สร้าง Passive income ด้วยธุรกิจแฟรนไชส์และกองทุนรวม

โดย สิรภัทร เกาฏีระ CFP® นักวางแผนการเงิน
20 ตุลาคม 2565
สร้าง Passive income ด้วยธุรกิจแฟรนไชส์และกองทุนรวม
คำว่า “Passive income” ในปัจจุบันอาจจะเป็นคำที่คุ้นหูแต่หากย้อนไปช่วงก่อนปี 63 อาจจะเป็นคำศัพท์เฉพาะที่อาจได้ยินกันในข่าวเศรษฐกิจหรือเฉพาะกลุ่มบุคคลที่สนใจด้านการลงทุนเท่านั้น แต่การเกิดวิกฤติโควิด 19 ที่เริ่มปรากฎบนโลกของเราในเดือนธันวาคม ปี 2562 เรียกได้ว่าเป็นโรคระบาด ที่นอกจากจะส่งผลต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์แล้ว ยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปของมนุษย์ เมืองที่ถูกล็อกดาวน์ กิจการห้างร้านที่ได้รับผลกระทบทยอยปิดตัว การ Work from home การประชุมบนโลกออนไลน์ การขอปรับลดเงินเดือน รวมถึงการเลิกจ้าง ผู้คนตกงานปราศจากรายได้ที่เข้ามาจุนเจือครอบครัว ล้วนแต่วิ่งหาช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่ยังคงทำงานประจำก็มองหาอาชีพที่ 2 ที่ 3 ดังนั้นเราควรจะสร้าง Passive income ให้กับตัวเอง เพื่อความมั่นคงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
 

Passive Income คืออะไร?

ก่อนที่เราจะไปเริ่ม Passive income เราต้องรู้ก่อนว่ารูปแบบรายได้หลักของเรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ
  • Active Income

    รายได้ที่เกิดจากการทำงาน การลงแรง เสียเวลาเพื่อให้ได้รายได้ในส่วนนี้มา ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน หรือรายได้จากธุรกิจส่วนตัว หากเราหยุดการทำงานในส่วนนี้ไปรายได้ในส่วนนี้ก็จะหายไปด้วย
     
  • Passive Income

    รายได้ที่เกิดจากการลงทุนในช่วงแรกและเราสามารถหารายได้จากการลงทุนส่วนนี้ไปได้เรื่อย ๆ โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาหรือทำอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว เช่น การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม เพื่อกินเงินปันผล เงินค่าเช่าจากการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เรามี หรือการลงทุนในแฟรนไชส์ต่าง ๆ ถ้าให้เห็นภาพได้ง่าย ๆ เปรียบเสมือนการใช้เงินทุนที่เรามีไปทำงานแทน เพื่อให้เกิดรายได้ที่งอกเงย แต่ในทางกลับกันถ้าคุณอยากได้รายได้ในส่วนนี้มากความเสี่ยงก็จะมากตามมาด้วยเช่นกัน
 

อยากมี Passive Income ต้องทำอย่างไร?

ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่ารายได้ทางที่ 2 นั้นจำเป็นมากในยุคสมัยนี้ การที่มีรายได้โดยที่เราลงทุนลงแรงเพียงครั้งเดียวจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ “การลงทุน” ในลักษณะนี้ก็มีความเสี่ยงคือหากคุณไม่มีความรู้ความเข้าใจที่มากพอ นอกจากจะไม่สร้างรายได้ให้กับคุณแล้วอาจทำให้เงินต้นของคุณสูญเปล่าได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะลงทุนในหุ้น กองทุนรวม หรือธุรกิจแฟรนไชส์ เราต้องศึกษาและเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างถ่องแท้ และมีแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
 

ธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบันกับการสร้าง Passive Income

“แฟรนไชส์ / franchise” คือหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดมีเป้าหมายเพื่อขยายช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยทางบริษัทแม่ต้องให้สิทธิ์เครื่องหมายการค้าหรือบริการให้กับผู้ประกอบการที่สนใจในธุรกิจเพื่อนำไปจดทะเบียนอย่างถูกต้อง โดยจะมีการถ่ายทอดให้ความรู้ ระบบการผลิต ระบบการบริหารให้กับผู้ที่มาเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจเพื่อให้แบรนด์นั้นมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน
 

องค์ประกอบของแฟรนไชส์

  • แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisesor) คือ เจ้าของแบรนด์ หรือผู้ให้สิทธิทางการค้าและบริการนั้น ๆ
  • แฟรนไชส์ซี (Franchisee) คือ ผู้รับสิทธิทางการค้าและบริการที่ได้ทำข้อตกลงกับทาง Franchisesor โดยใช้ชื่อหรือเครื่องหมายทางการค้าแบบเดียวกัน และจะได้รับค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ
  • ค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ หรือการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาที่ผู้รับสิทธิ ต้องจ่ายให้กับผู้ให้สิทธิ โดยการจ่ายอาจจะถูกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย หรือกำไรแล้วแต่ข้อตกลงที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ทำข้อตกลงกัน
 

ข้อดีของธุรกิจแฟรนไชส์

ธุรกิจธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันซึ่งมีข้อดีอยู่หลายประการ
  • ไม่ต้องหาฐานลูกค้า เพราะการซื้อสิทธิจากแบรนด์นั้น ๆ ทำให้คุณได้ทุกอย่างจากผู้ให้สิทธิไม่ว่าจะเป็น ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ลูกค้าจะเชื่อมั่นในแบรนด์โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย
  • สามารถขอคำปรึกษาจากทาง Franchisesor หากเกิดปัญหาในการบริหาร หรือการจัดการ เพราะหาก Franchisee เกิดปัญหาจะส่งผลถึงภาพรวมของแบรนด์ทั้งหมด
  • ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการสร้าง Passive income ที่มีความเสี่ยงต่ำหากเทียบกับการลงทุนแบบอื่น ๆ เนื่องจากจะมีการกำหนดเป้าหมายและอัตราส่วนแบ่งของกำไรที่ชัดเจน และได้รับการสนับสนุนจาก Franchisesor และธุรกิจแฟรนไชส์สมัยใหม่ มีทางเลือกค่อนข้างมากหากคุณมีพื้นที่เป็นของตัวเองก็สามารถลงทุนในแฟรนไชส์ห้างร้านใหญ่ ๆ ได้ หากคุณไม่มีพื้นที่เป็นของตัวเองแต่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์แฟรนไชส์ตู้อัตโนมัติ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพราะใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าและสามารถเลือกทำเลได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาเฝ้าร้านหรือคอยดูแลพนักงาน ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นการสร้าง Pasive income อีกทางหนึ่ง
 

สร้าง Passive income ด้วยธุรกิจแฟรนไชส์ตู้อัตโนมัติ

 
แฟรนไชส์ตู้อัตโนมัติ

แต่เดิมธุรกิจตู้อัตโนมัติยังไม่เป็นที่นิยมมากนักไม่เว้นแม้แต่ตู้อัตโนมัติยอดฮิตในปัจจุบันอย่าง “ตู้เต่าบิน” ก็ไม่ใช่สิ่งที่คนรู้จักมาแต่แรก แต่ด้วยผลพวงจากวิกฤติโควิด 19 ผู้คนจึงหาวิธีซื้อขายสินค้า โดยไม่ต้องมีคนเป็นตัวกลาง เพื่อความปลอดภัยและสามารถซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง แฟรนไชส์ตู้อัตโนมัติจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน

การเป็นตัวแทนจำหน่ายตู้สินค้าอัตโนมัติคือหนึ่งในจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณได้เป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งในท้องตลาดนั้น มีผู้ลงทุนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการหลายรายให้ความสนใจและได้ลงมาลุยตลาดตู้หยอดเหรียญเพราะง่ายต่อการจัดการและสามารถทำ Passive income ได้ตลอดเวลาเนื่องจากไม่มีเวลาเปิด-ปิด ตัวอย่างแบรนด์แฟรนไชส์ตู้อัตโนมัติที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโซเชียลมีเดียปัจจุบันคงหนีไม่พ้น “ตู้เต่าบิน” ตู้ให้บริการจำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติตลอด 24 ช.ม.
 

ลงทุนกับตู้เต่าบิน ธุรกิจที่น่าจับตามอง?

“เต่าบิน” ใช้เวลาพัฒนาตู้มากว่า 30 ปี ใช้งบในการพัฒนาสูงถึง 80 ล้าน โดยบริษัทในเครือ ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น ตู้เต่าบิน 1 ตู้ ประกอบด้วยชิ้นส่วนภายในกว่า 7,000 ชิ้น ผ่านการจดสิทธิบัตรกว่า 35 ฉบับเป็นการการันตีคุณภาพว่าเต่าบินแบรนด์ที่นิยามได้ว่า Robotic Barista คาเฟ่แบบตู้หยอดเหรียญที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง มีจุดเด่นคือเครื่องดื่มมีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบบร้อน เย็นและปั่น โดยเฉพาะเมนูกาแฟที่เปรียบเสมือน signature ของตู้
 
