เงินเฟ้อคืออะไร มีผลกระทบด้านใดบ้าง พร้อมวิธีรับมือเงินเฟ้อแบบมืออาชีพ

โดย สิรภัทร เกาฏีระ CFP® นักวางแผนการเงิน
25 กรกฎาคม 2566
เงินเฟ้อคืออะไร
เงินเฟ้อคือสิ่งที่นักลงทุนหลายคนติดตามความเคลื่อนไหว เพราะการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของภาวะนี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งคุณทราบหรือไม่ว่า การเกิดภาวะเงินเฟ้อ หากเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่ในทางกลับกันหากเกิดขึ้นสูงเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อสังคมและสภาพเศรษฐกิจ และสำหรับท่านใดที่ยังไม่เข้าใจว่า สภาวะนี้จะส่งผลกระทบในรูปแบบใดได้บ้าง เราลองมาเพิ่มความเข้าใจและวางแผนการรับมือไปพร้อมกันในบทความนี้
 

ทำความเข้าใจ เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร เพื่อเตรียมรับมืออย่างรู้ทัน

หากกล่าวแบบให้เห็นภาพง่าย ๆ เงินเฟ้อ (Inflation) จะหมายถึงภาวะที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น จนเรารู้สึกได้ว่าแพงไปจากเดิมมาก ยกตัวอย่างง่าย ๆ คุณรู้สึกใช่ไหมว่าเงิน 1,000 บาท ของคุณสามารถซื้อของได้น้อยลงทุกที ทำไมไข่ไก่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรตีนราคาถูกในปี 2530 ที่เราเคยซื้อกันอยู่ในราคาเฉลี่ย 3 ฟอง 5 บาท แต่ในปัจจุบันเราซื้อไข่ไก่เฉลี่ยฟองละ 3-5 บาท และในอนาคตเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า ราคาจะขึ้นไปอยู่ที่เท่าไหร่ เป็นต้น

โดยภาวะนี้มีทฤษฎีอธิบายความหมายตามหลักการว่า เป็นสภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันค่าเงินกลับมีแนวโน้มลดลง จึงเป็นเหตุให้การซื้อสินค้าหรือบริการจำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น แล้วอะไรล่ะที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นและลดลงของภาวะเงินเฟ้อ ไปทำความเข้าใจกันต่อได้เลย
 

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ ที่ทำให้คุณต้องจ่ายเงินเยอะขึ้น สำหรับสินค้าหรือบริการเดิม

กลไกและปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อมีการปรับตัว เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยสามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักลงทุนที่ต้องบริหารความเสี่ยง การติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะเงินเฟ้อ จะช่วยให้คุณสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการลงทุนได้แม่นยำมากขึ้น เราไปเริ่มกันที่ปัจจัยภายในกันก่อน

ปัจจัยภายใน ถือเป็นเรื่องปกติที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเกิดความต้องการซื้อมากขึ้น เช่น ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น, ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้าลดจำนวนลง, ปัญหาด้านค่าแรง และการเปลี่ยนแปลงของภาษี เป็นต้น หรือแม้แต่ปัจจัยด้านบวกในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังไปได้ดี เราก็พบว่าภาวะนี้ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เช่น เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ ทำให้คนจับจ่ายมากขึ้น, เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น กำลังการผลิตก็มากขึ้น, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีการอ่อนค่าลง, ต้นทุนการกู้ยืมมีอัตราดอกเบี้ยลดลง และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐบาล ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น เป็นต้น

ส่วนปัจจัยภายนอกในยุคปัจจุบัน ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อค่าเงินและความเชื่อมั่นของนักลงทุน จนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่
 

