การกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 ของโดนัลด์ ทรัมป์ และการกลับมาใช้นโยบาย "Make America Great Again" (MAGA) เป็นที่จับตามองอย่างมากในแวดวงเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะความเสี่ยงการเกิดสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ จีน – สหรัฐฯ สงครามเทคโนโลยี (เทค วอร์) ที่ทวีความรุนแรงขึ้น นโยบายเศรษฐกิจและการเมืองของเขาจะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดการเงินอย่างไร และโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงน่าสนใจอยู่หรือไม่? บทความนี้จะพาคุณไปหาคำตอบ
นโยบาย MAGA ผลักดันโลกเข้าสู่สงครามการค้าที่รุนแรงขึ้นได้อย่างไร?
ทรัมป์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการฟื้นฟูอุตสาหกรรมภายในประเทศผ่านนโยบาย Make America Great Again (MAGA) ซึ่งเน้นการดึงดูดการผลิตกลับมาสู่สหรัฐฯ การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยลดกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายลดการพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะจีน โดยทรัมป์ออกมาประกาศแล้วว่าจะเรียก
เก็บภาษีนำเข้า 25% จากแคนาดาและเม็กซิโก และจะเก็บภาษีจากจีนเพิ่มอีก 10% เมื่อเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2568 โดยประเด็นที่น่าลงทุนต้องจับตามอง คือ
- การลดภาษีนิติบุคคล เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ และขยายการลงทุนในประเทศ การลดภาษีจะทำให้กำไรสุทธิของบริษัทในตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และทำให้มีโอกาสที่ราคาหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น
- การผลักดันโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่อาจเพิ่มโอกาสในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและวัตถุดิบ เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง และกลุ่มพลังงานในประเทศ
- การสนับสนุนเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ และการลงทุนในกลุ่มความมั่นคง เช่น การวิจัยและพัฒนาด้านอาวุธ เทคโนโลยีไซเบอร์ ตลอดจนระบบป้องกันภัยไซเบอร์ขั้นสูง ส่งผลดีต่อบริษัทในกลุ่ม Defense & Aerospace ให้มีบทบาทในการผลิตเทคโนโลยีระดับสูง
การประกาศสงครามการค้าของทรัมป์ ยังรวมถึงการประกาศที่จะขึ้นภาษี 100% สำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศ BRICS 9 ประเทศ หากมีการสนับสนุนสกุลเงินอื่นใดเพื่อทดแทนดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ความตึงเครียดขยายวงกว้างมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก
ส่องผลกระทบตลาดเงิน – ตลาดทุนในระยะสั้น
สงครามการค้าที่คาดว่าจะทวีความตึงเครียดขึ้นจากนโยบายของทรัมป์ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของโลกให้มีความผันผวน รวมถึงตลาดเงิน ตลาดทุน โดยตลาดประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัว แต่ยังคงมีเสถียรภาพ และจากนโยบายที่ยังไม่แน่นอนของทรัมป์ อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นในระยะถัดไป ขณะที่การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ จะช่วยลดผลกระทบของราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นจากผลของมาตรการภาษี ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยแท้จริง (real interest rate) ที่ยังอยู่ในระดับสูงจะเป็นปัจจัยที่เปิดทางให้เฟดยังสามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อได้ ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดเงิน ตลาดทุน ดังนี้
- ตลาดหุ้น มีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนในระยะสั้น เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
- ค่าเงินดอลลาร์ การลดดอกเบี้ยอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวในช่วงแรก ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนย้ายเงินทุนไปยังตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) แต่การดึงดูดการลงทุนอาจสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดสหรัฐฯ ในระยะยาว
- พันธบัตรรัฐบาล การขยายตัวของหนี้สาธารณะจากโครงการลงทุนต่าง ๆ อาจเพิ่มผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ
แนะกลยุทธ์ลงทุนในสินทรัพย์เมกะเทรนด์ของโลก
สำหรับแนวโน้มและกลยุทธ์การลงทุนเมื่อพิจารณาผลกระทบจากนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์