ธุรกิจกาแฟสด

เมื่อเราหันมามองตลาดกาแฟสดในไทยนั้นได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน มูลค่าตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในไทยมีค่าสูงถึง 247,000 ล้านบาท โดยกาแฟเป็นสัดส่วนที่มีมูลค่าสูงที่สุดถึง 60,000 ล้านบาท (คิดเป็น 24%) ซึ่งสัดส่วนการขายของตู้เต่าบินก็สอดคล้องกับตลาด ตู้เต่าบิน 1 ตู้ขายได้ 60-200 แก้วต่อวัน เป็นยอดขายกาแฟกว่า 33% สำหรับคนที่ไม่ใช่คอกาแฟ ก็ยังมีเมนูเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีมากกว่า 170 เมนู ทั้งเครื่องดื่มประเภทโซดา นม ชา ช็อกโกแล็ต ผู้ซื้อสามารถเลือกความหวานที่ต้องการได้ไม่ต่างจากการซื้อเครื่องดื่มจากคาเฟ่ชั้นนำ และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาแบรนด์ที่ชัดเจน โดยมีแผนการขยายจำนวนตู้เต่าบินเพิ่ม จากต้นปีที่มีไม่ถึง 1,000 ตู้ เป็น 5,000 ตู้ ในปี 2565 คาดการณ์ไว้ในปีต่อ ๆ ไป 10,000 ตู้ ในปี 2566 และ 20,000 ตู้ในปี 2567 ทั้งนี้ยังมี Roadmap ที่จะขยายตู้เต่าบินไปยังต่างประเทศรวมถึงการเล็งที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้นด้วย การลงทุนกับเต่าบินจึงถือว่าเป็นธุรกิจน่าสนใจเพราะมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วจนน่าจับตามอง
 
ลงทุนเต่าบิน
ขอบคุณรูปภาพจาก Toa-bin

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ “ตู้เครื่องดื่มอัตโนมัติ” จุดเด่นคือไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย มีการตรวจเช็คตู้อย่างสม่ำเสมอ ในส่วนของรสชาติก็เป็นที่ยอมรับ ราคาจับต้องได้ เต่าบินจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการสร้าง Passive income

ส่วนท่านใดที่กำลังมองหาทางสร้าง Passive income แต่ไม่ได้ต้องการลงทุนที่จะเปิดแฟรนไชส์ ก็สามารถสร้าง Passive income ได้อีกทางหนึ่งด้วยกองทุน ที่สามารถลองลงทุนด้วยจำนวนเงินที่ค่อย ๆ สะสมเพิ่มไปได้ อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยบริหารจัดการเงินของคุณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วย 3 กองทุนที่เด่นด้านการสร้าง Passive income ดังนี้
 

1. กรุงศรีโกลบอลอินคัม KF-INCOME

KF-INCOME เป็นกองทุนรวมลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนผสมต่างประเทศ ที่จะนำเงินลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศชื่อกองทุน JPMorgan Investment Funds - Global Income Fund (กองทุนหลัก) โดยที่กองทุนหลักจะมีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารแห่งทุน เพื่อการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมองหาตลาดที่มีอยู่เดิม และตลาดที่เกิดใหม่เพื่อหาช่องทางที่ดีที่สุดให้กับผู้ร่วมลงทุน
 

2. กรุงศรีโกลบอลสมาร์ทอินคัม KF-SINCOME

KF-SINCOME เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund ที่จะนำเงินลงทุนในหน่วยของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ PIMCO GIS Income Fund (กองทุนหลัก) โดยกองทุนหลักนี้จะมีนโยบายการลงทุนกระจายไปที่ตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วทุกมุมโลกอย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สิน
 

3. กรุงศรีไทยออลสตาร์-ปันผล KFTSTAR-D

KFTSTAR-D เป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่จะนำเงินลงทุนในตราสารแห่งทุน โดยจะลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดหลักทรัพย์ (MAI) และ/หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีหลักการเลือกคือมองปัจจัยพื้นฐานธุรกิจที่ดีหรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตทางธุรกิจ จ่ายเงินปันผลที่ดีและสม่ำเสมอ ทั้งนี้รวมถึงหุ่น IPO ที่รอจดทะเบียนเข้าในตลาดหลักทรัพย์ด้วย

นอกจากนี้ทางธนาคารกรุงศรีฯ ยังมีอีกหลากหลายกองทุนที่นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับความต้องการได้ หากนักลงทุนต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ทางธนาคารกรุงศรีมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจาก KRUNGSRI PRIME ติดต่อกลับ

สุดท้ายนี้ขอย้ำเตือนให้นักลงทุนทุกท่านศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะไม่ว่าจะแบบใดทุก ๆ การลงทุนมีความเสี่ยง และข้อดีข้อเสีย ที่เหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่างกันไป
สนใจร่วมเป็นลูกค้า ด้วยการเลือก KRUNGSRI PRIME ต่อยอดเงินให้เติบโต​
KRUNGSRI PRIME ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน และต่อยอดเงินล้านของคุณให้เติบโตสู่ล้านถัดๆไป นอกจากนี้ KRUNGSRI PRIME ยังมอบความพิเศษด้วยสิทธิ์ต่างๆทั้งด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ที่ถูกคัดสรรมาให้แก่ลูกค้าคนพิเศษเช่นคุณ