1. การขาดแคลนแรงงาน

ในทุก ๆ วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างภาวะสงคราม หรือการเกิดโรคระบาด ย่อมนำมาซึ่งการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตสินค้า เช่น การเกิดโรคระบาดจนทำให้ผู้ประกอบการต้องมีมาตรการในการหมุนเวียนแรงงานเข้าปฏิบัติงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ผลกระทบที่เกิดจึงส่งผลให้ภาคการผลิตมีกำลังลดลง นอกจากนี้ทั้งภาวะสงครามและโรคระบาด ล้วนทำให้ยอดการสั่งซื้อสินค้ามีจำนวนลดลงด้วยเช่นกัน
 

2. การอัดฉีดเงินของรัฐบาล

เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และเริ่มมีแนวโน้มว่าจะทำให้เศรษฐกิจเกิดความเสียหาย ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น รัฐบาลจะนำเงินเข้ามาอัดฉีดและกระตุ้นเศรษฐกิจทันที เพื่อเป็นการพยุงเศรษฐกิจในระหว่างที่รัฐบาลกำลังหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และด้วยเม็ดเงินมหาศาลที่ทุ่มลงไปในเศรษฐกิจ ในขณะที่ประชาชนยังไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปัญหาความล่าช้าจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้น
 

3. ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น

เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิต และการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก ทั้งราคาน้ำมันดิบ และราคาก๊าซธรรมชาติที่ต่างพากันขึ้นราคา อย่างในกรณีล่าสุด คือ เมื่อเกิดการคว่ำบาตรประเทศรัสเซีย เนื่องจากการทำสงครามกับประเทศยูเครน ประเทศจากรัสเซียจึงเลือกที่จะตอบโต้การคว่ำบาตรด้วยการเพิ่มราคาน้ำมันดิบ ซึ่งรัสเซียอยู่ในฐานะของผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก ราคาพลังงานทั่วโลกจึงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตมีราคาเพิ่มขึ้น และจากนั้นก็ตามมาด้วยภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก เป็นต้น
 
ผลกระทบจากเงินเฟ้อ


ภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบด้านใดบ้าง

ดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นว่า เงินเฟ้อนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยหากภาวะเงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นแบบอ่อน ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ถึงแม้ราคาสินค้าและบริการจะสูงขึ้น แต่ก็เรียกว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะผู้ประกอบการจะได้กำไรเพิ่มขึ้น สามารถลงทุนในการผลิตได้มากขึ้น บางรายที่มีความเชื่อมั่นในการขยายกิจการก็สามารถจ้างแรงงานได้มากขึ้น ช่วยสร้างอาชีพให้คนมีรายได้ มีเงินกระจายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จึงช่วยให้เกิดการเติบโต

แต่ถ้าการปรับตัวมีสูงมากเกินไป จะเข้าสู่สภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) ราคาสินค้าจะแพงจนคนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ผู้ประกอบการมีกำไรลดลง อัตราการเลิกจ้างแรงงานมีสูงขึ้น และตามมาด้วยการลดขนาดกิจการ หรือเลิกกิจการ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกดังนี้
 

1. ผลตอบแทนการลงทุนลดลง

เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กำไรที่ได้จากการลงทุนลดลง เพราะผลตอบแทนหรือกำไรจากสินทรัพย์ที่ลงทุนจะถูกนำมาหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นผลตอบแทนจากการลงทุนจึงเรียกได้ว่า ส่วนใหญ่จะลดลง และในบางครั้งก็เกิดการติดลบ
 

2. วางแผนเกษียณได้ยาก

หลายคนเลือกวางแผนเกษียณด้วยการออมเงิน แต่ภาวะเงินเฟ้อที่สูงจนเกินไป ทำให้การออมเงินอาจจำเป็นต้องเตรียมเงินมากขึ้น บวกกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้จำนวนเงินที่ออมไว้อาจจะไม่เพียงพอ อีกทั้งเมื่อถึงวันที่ต้องเป็นผู้สูงอายุจริง ๆ คนส่วนใหญ่ที่เลือกลงทุนกองทุนรวมก็มีแนวโน้มว่า จะต้องใช้จ่ายเงินเกินจากจำนวนเงินที่มีอยู่ในกองทุนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะใช้เงินมากกว่าการวางแผนเอาไว้
 

