Krungsri E-Payment


ดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างมั่นใจ ... เลือกใช้บริการชำระเงิน Krungsri e-Payment

Krungsri e-Payment
เป็นบริการรับชำระเงินที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ที่ดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ผ่านทางอินเทอร์เน็ต บริการนี้ช่วยให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถเลือกซื้อสินค้า/บริการและชำระเงินได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ทุกที่ทุกเวลาตามต้องการ ด้วยความมั่นใจจากระบบความปลอดภัยระดับสากล เป็นอีกระดับของบริการที่ช่วยให้การบริหารการขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รายละเอียด
  • บริการรับชำระเงินค่าสินค้า/บริการบนเว็บไซต์ของร้านค้าออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ผู้ซื้อสามารถเลือกวิธีการชำระเงินได้ 2 วิธี ได้แก่
    1. ชำระด้วยการหักบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงศรีฯ (Direct Debit) โดยผู้ซื้อต้องเป็นสมาชิกกรุงศรีออนไลน์ (Krungsri Online : KOL)
    2. ชำระด้วยบัตรเครดิต (Credit Card) ได้แก่ Visa, MasterCard จากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก
  • รองรับ 13 สกุลเงินหลัก ได้แก่ THB, USD, EUR, JPY, GBP, CHF, AUD, HKD, SGD, DKK, NOK, SEK และ CNY
  • อนุมัติรายการสั่งซื้อสินค้า/บริการของผู้ซื้อแบบทันที (Real-Time Authorization) และแจ้งผลการทำรายการสั่งซื้อแก่ผู้ซื้อและร้านค้าทันที (Instant Online Confirmation)
  • ระบบ e-Mail Confirmation เพื่อแจ้งให้ร้านค้าและผู้ซื้อรับทราบถึงผลการทำรายการนั้นๆ
  • รองรับการเชื่อมต่อผ่านเว็บไซต์ของร้านค้าได้หลายภาษาโปรแกรม โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ ที่ระบบของร้านค้า (Easy to Use)
  • ร้านค้าจะได้รับเงินค่าสินค้า/บริการ หลังจากทำการสรุปยอดขายส่งให้แก่ธนาคารในวันทำการถัดไปทันที (Get Paid Fast)
  • รองรับการทำรายการด้วยบัตรที่ลงทะเบียน Verified by Visa (VbV), MasterCard SecureCode (MCSC) และ J/Secure
  • สามารถปรับแต่งรูปแบบของหน้าชำระเงินเพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจ และเข้ากันได้กับ website ของร้านค้า
 
ระบบ Krungsri Payment Manager (Merchant Back Office Admin.) โดยมี feature หลักๆ ดังนี้
  • ค้นหารายการสั่งซื้อ (Order Search)
  • การเรียกเก็บเงิน/การคืนวงเงิน รายการสั่งซื้อ (Settlement/Void) โดยสามารถเรียกเก็บเงินได้แบบบางส่วนหรือเต็มจำนวน (Partial/Full Settlement)
  • รายงานต่างๆ (Reports)
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารผ่านอีเมล์ (Contact Us via e-Mail Service)
  • เปลี่ยนรหัสผ่าน (Change Password)
  • รับทราบข่าวสารและความเคลื่อนไหว (News and Messages)
 
เพราะเข้าใจดีว่า ระบบความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ดังนั้นธนาคารจึงให้ความสำคัญกับการเลือกสรรเทคโนโลยีโดยธนาคารเลือกใช้ระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล
  1. การติดตั้ง Firewall 2 ชั้น
  2. การเข้ารหัสข้อมูล SSL (Secured Socket Layer) ที่ 128 bits ของ Verisign ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด
  3. การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยโดยมีการเข้ารหัสทุกขั้นตอนของการรับส่งข้อมูล (End to End Encryption)
  4. Fraud Protection เป็น feature หลักที่ถูกพัฒนามาเพื่อตรวจสอบและแจ้งถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายใต้การใช้บัตรเครดิตใบนั้นๆ (ช่วยร้านค้าในการตัดสินใจในการเรียกเก็บเงินหรือไม่ เท่านั้น)
  5. Fraud Blocking ร้านค้าสามารถเลือกทำการรับหรือไม่รับรายการที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตของบัตรสูงได้ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกรับบัตรแต่ละประเภทได้อย่างอิสระ
  6. 3D Secure : Verified by Visa (VbV), MasterCard SecureCode (MCSC) และ J/Secure เพื่อเพิ่มความปลอดภัยขั้นสูงสุดในการคุ้มครองผู้ซื้อ และร้านค้าจากการโจรกรรมบัตรหรือการปลอมแปลงเบอร์บัตร
ดังนั้นจึงสามารถเชื่อใจได้ว่า ข้อมูลสำคัญของการทำธุรกรรมของผู้ซื้อ/ร้านค้าจะได้รับการป้องกันอย่างดีที่สุดภายใต้ระบบ Krungsri e-Payment
 
