในการสร้าง การนำไปใช้ และที่สำคัญคือการคงรักษาไว้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับองค์กรในระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยการสร้างอย่างมีระบบ
ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไรให้เป็น Resilient Organization
การจะสร้าง Resilience อย่างเป็นระบบแบบครบวงจรได้ อย่างแรกต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิดและมองภาพ Resilience ให้กว้างขึ้น โดยการมองวิกฤตการณ์ว่าเป็นการ Disruption ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพื่อเตรียมพร้อม จัดการ และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เข้ามาในการแข่งขันกับผู้อื่น มากกว่าการหันไปป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งหากมองเห็นภาพรวมได้กว้างขึ้นแล้ว จะทำให้องค์กรสามารถตัดสินใจเชิงรุกและมุ่งเน้นไปที่วิกฤตในอนาคต ซึ่งจะทำให้องค์กรเติบโตและมีแผนรองรับหลังผ่านวิกฤตนั้นต่อไปได้ เช่น การพัฒนาระบบให้มีความยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองโลกที่ไม่แน่นอน หรือการพัฒนาคนในองค์กรให้มี Resilient Mindset
ตัวอย่างเช่น Apple ที่ยังคงสามารถเดินต่อไปได้ แม้ Steve Jobs จะเสียชีวิตลงแล้ว เนื่องจากเขามีการวางกลยุทธ์การเรียนรู้ขององค์กรไว้ และนำสิ่งนั้นมาต่อยอด พร้อมพัฒนาเป็นสิ่งใหม่ ๆ ต่อไป ดังนั้น หากองค์กรต่าง ๆ สามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตและเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนในอนาคต ก็จะสามารถไปต่อได้ เหมือนอย่างที่ Apple เคยผ่านช่วงวิกฤตมา
ต่อมาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เพราะการมองแค่ผลลัพธ์ระยะสั้นโดยไม่สนใจว่าวัฒนธรรมองค์กรจะเป็นอย่างไรเป็นเรื่องยากที่จะทำให้องค์กรไปถึงจุดที่มี Resilience ได้ ผู้นำจะต้องเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการเป็นแกนนำในเรื่อง Resilience และสอนให้พนักงานเรียนรู้จากวิกฤตที่เผชิญอย่างกระตือรือร้น จากการสำรวจโดย BCG พบว่า 95% ของคนในองค์กรมีความเห็นว่า การเรียนรู้และการพัฒนาเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก หากบริษัทต่าง ๆ ลงทุนในพนักงาน จะทำให้พนักงานในบริษัทนั้น ๆ มีขวัญกำลังใจและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวจากความล้มเหลวได้ด้วย Carol Dweck ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก็ชี้ให้เห็นว่า บุคคลใดที่มี Growth Mindset บุคคลนั้นย่อมมองความล้มเหลวเป็นแรงจูงใจเชิงบวก และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าผู้อื่น
เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมให้พนักงานมี Growth Mindset องค์กรควรลงทุนในโครงการพัฒนาให้เหมาะสม และต้องสนับสนุนการให้คำปรึกษา ตัวอย่างเช่น ‘Talent Marketplace’ ของนาซ่า เป็นโครงการที่สร้างขึ้นมาเพื่อจูงใจให้พนักงานเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านการเปลี่ยนย้ายตำแหน่งภายในองค์กร และผู้จัดการสามารถจับผู้มีความสามารถเข้ากับงานต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น โดยพนักงาน Talent Marketplace จะสามารถเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาอาชีพได้ทั่วทั้งนาซ่า เรียกได้ว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี สร้างการมีส่วนร่วม และสร้าง Resilience ให้กับพนักงานทั่วทั้งองค์กร
แล้วเราจะสร้างให้องค์กร Resilience ได้อย่างไร?
- ผู้นำองค์กร: ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด สิ่งที่จะทำให้องค์กรเดินหน้าก้าวผ่านทุกความเปลี่ยนแปลงได้ ก็คือผู้นำ ที่จะต้องเริ่มต้นสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมให้กับทั้งองค์กร เข้าใจถึงปัญหาและวิกฤติไปพร้อมกัน พร้อมต้องคิดริเริ่มสิ่งใหม่ มองเห็นโอกาสก่อนคนอื่น
- คนในองค์กร: เมื่อผู้นำพร้อม ก็ต้องสร้างทีมให้พร้อม คนในองค์กรต้องเตรียมพร้อมรับกับทุกความเปลี่ยนแปลง มี Mindset ที่ไม่ยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ กล้าที่จะร่วมเดินทางทำสิ่งใหม่ ๆ
- วัฒนธรรมองค์กรต้องแข็งแรง: การจะเป็นองค์กรที่ Resilient เมื่อทั้งองค์กรเข้าใจจุดมุ่งหมาย และปัญหาเดียวกันแล้ว วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง จะช่วยให้ทั้งองค์กรก้าวผ่านวิกฤติไปได้
- ระบบการทำงานที่พร้อม: จากผู้นำ คนในองค์กร มาถึงวัฒนธรรมองค์กร สุดท้ายแล้ว การทำงานด้วยระบบที่พร้อม จะทำให้งานทุกอย่างยืดหยุ่น ราบรื่น พร้อมเผชิญทุกปัญหาไปได้
- การสร้างความยั่งยืน: สุดท้ายเมื่อสร้าง Resilience ให้กับองค์กรได้แล้ว แต่ถ้าสังคมยังคงล้มอยู่กับที่ ธุรกิจก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น สิ่งสุดท้ายที่ผู้นำต้องคำนึงถึงคือ ธุรกิจจะต้องมีบทบาทในประเด็นที่ใหญ่กว่าขอบเขตขององค์กรแบบเดิม ๆ โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนา Resilience ของระบบสังคมที่ธุรกิจต้องพึ่งพา เสริมสร้างโครงสร้างทางสังคม เพิ่มประสิทธิภาพทั้งมูลค่าทางสังคมและธุรกิจ รวมถึงจะต้องปรับ Business Model ใหม่ เพื่อความยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ Krungsri SME ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมสนับสนุนการสร้าง Resilience ให้เกิดขึ้นกับองค์กรธุรกิจ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับระบบนิเวศรอบตัว โดยถือเป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์ดูแลลูกค้า SME ผ่าน 3 R ได้แก่ Resilient, Respond และ Rebuild for the Future
- Resilient: มุ่งช่วยให้ธุรกิจลูกค้าฟื้นตัว โดยจะมีการดูแลกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าให้กลับมาฟื้นฟูและเฉิดฉายอีกครั้ง ส่วนกลุ่มลูกค้าที่พร้อมจะเติบโต กรุงศรีก็พร้อมช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ด้วยการสนับสนุนสินเชื่อหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านอื่น ๆ
- Respond: มุ่งตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเป็นที่ปรึกษาและแนะนำโซลูชันที่เหมาะสมให้กับลูกค้า อีกทั้งยังมีการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- Rebuild for the Future: มุ่งช่วยให้ธุรกิจลูกค้าเติบโตในอนาคต ผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การเชื่อมโยงอาเซียน โดยการจับมือกับ MUFG และเครือข่าย เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ, การเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าไว้วางใจ โดยการพัฒนา Ecosystem และการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลและนวัตกรรม
เมื่อมองไปในอนาคตข้างหน้า จะเห็นได้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ ไม่ใช่เพียงวิกฤตสุดท้ายที่เราต้องเผชิญ แต่สิ่งสำคัญคือองค์กรต่าง ๆ จะต้องมีความสามารถในการปรับตัวและรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคตที่จะมาถึง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวิกฤตครั้งต่อไป ด้วยการปรับและพัฒนาองค์กรให้เป็น Resilient Organization และ Krungsri SME เองก็พร้อมอยู่เคียงข้างทุกการก้าวผ่าน ให้ทุกอย่างเป็นไปได้
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ Resilience ได้ที่เอกสารอ้างอิง