3. เกิดภาวการณ์เป็นหนี้มากขึ้น

เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ในขณะที่รายได้ยังเท่าเดิม หรือสำหรับบางคนรายได้ลดลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายของกิจการเพิ่มสูงขึ้น จึงต้องลดค่าจ้าง ลดการทำงานล่วงเวลา และลดขนาดกิจการลง โอกาสที่คนจะเป็นหนี้จึงมากขึ้น เมื่อรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายจึงต้องมีการกู้ยืมเพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินต่าง ๆ เกิดเป็นวงจรที่ไม่รู้จักจบสิ้น
 

ตอนนี้เราอยู่ในภาวะเงินเฟ้อหรือยัง ลองเช็กด้วยตัวเองได้เลย

เราสามารถทราบถึงสภาวะเงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ จากการติดตามข่าวสารเศรษฐกิจอยู่เสมอ จะช่วยให้เราคาดการณ์และวางแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีวิธีการสังเกตสภาพเศรษฐกิจโดยรวมเพื่อใช้เป็นตัวช่วยเสริมด้วย
  • อำนาจในการซื้อสินค้าและบริการลดลง ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น หรือเรียกง่าย ๆ ว่าค่าครองชีพสูงขึ้น จนทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
  • ต้นทุนการผลิตสินค้ามีราคาสูงขึ้น แต่ยอดขายกลับลดลง
  • การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศชะลอตัว สินค้าไม่สามารถส่งออกได้ ทำให้เม็ดเงินในการลงทุนผลิตสินค้าขาดสภาพคล่อง
 
4 วิธีรับมือภาวะเงินเฟ้อแบบฉบับมืออาชีพ
 

4 วิธีรับมือภาวะเงินเฟ้อแบบฉบับมืออาชีพ

เมื่อเราได้ทราบถึงกลไกต่าง ๆ ของภาวะเงินเฟ้อแล้ว เรามาช่วยกันวางแผนรับมือกับภาวะนี้แบบรู้เท่าทันไปด้วยกัน เพราะการวางแผนที่ดีจะช่วยให้เราเท่าทันสถานการณ์ต่าง ๆ และรับมือได้อย่างมีสติ
 

1. วางแผนการลงทุน

การวางแผนการลงทุนเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ และถ้าหากคุณมีตัวช่วยในการลงทุนที่ดี คุณจะมีโอกาสได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนที่มีความคุ้มค่า อีกทั้งยังช่วยให้เงินลงทุนเติบโตขึ้นได้ อย่างการลงทุนกองทุนรวมของธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่มีให้เลือกหลากหลายสินทรัพย์ และหากการลงทุนครั้งนี้คุณมีเป้าหมายเพื่อชนะเงินเฟ้อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น อย่างเช่น กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้-สะสมมูลค่า (KFGBRAND-A)

กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ แบบไม่จ่ายเงินปันผล โดยมีความเสี่ยงสูงอยู่ที่ระดับ 6 และเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund โดยเลือกลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Morgan Stanley investment fund-Global Brands fund (Class Z) เป็นกองทุนหลัก ไม่น้อยกว่า 80 % ของ NAV โดยมีจุดแข็งที่สำคัญคือ เลือกลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำที่ประสบความสำเร็จ และดำเนินกิจการอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก เหมาะกับการลงทุนที่ต้องการเอาชนะภาวะเงินเฟ้อ
 

2. วางแผนการออมเงิน

จริงอยู่ว่าการออมเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร อาจเป็นวิธีที่เราจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อค่อนข้างมาก แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีเงินฝากไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ทั้งสำหรับใช้จ่ายส่วนตัว หรือเป็นทุนสำรองสำหรับธุรกิจ เพราะเงินฝากจะมีสภาพคล่องสูงกว่าการลงทุนในประเภทอื่น ๆ หากเราต้องการออมเงินให้ได้ผลตอบแทนที่พอจะต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ เราต้องนำเงินไปฝากเอาไว้ในที่ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป นั่นคือ บัญชีเงินฝากดิจิทัล ที่มักจะมีการให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ปกติ โดยมีเงื่อนไขจำกัดวงเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงอยู่ด้วย
 