  1. ผู้ซื้อเข้ามาที่เว็บไซต์ร้านค้าและเลือกซื้อสินค้า/บริการตามที่ต้องการ
  2. ผู้ซื้อสินค้า/บริการ สามารถชำระเงินบนเว็บไซต์ของร้านค้าผ่าน Krungsri e-Payment ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถเลือกวิธีการชำระเงินได้ 2 วิธี คือ
(1) Direct Debit: หักบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงศรีฯ ของผู้ซื้อที่เป็นสมาชิกกรุงศรีออนไลน์ (กรอก User ID & Password ของกรุงศรีออนไลน์)
(2) Credit Card: หักบัญชีบัตรเครดิต Visa, MasterCard จากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก (กรอกข้อมูลบัตรเครดิต)
  1. ร้านค้าส่งรายการสั่งซื้อและยอดชำระเงินมายังระบบ Krungsri e-Payment เพื่อทำการส่งข้อมูลคำสั่งซื้อไปยังธนาคาร
  2. ธนาคารจะพิจารณาอนุมัติรายการสั่งซื้อสินค้า/บริการและวงเงินของผู้ซื้อแบบทันที (Real-Time Authorization) และแจ้งผลการทำรายการแก่ผู้ซื้อและร้านค้าทันที (Instant Online Confirmation และ e-Mail Confirmation) ผ่านระบบ Krungsri e-Payment
  3. ผู้ซื้อสินค้า/บริการจะเห็นหน้าจอแสดงผลการทำรายการจากเว็บไซต์ร้านค้า
  4. เมื่อร้านค้ายืนยันการจัดส่งสินค้ากับผู้ซื้อสินค้าแล้ว สามารถดำเนินการตรวจสอบรายการ (Transaction Log) สรุปยอดขาย (Settlement) และเรียกดู/จัดพิมพ์รายการต่างๆ (Reporting) ได้จากระบบ BAY Payment Manager ได้ตลอด 24ชม. ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Real-Time Sales Tracking with Online System
  5. ร้านค้าจะได้รับเงินค่าสินค้า/บริการ หลังจากทำการสรุปยอดขายส่งให้แก่ธนาคารในวันทำการถัดไปทันที (Get Paid Fast)
 
  1. เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ทุกสาขา เพื่อใช้เป็นบัญชีรับเงินของร้านค้า
  2. กรอกแบบฟอร์มใบสมัครของธนาคาร โดยสามารถ Download ได้จากเว็บไซต์ธนาคาร
  3. นำส่งแบบฟอร์มใบสมัคร พร้อมแนบเอกสารประกอบ แก่สาขาเจ้าของบัญชี
  4. ธนาคารอนุมัติการสมัครบริการฯให้บริษัท/ร้านค้า
  5. บริษัท/ร้านค้าลงนามทำสัญญาเพื่อขอใช้บริการ Krungsri e-Payment ของธนาคาร
  6. ธนาคารติดต่อบริษัท/ร้านค้าเพื่อร่วมทดสอบระบบ Krungsri e-Payment โดยร้านค้าสามารถทดลองใช้งานระบบ Krungsri Payment Manager เพื่อเรียกดูรายการและรายงานประเภทต่างๆ
  7. บริษัท/ร้านค้าแจ้งธนาคารถึงกำหนดพร้อมเปิดใช้บริการ
  8. เมื่อทดสอบแล้วเสร็จ ธนาคารนำส่ง Merchant ID ชุดใช้งานจริงและ User ID & Password ในการเข้าสู่ระบบ Krungsri Payment Manager ให้แก่บริษัท/ร้านค้า
  9. ระบบ Krungsri e-Payment พร้อมให้บริการ
ระยะเวลาทั้งสิ้นนับตั้งแต่ธนาคารได้รับเอกสารจากบริษัท/ร้านค้า จนกระทั่งพร้อมให้บริการได้อยู่ที่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความครบถ้วนของเอกสารทั้งหมดที่บริษัท/ร้านค้ายื่นต่อธนาคาร และความพร้อมทางด้านเทคนิคของร้านค้า/บริษัทในการเชื่อมต่อระบบ
 
  1. ร้านค้าผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  2. เป็นร้านค้าประเภทนิติบุคคล ที่ได้ทำการจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ปี และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีไม่ครบ 1 ปี ต้องมีทุนจดทะเบียน และเรียกชำระไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท)
  3. ธุรกิจที่ร้านค้าประกอบต้องเป็นการขายสินค้า/บริการที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
    ตัวอย่างประเภทธุรกิจที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม เช่น
    • ธุรกิจขายยาทุกประเภท ธุรกิจขายบุหรี่ ยาเส้น สารเสพติดทุกชนิด
    • ธุรกิจขายสินค้าอบายมุข สื่อลามก อนาจาร ธุรกิจการจัดหาคู่
    • ธุรกิจ Time Sharing Business ธุรกิจ Cyber Mall
    • ธุรกิจขายอาวุธ ธุรกิจการพนัน เป็นต้น
  4. มีสถานที่ประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย และมีความน่าเชื่อถือ
  5. ผู้ถือหุ้นต้องมีประวัติการเงินที่ดี
  6. ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการชำระเงิน ร้านค้ายินยอมให้ธนาคารดำเนินการตัดเงินในบัญชีร้านค้าได้ โดยธนาคารจะแจ้งให้ร้านค้าทราบล่วงหน้า
  7. ร้านค้าจะต้องมีเงินค้ำประกันกับธนาคาร โดยเงินประกันดังกล่าวจะได้รับคืนหลังจากยกเลิกสัญญากับธนาคารไม่น้อยกว่า 6 เดือน
 
  1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม (อายุ 20 ปีขึ้นไป) และหากเป็นชาวต่างชาติ แสดงสำเนาหนังสือเดินทางและ work permit
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนาม
  3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด พร้อมวัตถุประสงค์ต้องจดทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป (อายุไม่เกิน 30 วัน)
  4. สำเนาหนังสือรับรองตราประทับบริษัทฯ (บอจ.3)
  5. สำเนาสัดส่วนผู้ถือหุ้น (บอจ.5) กรณีที่กรรมการถือหุ้นเกิน 20% ให้แนบสำเนาบัตรประชาชน
  6. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
  7. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ID) (ภพ.20)
  8. ผลประกอบการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  9. สำเนาหนังสือทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามี)
  10. แผนที่และรูปถ่ายที่ตั้งสถานประกอบการ
  11. เอกสารแสดงสถานการณ์ครอบครองสถานที่ประกอบการหรือสัญญาเช่า
  12. พิมพ์ตัวอย่างโฮมเพจของร้านค้า (หน้าแรกของเว็บไซต์)
  13. อากรแสตมป์ 30 บาท
  14. กรณีที่เป็นธุรกิจ Travel Agent ที่จัดนำเที่ยว จะต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งออกโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
  15. กรณีเป็นธุรกิจที่มีลิขสิทธิ์ ต้องมีเอกสารแสดงความป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
หมายเหตุ
  1. เอกสารทุกแผ่นต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องพร้อมประทับตรา
  2. ธนาคารขอสงวนสิทธิ์สำหรับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
 
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า: 4,000 บาท/Merchant ID
  • ค่าธรรมเนียมรายปี: 2,000 บาท/Merchant ID (ยกเว้นกรณีมีรายการที่สรุปยอดขายแล้ว เกินกว่า 20 รายการต่อปี)
  • ค่าธรรมเนียมต่อรายการการทำธุรกรรม:
    • ชำระด้วยบัตรเครดิต Visa, MasterCard  3-5% ของมูลค่าขาย
    • ชำระโดยวิธีการหักบัญชีเงินฝาก: รายการละ 20 - 100 บาททั่วประเทศ (โดยร้านค้าหรือผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียม)
  • ร้านค้าจะต้องมีวงเงินประกันขั้นต่ำที่ต้องฝากไว้ในบัญชีของกิจการที่เปิดไว้อยู่กับธนาคาร (ขั้นต่ำ 200,000 บาท) ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ของร้านค้า อาทิ ประเภทธุรกิจ ลักษณะสินค้า ราคา และระยะเวลาดำเนินกิจการ เป็นต้น (ทั้งนี้การกำหนดวงเงินดังกล่าวขึ้นอยู่กับธนาคารจะเห็นสมควร)
 
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา