ส่องสูตรคำนวณสุด EASY เงินเดือนเท่านี้ กู้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ส่องสูตรคำนวณสุด EASY เงินเดือนเท่านี้ กู้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่

icon-access-time Posted On 27 มีนาคม 2567
By Krungsri The COACH
บ้านเป็น 1 ความฝันหรือ 1 ในเป้าหมายการเงินของใครหลาย ๆ คน ที่อยากจะมีบ้านสักหลัง เป็นบ้านที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของเรา เช่น ไว้พักผ่อนหย่อนใจ ได้มีเวลาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและสร้างความทรงจำอันล้ำค่าร่วมกัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การจะวางแผนซื้อบ้านสักหลังให้ได้นั้น ต้องใช้เงินก้อนค่อนข้างใหญ่จึงต้องวางแผนเก็บเงินซื้อบ้านเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ดังนั้นการกู้เงินจากธนาคาร จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้เราเป็นเจ้าของบ้านได้ทันที

แต่หนึ่งคำถามที่มักจะมีอยู่ในใจก็คือ พนักงานออฟฟิศที่มีเงินเดือนเท่านี้ จะซื้อบ้านได้เท่าไร วันนี้ Krungsri The COACH จะพาทุกคนมาส่องดูสูตรคำนวณสุด EASY EASY กันครับ ว่าหากเรามีเงินเดือนเท่านี้ จะสามารถกู้เงินซื้อบ้านในฝันได้สูงสุดเท่าไร พร้อมกับวิธีวางแผนเก็บเงินซื้อบ้าน สำหรับชาวมนุษย์เงินเดือน
วางแผนเก็บเงินซื้อบ้านสำหรับชาวมนุษย์เงินเดือน

ส่องสูตรคำนวณสุด EASY เงินเดือนเท่านี้ กู้ซื้อบ้านได้เท่าไร

สูตรคำนวณวงเงินกู้ที่ใช้คำนวณเบื้องต้นได้ก็คือ (รายได้ของผู้กู้ x 40%) x 150 ซึ่งวงเงินกู้ ที่ได้จากการคำนวณนี้ สามารถนำไปประมาณการกำหนดงบเบื้องต้นได้
 
ขั้นตอนเก็บเงินซื้อบ้านในฝัน

ตัวอย่างที่ 1 พนักงานออฟฟิศ เพิ่งเริ่มทำงาน มีเงินเดือน 30,000 บาท
จะสามารถขอวงเงินกู้ซื้อบ้านได้ประมาณ : (30,000 x 40%) x 150 = 1,800,000 บาท

ตัวอย่างที่ 2 พนักงานออฟฟิศ ทำงานมาประมาณ 5 ปี มีเงินเดือน 50,000 บาท
จะสามารถขอวงเงินกู้ซื้อบ้านได้ประมาณ : (50,000 x 40%) x 150 = 3,000,000 บาท

คำนวณวงเงินกู้ได้แล้ว แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้และมีความสำคัญมาก ๆ ก็คือ จำนวนเงินค่างวดที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนเป็นเท่าไร Krungsri The COACH ขอแนะนำตัวช่วยในเรื่องนี้ ซึ่งจะช่วยคำนวณทั้งวงเงินกู้และค่างวดที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนด้วย ซึ่งก็คือความสามารถในการกู้นั่นเอง โดยทำผ่าน เครื่องคำนวณความสามารถในการกู้ของธนาคารกรุงศรี
  1. ระบุรายได้ต่อเดือน (รวมรายได้ผู้กู้ร่วม (ถ้ามี))
  2. ระบุภาระหนี้ต่อเดือน (ถ้ามี)
  3. ระบุระยะเวลาที่ขอกู้ (ปี)
  4. กดคำนวณ
วิธีคำนวณความสามารถในการกู้ซื้อบ้าน

ระบุข้อมูลให้ครบทุกช่อง
  1. รายได้ต่อเดือน 30,000 บาท
  2. ภาระหนี้ต่อเดือน 0 บาท
  3. ระยะเวลาที่ขอกู้ 30 ปี
จากนั้นระบบจะคำนวณวงเงินสูงสุดที่กู้ได้คือ 3,269,900 บาท และยอดผ่อนชำระต่อเดือน 19,500 บาท ในระยะเวลาที่กู้ 30 ปี
 
การคำนวณความสามารถในการกู้ซื้อบ้าน

ตัวอย่าง ตารางเปรียบเทียบช่วงรายได้กับวงเงินกู้สูงสุดและยอดผ่อนชำระต่อเดือน

ตารางเปรียบเทียบช่วงรายได้กับวงเงินกู้และยอดผ่อน

หมายเหตุ
  1. ผลการคำนวณข้างต้นเป็นการคำนวณผ่าน เครื่องคำนวณความสามารถในการกู้ของธนาคารกรุงศรีฯ และเป็นเพียงการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของธนาคาร
  2. โปรดตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์และประเภทหลักประกันและเงื่อนไขอื่น ๆ จากเจ้าหน้าที่ธนาคาร
  3. การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