3. วางแผนและควบคุมการใช้จ่ายเงิน

นอกจากการวางแผนการลงทุน และการวางแผนออมเงินแล้ว การลงมือสำรวจรายได้และค่าใช้จ่ายของตัวเอง ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้ได้เห็นภาพสถานะการเงินได้ชัดเจนมากขึ้น คุณจะได้เห็นว่า ต้องสูญเสียเงินให้กับสิ่งของไม่จำเป็นไปเท่าไหร่ในแต่ละเดือน และหากเปลี่ยนสิ่งของเหล่านั้นกลับมาเป็นการลงทุน อาจจะสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มมากขึ้นได้ หรือเพื่อการจัดระบบการเงินที่ชัดเจนในระยะยาว คุณอาจเริ่มต้นทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตัวเองขึ้นมา เพื่อให้ได้เห็นกำไรขาดทุนในแต่ละเดือน จะช่วยให้มีความระมัดระวังในการใช้เงินได้มากขึ้น

และค่าใช้จ่ายอีกประเภทที่คุณสามารถวางแผนเพื่อลดลงได้ คือ การวางแผนค่าลดหย่อนภาษี ผ่านการลงทุนที่คุ้มค่าในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งสามารถช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของรายได้รวม โดยมีกองทุนที่น่าสนใจอย่าง กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF) ซึ่งจะมีรายละเอียดการลงทุนเช่นเดียวกับ กองทุนรวมกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้-สะสมมูลค่า (KFGBRAND-A)

โดยจะแตกต่างกันในเรื่องของการถือครองที่ต้องไปไปตามเงื่อนไขกองทุน RMF คือ ต้องลงทุนติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และลงทุนเพิ่มอย่างน้อยปีเว้นปี และจะสามารถขายหน่วยลงทุนคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น ซึ่งกำไรจากการขายหน่วยลงทุนประเภทนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
 

4. อย่าลืมติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ

ดังที่ได้กล่าวไปว่า ภาวะเงินเฟ้อนั้นสามารถรู้เท่าทันกระแสได้หากหมั่นติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้คุณหูกว้างตาไกลขึ้นแล้ว คุณยังสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับการเกิดเงินเฟ้อในอนาคตได้ และนำไปสู่การวางแผนรับมือล่วงหน้า ซึ่งวิธีการนี้เรียกได้ว่าเป็นการรับมือแบบมืออาชีพอย่างแท้จริง

ภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของเราโดยตรง แต่ถ้าเรารู้เท่าทันสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เราจะสามารถรับมือและปรับตัวกับภาวะนี้ได้ ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ การวางแผนการลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง เพื่อให้เงินที่ลงทุนไปสร้างเป็นผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราเงินเฟ้อกลับมา และสำหรับท่านที่สนใจด้านการลงทุน ธนาคารกรุงศรีมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุน ให้คุณสามารถติดต่อผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 น.-17.00 น. หรือฝากข้อมูล เพื่อให้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจาก KRUNGSRI PRIME ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • RMF เป็นการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
  • กองทุน KFGBRAND, KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
สนใจร่วมเป็นลูกค้า ด้วยการเลือก KRUNGSRI PRIME ต่อยอดเงินให้เติบโต​
KRUNGSRI PRIME ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน และต่อยอดเงินล้านของคุณให้เติบโตสู่ล้านถัดๆไป นอกจากนี้ KRUNGSRI PRIME ยังมอบความพิเศษด้วยสิทธิ์ต่างๆทั้งด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ที่ถูกคัดสรรมาให้แก่ลูกค้าคนพิเศษเช่นคุณ