โจรปล้น 10 ครั้ง ไม่เท่ากับไฟไหม้แค่ครั้งเดียว ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง ๆ นี้ เริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล โดยเฉพาะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว เหตุการณ์เหล่านี้ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นยากจะฟื้นฟูในทันที การเตรียมความพร้อมเพื่อปกป้องทรัพย์สินจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา และทำให้เรากลับมายืนได้ในช่วงเวลาวิกฤต
ตัวอย่างเช่น อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยในปีนี้ ถือว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 80 ปี นับเป็นภัยพิบัติที่มีความรุนแรงเป็นอันดับ 3 ของไทย รองจากน้ำท่วมปี 2554 และคลื่นยักษ์สึนามิถล่มอันดามันในปี 2547 จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นพบว่ามีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 30,000 ล้านบาท ไม่นับรวมผู้เสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมาก
‘โลกร้อน’ ไทยเสี่ยงภัยพิบัติรุนแรง
ภาวะโลกร้อนส่งผลรุนแรงมากกว่าที่คิด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกเผชิญกับภัยพิบัติที่รุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง มากขึ้นอย่างน่าตกใจ น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในในปีนี้ ทั้งพื้นที่ภาคเหนือและใต้ เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มมากขึ้นเพราะอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน เป็นสาเหตุของการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงและบ่อยครั้ง โดยส่งผลกระทบใน 6 ด้านหลัก ได้แก่
- ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ ทั้งวิกฤตการณ์น้ำแล้ง และน้ำท่วม
- การลดลงของผลผลิตในภาคการเกษตร
- ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายตัวของธารน้ำแข็ง ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่ง ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
- การแพร่กระจายของโรคและปัญหาสุขภาพที่มากขึ้น เช่น โรคไข้เลือดออก ที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการเจ็บป่วยแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งปัญหาด้านระบบสุขภาพที่อาจจะไม่สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที
- ความเสียหายต่อเศรษฐกิจในภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง
- ทรัพยากรธรรมชาติเสียหายมากขึ้น เช่น ปะการังฟอกขาว
ภัยพิบัติสร้างความเสียหายมากกว่าที่คิด
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และพายุที่รุนแรงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในหลายมิติ
- ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เช่น ความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนนและระบบขนส่งมีปัญหา อาคารบ้านเรือนเสียหาย ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการซ่อมแซมและฟื้นฟู สร้างความเสียหายพื้นที่ทางการเกษตร ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง ผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของไทย
- ผลกระทบด้านสังคม อุณหภูมิที่สูงขึ้นและมลพิษจากภัยพิบัติทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับความร้อน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และผู้มีรายได้น้อยที่มีความเปราะบางทางสุขภาพ สูญเสียทรัพย์สินหรือบุคคลในครอบครัว ส่งผลต่อสุขภาพจิตและความเครียดในประชากร
การป้องกันความเสี่ยงช่วยผ่อนหนักเป็นเบา
ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่าภัยพิบัติจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้คือการ ‘เตรียมพร้อม’ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การป้องกันความเสี่ยงจึงเปรียบเสมือนเกราะคุ้มกันที่ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา นำไปสู่การฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การทำประกันภัยถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ช่วยลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างที่อยู่อาศัย รวมถึงช่วยลดกระทบจากการขาดรายได้และการหยุดงาน อันเป็นผลจากการเกิดภัยพิบัติที่ไม่คาดคิดขึ้นได้เช่นกัน
ปกป้องทรัพย์สินจากหายนะด้วยประกันภัยภิบัติ
หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องทรัพย์สินจากภัยพิบัติต่าง ๆ คือ การทำประกันภัยพิบัติ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ประกันภัยพิบัติให้ความคุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เกิดจากน้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว ไฟไหม้ หรือภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประกันภัยพิบัติให้ความคุ้มครองครอบคลุม
- ความเสียหายจากทรัพย์สิน คุ้มครองบ้าน อาคาร และทรัพย์สินทางธุรกิจที่ได้รับความเสียหาย
- ค่าเช่าชั่วคราว คุ้มครองกรณีที่บ้านพักได้รับความเสียหายจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ และต้องเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราวระหว่างการซ่อม
- ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านหรืออาคารที่ได้รับความเสียหาย
เงื่อนไขที่ควรพิจารณาในการทำประกันภัยพิบัติ
- เงื่อนไขการคุ้มครอง ควรตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขการคุ้มครองให้ดี เช่น ครอบคลุมทุกประเภทของภัยพิบัติหรือไม่ หรือมีข้อจำกัดที่อาจจะทำให้การเคลมเป็นไปได้ยาก เช่น ครอบคลุมเฉพาะที่อยู่อาศัย รวมทรัพย์สินด้วยหรือไม่ เป็นต้น
- ความคุ้มครองและเบี้ยประกัน ต้องคำนึงถึงค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เราต้องการคุ้มครอง และสามารถจ่ายได้ในระยะยาว เช่น ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเป็นประจำ เราต้องคำนึงถึงเบี้ยประกันภัยที่จะครอบคลุมมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่เราต้องการคุ้มครองควรได้รับการประเมินมูลค่าอย่างถูกต้อง เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น ความรุนแรงของภัยพิบัติอาจส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินมากกว่าที่คิด การประเมินมูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่าความเป็นจริง อาจทำให้ผู้ทำประกันได้รับค่าชดเชยน้อยกว่าความเป็นจริง
เมื่อเกิดความเสียหายแบบไม่ทันตั้งตัว
ประกันทรัพย์สินอุ่นใจ จะช่วยดูแลความเสียหายเบื้องต้น โดย
- สมัครง่ายไม่ต้องสำรวจทรัพย์สิน
- คุ้มครองสูงสุดถึง 10,000,000 บาท
- คุ้มครองครอบคลุม บ้าน และธุรกิจ
ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ แต่เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและป้องกันความเสี่ยงได้ การเลือกกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมและคุ้มค่า จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เราจะสามารถกลับมายืนหยัดและฟื้นฟูชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดความเสียหายแบบไม่ทันตั้งตัว ให้กรุงศรีดูแลความเสียหายแทนคุณด้วยประกันทรัพย์สินอุ่นใจ ซื้อง่าย ไม่ต้องสำรวจทรัพย์สินคุ้มครองสูงสุด 10,000,000 บาท หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก KRUNGSRI PRIME ที่ให้บริการวางแผนการเงินครบวงจร เพียง
ฝากข้อมูลเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก KRUNGSRI PRIME ติดต่อกลับ หรือโทร 02-296-5959 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น.