ในระยะสั้น นักลงทุนอาจเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เช่น พันธบัตร หรือหุ้นในกลุ่มที่มีความมั่นคงสูง (defensive sectors) เช่น สาธารณูปโภค หรือสินค้าอุปโภคบริโภค
ในระยะยาว ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีศักยภาพในการเติบโต โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลก ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี สุขภาพ และพลังงาน หากนักลงทุนสามารถรับมือกับความผันผวนได้
- กลุ่มเทคโนโลยี แม้จะเผชิญแรงกดดันทางกฎหมาย แต่ยังมีโอกาสเติบโตจากการผลักดันนวัตกรรมใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์
- พลังงานสะอาด แม้จะไม่ใช่จุดเด่นในนโยบาย MAGA แต่แรงกดดันจากตลาดโลกอาจผลักดันให้มีการลงทุนในพลังงานสะอาด เช่น แบตเตอรี่พลังงานและเทคโนโลยีลดคาร์บอน
- สุขภาพ รองรับความต้องการบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ
หลังการชนะเลือกตั้งของทรัมป์ ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ ทั้ง Dow Jones Nasdaq และ S&P 500 มีการพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากนโยบายของทรัมป์สนับสนุนตลาดหุ้นโดยรวม
ธนาคารกรุงศรี แนะนำลงทุนใน
กองทุน KFNDQRMF และกองทุน KFUSINDFXRMF ที่คาดว่าจะได้รับผลดีจากนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ เช่น การลดภาษีสำหรับบริษัทเทคโนโลยี การลดกฎระเบียบภาครัฐ และการสนับสนุนการลงทุนในนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทใน NASDAQ และส่งเสริมการเติบโตของภาคเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระยะยาว
- กองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นดีคิวอินเด็กซ์เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFNDQRMF) เน้นลงทุนผ่านกองทุนหลัก Invesco NASDAQ 100 ETF มุ่งสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี NASDAQ-100 ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีจุดเด่นที่
- กองทุนหลักใช้กลยุทธ์การลงทุนที่มีเป้าหมายให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี ซึ่งมีศักยภาพการสร้างผลตอบแทนที่ดี จากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง บรรยากาศการลงทุนในเชิงบวกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้หลายบริษัทในพอร์ตเป็นดาวรุ่งแห่งทศวรรษ
- ตัวอย่างหุ้นที่ลงทุนในกลุ่ม Magnificent 7 ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, Meta, Microsoft, Nvidia ที่มีกำไรต่อหุ้น (EPS) เติบโตต่อเนื่อง (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ต.ค. 2567)
- กองทุนเปิดกรุงศรียูเอสอิควิตี้อินเด็กซ์เอฟเอ็กซ์เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFUSINDFXRMF) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนมืออาชีพของ BlackRock Fund Advisors บริษัทจัดการกองทุนชั้นนำระดับโลก กองทุนมีจุดเด่นที่
- โอกาสลงทุนที่เข้าถึงบริษัท 500 อันดับแรกของสหรัฐฯ ได้ในกองทุนเดียว รับผลตอบแทนที่ใกล้เคียงดัชนี S&P 500 ผ่านกองทุนหลัก เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 Index
- เริ่มต้นลงทุนขั้นต่ำเพียงแค่ 500 บาท และสามารถกระจายความเสี่ยงได้มากกว่าการลงทุนในหุ้นรายตัว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคที่นโยบายของทรัมป์ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนในด้านนโยบายระหว่างประเทศและความผันผวนของตลาดอาจทำให้นักลงทุนต้องวางแผนกระจายพอร์ตการลงทุน และใช้กลยุทธ์ที่เน้นความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และการลงทุนจาก KRUNGSRI PRIME ที่พร้อมให้คำปรึกษา และช่วยคุณเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนได้มากขึ้น เพียงโทร 02-296-5959 (จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น.) หรือ
ฝากข้อมูลเพื่อให้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจาก KRUNGSRI PRIME ติดต่อกลับ
ขอรับหนังสือชี้ชวน และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- RMF เป็นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
- KFNDQRMF, KFUSINDFXRMF เป็นกองทุนที่ลงทุนกระจุกตัวในประเทศ หรือกลุ่มประเทศที่กองทุนลงทุน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
- KFNDQRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- KFUSINDFXRMF ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน จึงมีความเสี่ยงสูงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้