3 สิ่งที่มีผลต่อการกำหนดงบประมาณในการซื้อบ้าน

1. ทำเลที่ตั้ง

เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อบ้าน เพราะต้องอาศัยอยู่บ้านและสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้านไปอีกหลายสิบปี หากเป็นบ้านที่อยู่ใจกลางเมือง ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก ราคาก็จะสูงกว่าบ้านที่อยู่ชานเมือง
 

2. ขนาดของที่อยู่อาศัย

บ้านที่มีขนาดใหญ่ ก็จะมีราคาที่สูงมากขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาถึงขนาดบ้านและพื้นที่ใช้สอย และจำนวนผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นด้วย
 

3. สิ่งอำนวยความสะดวก

บ้านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ย่อมจะมีราคาที่สูงกว่า เช่น ใกล้แหล่งศูนย์การค้า เดินทางสะดวกเพราะใกล้ทางด่วนหรือแนวรถไฟฟ้า
 
ทำเล คอนโด ทาวน์โฮม บ้านเดี่ยว
เมืองชั้นใน 6.2 13.0 27.0
เมืองชั้นกลาง 3.4 4.0 11.5
วงแหวนฝั่งตะวันออก 2.1 3.0 7.5
วงแหวนฝั่งตะวันตก 2.1 2.7 6.6
ตารางราคาบ้านเฉลี่ยในกรุงเทพฯ (ล้านบาท)
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บ TerraBKK ณ วันที่ 11/10/2017

รู้งบราคาบ้านเบื้องต้นแล้ว จะต้องวางแผนเก็บเงินซื้อบ้านอย่างไร

ขั้นตอนต่อไปคือ การวางแผนเก็บเงินซื้อบ้าน โดยขอแนะนำ 5 ไอเดียในการวางแผนเก็บเงินซื้อบ้านในฝัน ได้แก่

1. เลือกบ้านที่ใช่ ในราคาที่เอื้อมถึง
โดยราคาบ้านนั้นไม่ควรเกิน 60 เท่าของรายได้ต่อเดือน เช่น นายกรุงศรี มีเงินเดือน 50,000 บาท ไม่ควรซื้อบ้านราคามากกว่า 3,000,000 บาท เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการผ่อนชำระต่อเดือนที่มากเกินไป

2. เก็บเงินออมอย่างน้อย 20% ของราคาบ้านที่ต้องการซื้อ สำหรับค่าดาวน์บ้าน
หลังจากรู้งบราคาบ้านที่ต้องการซื้อเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้เก็บเงินดาวน์อย่างน้อย 20% ของราคาบ้าน เช่น ต้องการซื้อบ้านราคา 3,000,000 บาท ต้องเก็บเงินดาวน์อย่างน้อย 600,000 บาท (3,000,000 x 20%)

3. วางแผนเก็บเงินดาวน์บ้านอย่างเป็นระบบ
อาจจะเก็บจำนวนเงินต่อเดือนเท่าที่เราต้องการผ่อนต่อเดือนก็ได้ ตัวอย่าง นายกรุงศรี มีเงินเดือน 50,000 บาท วางแผนซื้อบ้านอีก 3 ปีข้างหน้า ราคา 3,000,000 บาท ผ่อนชำระงวดละ 20,000 บาทต่อเดือน จากนั้นเริ่มวางแผนเก็บเงินซื้อบ้าน ดังนี้
  • ปีที่ 1 ออมเดือนละ 20,000 บาท ดังนั้น ปีที่ 1 เก็บเงินได้ 240,000 บาท (12 x 20,000)
  • ปีที่ 2 ออมเดือนละ 20,000 บาท ดังนั้น ปีที่ 2 เก็บเงินได้ 240,000 บาท (12 x 20,000)
  • ปีที่ 3 ออมเดือนละ 20,000 บาท ดังนั้น ปีที่ 3 เก็บเงินได้ 240,000 บาท (12 x 20,000)
รวมออมเงินครบ 3 ปีได้เงินเท่ากับ 3x240,000 = 720,000 บาท คิดเป็น 24% ของราคาบ้าน
 
การวางแผนเก็บเงินดาวน์บ้าน
 

4. เช็กภาระหนี้ปัจจุบันที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน

เพราะการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านนั้น เป็นการสร้างภาระหนี้ขึ้นมาใหม่ ดังนั้นหากภาระการผ่อนหนี้ต่อเดือนในปัจจุบันยังสูงอยู่ อาจจะมีปัญหาในการผ่อนบ้านไม่ไหวในอนาคตได้ ซึ่งแนะนำว่าการผ่อนบ้านไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ทั้งหมดต่อเดือน และเมื่อรวมการผ่อนชำระหนี้อื่น ๆ อีก ต้องมียอดผ่อนทั้งหมดไม่ควรเกิน 50% ของรายได้ทั้งหมดต่อเดือน

