ลดหย่อนภาษีง่าย ๆ กับ Easy e-Receipt 2568

โดย สิรภัทร เกาฏีระ CFP® นักวางแผนการเงิน
13 มกราคม 2568
ลดหย่อนภาษีกับ Easy E-Receipt 2.0
Easy E-Receipt 2.0 เป็น มาตรการลดหย่อนภาษีที่คล้ายปี 2567 โดยได้ประโยชน์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ซื้อสามารถนำใบเสร็จมาออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เพื่อลดหย่อนภาษีได้ง่าย ๆ ส่วนผู้ขายมีโอกาสขายได้มากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อในครั้งนี้ บทความนี้จะพาไปอัปเดตมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ในปี 2568 และวิธีใช้งานเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด พร้อมเคล็ดลับในการช้อปอย่างคุ้มค่าที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้น
 

อัปเดตเงื่อนไขล่าสุด Easy e-Receipt 2.0 ปี 2568

สำหรับมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ในปีนี้ กรมสรรพากรกำหนดเงื่อนไขให้ผู้มีเงินบุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ของการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าในประเทศที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2568 โดยจำนวนเงินสูงสุดที่สามารถนำมาลดหย่อนได้คือ 50,000 บาท โดยสามารถซื้อสินค้าและบริการได้ตั้งแต่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568
 

รายละเอียดเงื่อนไขการใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0 มีดังนี้

 
รายละเอียดเงื่อนไขการใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0

ซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศได้สูงสุด 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

ส่วนแรก : ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าทั่วไป หากผู้ขายจดทะเบียน VAT ให้ใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) เป็นหลักฐาน แต่ถ้าผู้ขายไม่ได้จดทะเบียน VAT ให้ใช้ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) แทน

ส่วนที่ 2 : หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ โดยต้องมีหลักฐานเป็น e-Tax Invoice หรือ e-Receipt
  1. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน
  2. ค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่ชำระให้วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่ชำระให้วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิส่วนที่ 1 จำนวน 30,000 บาท สามาถใช้สิทธิซื้อสินค้าส่วนที่ 2 (OTOP) อย่างเดียวโดยได้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท

สำหรับการซื้อสินค้าผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถลดหย่อนภาษีได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้


กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้โดยนำใบเสร็จที่ได้ไปยื่นลดหย่อนภาษีแทน
  1. ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  2. ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
  3. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียน กับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
  4. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
  5. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
 

รู้มั้ย! ค่าธรรมเนียมซื้อกองทุน ก็สามารถลดหย่อน Easy E-Receipt 2.0 ได้

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมที่มีค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุน (Front-end-Fee) ของ บลจ.กรุงศรี ผ่านธนาคารกรุงศรีฯ ตั้งแต่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 สามารถนำเฉพาะในส่วนของค่าธรรมเนียมนี้ไปลดหย่อนภาษีกับโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ได้

กองทุนแนะนำ
  • กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ (KFGBRAND)
    • เน้นกระจายการลงทุนหุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค สุขภาพ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงมีกำไรที่แข็งแกร่งแม้ในช่วงวิกฤต
    • โอกาสสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว จากการลงทุนในหุ้นคุณภาพดีที่มีความทนทานต่อภาวะตลาด (Defensive stock) เป็นหลัก จึงมีศักยภาพสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในช่วงตลาดขาขึ้น อีกทั้งยังมีโอกาสในการช่วยปกป้องความเสี่ยงของเงินลงทุนในช่วงตลาดขาลง
    • ระดับความเสี่ยง 6 (เสี่ยงสูง)
  • กรุงศรีเวิล์ดเทคอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KFHTECH)
    • เน้นลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำขนาดใหญ่ โอกาสแห่งการลงทุนท่ามกลางความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งก้าวเข้ามามีบทบาทในทุกอุตสาหกรรม
    • ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและขับเคลื่อนจากการวิเคราะห์ในเชิงลึก เพื่อค้นหาโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เป็นหุ้นเทคโนโลยียุคใหม่ เช่น AI, Cloud Computing เป็นต้น รวมถึงพยายามค้นหาบริษัทใหม่ ๆ ที่มีโอกาสก้าวขึ้นมาแทนที่ผู้เล่นรายเดิม เพื่อคว้าโอกาสลงทุน
    • ระดับความเสี่ยง 7 (เสี่ยงสูง)
 

เรื่องต้องรู้!! สินค้าและบริการใดบ้างที่ไม่สามารถใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้ มีดังนี้
  1. ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  2. ค่าซื้อยาสูบ
  3. ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
  4. ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์) และค่าซื้อเรือ
  5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  6. ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาของมาตรการ
  7. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
  8. ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พักโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
 

หลักฐานที่ต้องนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2.0

 

กรณีซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 86/4 (ในกำกับภาษีที่ระบุชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ) ที่ออกผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น
 

กรณีซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ต้องมีหลักฐานใบรับในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์จากระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร พร้อมระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย
 

Easy E-Receipt 2.0 มีประโยชน์อย่างไร?

Easy E-Receipt 2.0 เป็นมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายที่ได้ผลสำหรับกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงและต้องเสียภาษีในสัดส่วนที่สูง เช่น ฐานภาษี 30% หากซื้อสินค้าราคา 50,000 บาท สามารถลดหย่อนได้ 15,000 บาท เท่ากับซื้อสินค้าได้ในราคา 35,000 บาท เป็นต้น
 

วิธีขอรับใบเสร็จเพื่อยื่นขอลดหย่อนภาษีด้วย Easy E-Receipt 2.0

  1. ช้อปสินค้าและบริการ :
    • เมื่อคุณซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ร่วมโครงการ เพียงแจ้งพนักงานว่าต้องการใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์
    • ระบบจะส่งใบเสร็จไปยังอีเมลหรือแอปพลิเคชันที่คุณลงทะเบียนไว้
  2. ชำระค่าสินค้าและบริการออนไลน์ :
    • สำหรับการชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้เลือกตัวเลือก "รับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์" ก่อนทำรายการ
    • ใบเสร็จจะถูกจัดเก็บอัตโนมัติในระบบ
  3. ดาวน์โหลดและยื่นภาษี :
    • เมื่อถึงเวลายื่นภาษี เพียงดาวน์โหลดใบเสร็จทั้งหมดจากระบบและส่งให้กรมสรรพากร หรือเลือกบริการที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลโดยตรง

การวางแผนลดหย่อนภาษีจะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป เพราะที่ KRUNGSRI PRIME มีบริการที่ปรึกษาการเงินที่สามารถแนะนำให้คุณวางแผนลดหย่อนภาษีที่ชาญฉลาด และเพิ่มโอกาสในการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว เริ่มต้นวันนี้เพื่อการเงินที่มั่นคงและประหยัดภาษีอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น! เพียงโทร 02-296-5959 (จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น.) หรือฝากข้อมูลให้ติดต่อกลับ

ขอรับหนังสือชี้ชวน และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • KFGBRAND ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • KFHTECH กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
สนใจร่วมเป็นลูกค้า ด้วยการเลือก KRUNGSRI PRIME ต่อยอดเงินให้เติบโต​
KRUNGSRI PRIME ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน และต่อยอดเงินล้านของคุณให้เติบโตสู่ล้านถัดๆไป นอกจากนี้ KRUNGSRI PRIME ยังมอบความพิเศษด้วยสิทธิ์ต่างๆทั้งด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ที่ถูกคัดสรรมาให้แก่ลูกค้าคนพิเศษเช่นคุณ