ส่องโอกาสลงทุนปี 2568 เงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย จากตลาดลงทุนโลกสู่ไทย

โดย สิรภัทร เกาฏีระ CFP® นักวางแผนการเงิน
30 มกราคม 2568
จากเศรษฐกิจโลกสู่เศรษฐกิจไทย โอกาสการลงทุนปี 2025
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2025 ยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากสงครามและนโยบายกีดกันทางการค้าที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิด Inflation-Led Growth Economy ซึ่งหมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนโดยเงินเฟ้อ ที่เป็นความท้าทายของทุกประเทศในการบริหารจัดการเงินเฟ้อในระยะยาว รวมทั้งเป็นโอกาสและความท้าทายใหม่ของนักลงทุนเช่นกัน
 

การต่อสู้ระหว่างเงินเฟ้อ VS เศรษฐกิจถดถอย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ล่าสุดปรับลดคาดการณ์จีดีพีโลกลงจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจในจีนและยูโรโซน รวมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงสำคัญจากนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่มความตึงเครียดให้กับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น แต่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น จากความพยายามของธนาคารกลางสหรัฐที่พยายามต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อตลอด 2 – 3 ปีที่ผ่านมา

ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ธนาคารกลางหลายประเทศสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ค่อนข้างดี โดยไม่ผลักดันเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตาม โลกยังเผชิญกับความเสี่ยงจากหลายปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป ไม่ว่าจะเป็นหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น ราคาอาหารและพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากสภาพภูมิอากาศ สงครามการค้า และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่กำลังก่อตัวทวีความรุนแรงขึ้น
 

Inflation-Led Growth Economy คืออะไร มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร

 
Inflation-Led Growth Economy คืออะไร

Inflation-Led Growth Economy หมายถึงสภาวะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเงินเฟ้อ (Inflation) ซึ่งมักจะเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน หรือความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาด แนวคิดนี้เกิดขึ้นในบริบทของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงินเฟ้อในระยะยาว ปัจจัยที่ทำให้เกิด Inflation-Led Growth Economy มาจาก
  1. การเติบโตของค่าจ้าง เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น อัตราค่าจ้างแรงงานมักจะต้องปรับตัวตาม แต่หากค่าจ้างเพิ่มขึ้นไม่เท่ากับอัตราเงินเฟ้อ ก็อาจทำให้แรงซื้อของผู้บริโภคลดลงในระยะยาว
  2. แรงกดดันจากต้นทุนการผลิต การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน วัตถุดิบ หรือพลังงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งผู้ผลิตมักส่งผ่านต้นทุนเหล่านี้ไปยังผู้บริโภคในรูปของราคาสินค้าที่แพงขึ้น
  3. การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง หลายประเทศ รัฐบาลใช้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง ส่งผลให้ความต้องการในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น และในที่สุดก็ผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น
  4. ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ปัญหาห่วงโซ่อุปทานและการกีดกันทางการค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้อุปทานสินค้าในตลาดไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดเงินเฟ้อและเพิ่มความผันผวนทางเศรษฐกิจในบางภูมิภาค

ประเทศพัฒนาส่วนใหญ่เผชิญกับภาวะ Inflation-Led Growth เช่น สหรัฐอเมริกา นโยบายการคลังเชิงรุกของรัฐบาลและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทำให้เกิดความต้องการสินค้าและบริการที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อ หรือกลุ่มประเทศยุโรป การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานหลังสงครามยูเครนทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้น ส่งผลต่อเงินเฟ้อในระยะยาว
 

โอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการค้าและการลงทุน ท่ามกลางความท้าทายใหม่ ๆ ที่เข้ามา ไม่ว่าความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ และปัญหาเงินเฟ้อที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกหลายประการ เช่น นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนด้านเทคโนโลยี จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้เติบโต โดยวิจัยกรุงศรี คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในอัตรา 2.9% ในปี 2568 เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่คาดว่าจะขยายตัว 2.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้
  1. การใช้จ่ายภาครัฐเร่งตัวขึ้น จากการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2568 มูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ
  2. การท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะแตะระดับ 40 ล้านคน เทียบเท่าช่วงก่อนโควิด-19 เพิ่มขึ้นจาก 35.6 ล้านคนในปี 2567
  3. การลงทุนโดยรวม คาดว่าจะเติบโตในระดับปานกลาง โดยมีแรงหนุนสำคัญจากการเร่งลงทุนของภาครัฐ ส่วนภาคเอกชนคาดว่าจะเติบโตเล็กน้อย จากปัญหาในเชิงโครงสร้างอุตสาหกรรมหลัก
  4. การบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (GDP growth) ท่ามกลางแรงกดดันจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มลดลง
 

ส่องกลยุทธ์การลงทุนรับแนวโน้มเงินเฟ้อพุ่ง

การลงทุนในเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเงินเฟ้อ (Inflation-Led Growth Economy) จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ การลงทุนในลักษณะนี้ควรคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของเงินเฟ้อและโอกาสที่เกี่ยวข้อง โดยมีการลงทุนที่น่าสนใจ ดังนี้
  1. การลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่สามารถส่งผ่านต้นทุน (Cost Pass-Through) เลือกลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ เช่น สินค้าอุปโภค-บริโภค พลังงานและวัตถุดิบ และสินค้าแบรนด์พรีเมียม ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้น
  2. การลงทุนในสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับเงินเฟ้อ เช่น อสังหาริมทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ และหุ้นที่มีการป้องกันเงินเฟ้อ อย่างพันธบัตรรัฐบาลที่มีผลตอบแทนปรับตามอัตราเงินเฟ้อ
  3. การกระจายการลงทุนในตลาดต่างประเทศ ตลาดที่มีการเติบโตสูง เช่น อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเสนอโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าประเทศที่มีปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง
  4. การลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโต เช่น หุ้นในกลุ่มที่สามารถขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เช่น เทคโนโลยี การเงิน และสินค้าเพื่อสุขภาพ มีศักยภาพที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดี แม้ในช่วงเงินเฟ้อ

กลยุทธ์การลงทุนในช่วง Inflation-Led Growth Economy ต้องมีความยืดหยุ่นและคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว กรุงศรีขอแนะนำโอกาสการลงทุนเพื่อต่อสู้ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังผันผวน ด้วย กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ (KFGBRAND)
ทางเลือกการลงทุนที่ตอบโจทย์ความทนทานในทุกสภาวะตลาด โดยมีจุดเด่นสำคัญ คือ
  • ลงทุนในบริษัทที่มีรายได้สม่ำเสมอ เป็นแบรนด์สินค้าที่มี Brand Loyalty สูง ซึ่งลูกค้าเชื่อมั่นและใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบรนด์เหล่านี้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันและมีอำนาจในการตั้งราคาได้สูง ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค กลุ่มสุขภาพ และเทคโนโลยี
  • กองทุนหลักเน้นคัดเลือกหุ้นที่มีคุณภาพ และมีความสามารถในการทำกำไรสูง สามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในช่วงตลาดขาขึ้น และปกป้องความเสี่ยงของเงินลงทุนในช่วงตลาดขาลง โดยหลักทรัพย์ที่ลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก คือบริษัทระดับโลกที่มีแบรนด์แข็งแกร่ง มีแหล่งรายได้หลากหลาย นำโดย Microsoft, PMI, Reckitt Benckiser, SAP, Visa เป็นต้น

เศรษฐกิจโลกในปี 2025 ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากภาวะเงินเฟ้อที่อาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อทั่วโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจก่อให้เกิดความผันผวน และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรง KRUNGSRI PRIME พร้อมเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของคุณในการวางแผนการลงทุนและจัดการสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป้าหมายในอนาคต ด้วยบริการที่ครอบคลุม เพียงโทร 02-296-5959 (จันทร์ - ศุกร์ 9.00 - 17.00 น.) หรือฝากข้อมูลให้ติดต่อกลับ

ขอรับหนังสือชี้ชวน และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • KFGBRAND ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
สนใจร่วมเป็นลูกค้า ด้วยการเลือก KRUNGSRI PRIME ต่อยอดเงินให้เติบโต​
KRUNGSRI PRIME ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน และต่อยอดเงินล้านของคุณให้เติบโตสู่ล้านถัดๆไป นอกจากนี้ KRUNGSRI PRIME ยังมอบความพิเศษด้วยสิทธิ์ต่างๆทั้งด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ที่ถูกคัดสรรมาให้แก่ลูกค้าคนพิเศษเช่นคุณ