ตัวอย่าง นายกรุงศรีมีเงินเดือน 50,000 บาท
  • สามารถผ่อนบ้านได้ไม่ควรเกิน 20,000 บาทต่อเดือน (50,000 x 40%)
  • และเมื่อผ่อนชำระหนี้รวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 25,0000 บาทต่อเดือน (50,000 x 50%)

หากนายกรุงศรีมีการผ่อนชำระหนี้ปัจจุบันอยู่ 10,000 บาทต่อเดือน และอีก 3 ปี หลังจากนายกรุงศรีซื้อบ้าน ยอดการผ่อนชำระหนี้ทั้งหมดจะเท่ากับ 30,000 บาท ตามรายละเอียดข้างล่างนี้
  • ค่าผ่อนหนี้ปัจจุบัน 10,000 บาทต่อเดือน
  • ค่าผ่อนบ้าน 20,000 บาทต่อเดือน
ซึ่งเป็นภาระการผ่อนชำระที่สูงถึง 60% ของรายได้ (60% x 50,000 = 30,000)

ดังนั้นเพื่อให้นายกรุงศรีสามารถซื้อบ้านได้อย่างสบายใจ และมั่นใจว่าสามารถผ่อนบ้านในระยะหลายสิบปีไหวอย่างแน่นอน ภายใน 3 ปีนี้ นายกรุงศรีจะต้องวางแผนจัดการหนี้ปัจจุบันให้เหลือยอดผ่อนชำระไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือนจากยอดผ่อนชำระ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากจัดการภาระหนี้ได้ จะทำให้ค่าผ่อนทั้งหมดอยู่ที่ 25,0000 บาทต่อเดือน ได้แก่
  • ค่าผ่อนหนี้ปัจจุบัน 5,000 บาทต่อเดือน
  • ค่าผ่อนบ้าน 20,000 บาทต่อเดือน
หรือภาระการผ่อนชำระ 50% ของรายได้ทั้งหมดนั่นเอง
 

5. เช็กประวัติเครดิตบูโร และอย่าให้มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้

เพื่อเพิ่มโอกาสในการยื่นขอสินเชื่อเพื่อกู้เงินซื้อบ้าน เพราะหากเรามีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ย่อมมีโอกาสที่ธนาคารจะพิจารณาปล่อยสินเชื่อเงินกู้ได้ง่ายขึ้น
 
การเช็กประวัติเครดิตบูโร

ตัวช่วยสำหรับคนที่ต้องการทุนในการซื้อบ้าน ขอสินเชื่อที่ไหนดี?

Krungsri The COACH แนะนำ สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา คือ คำตอบที่ใช่สำหรับคุณ ด้วยจุดเด่นของสินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่คุณสามารถกู้ผ่านทางออนไลน์ได้ หรือที่ธนาคารกรุงศรีทุกสาขา สะดวก อนุมัติและรู้ผลกู้ไว ดอกเบี้ยพิเศษในช่วงปีแรก พร้อมสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ รายละเอียดดอกเบี้ยและการคำนวณเพิ่มเติมดูได้ใน สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
 
เลือกซื้อบ้านที่ราคาไม่แพงจนเกินงบของเรา

การวางแผนซื้อบ้านนั้น เป็นการกู้เงินที่เป็นภาระหนี้สินระยะยาว ผู้กู้จะต้องรับผิดชอบการผ่อนชำระหลายสิบปี ดังนั้นผู้กู้ต้องมั่นใจว่าสามารถผ่อนไหว เพื่อไม่ให้เครียดจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้เสียในอนาคต ซึ่งจะส่งผลถึงการเสียประวัติเครดิตบูโรอีกด้วย วิธีที่จะช่วยลดภาระการผ่อนบ้านให้เบาลงได้ก็คือ การเก็บเงินดาวน์บ้านเพิ่มบางส่วน เพื่อที่จะได้กู้ซื้อบ้านเท่าที่จำเป็น ราคาบ้านไม่สูงจนเกินความสามารถของเรา ซึ่งสัดส่วนการผ่อนบ้านไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ทั้งหมดต่อเดือน เพื่อไม่ให้ภาระทางการเงินในแต่ละเดือนหนักจนเกินไป และ Krungsri The COACH มั่นใจว่าหากเรามีการวางแผนซื้อบ้านมาเป็นอย่างดีแล้ว เราจะมีความสุขกับการใช้ชีวิตในบ้านที่แสนอบอุ่นหลังนี้อย่างแน่นอน

อ้างอิง
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา