จะเป็นหนี้ทั้งที...ต้องเป็นหนี้แบบไหนดี?
รอบรู้เรื่องยืมเงิน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

จะเป็นหนี้ทั้งที...ต้องเป็นหนี้แบบไหนดี?

icon-access-time Posted On 14 พฤศจิกายน 2565
by Krungsri The COACH
หลายคนได้ยินคำว่า “หนี้” ก็คงสะดุ้งไปตาม ๆ กัน เพราะการเป็นหนี้มันไม่ใช่เรื่องดีที่จะได้ยินเลยใช่ไหมล่ะ… แต่เดี๋ยวก่อน! การเป็นหนี้มันไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป ถ้าหนี้ที่มีนั้นเกิดขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งให้กับชีวิต เช่น หนี้การศึกษา หนี้ที่พักอาศัย และอื่น ๆ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเป็นหนี้ มาเริ่มทำความรู้จักกับ “หนี้ดี” และ “หนี้เสีย” กันดีกว่า แบบไหนที่ก่อให้เกิดโทษมากกว่าคุณกัน
 
ความหมายของ หนี้ดี หนี้เสีย

หนี้ดี

มาเริ่มกันที่ “หนี้ดี” กันก่อนเลย หนี้ชนิดนี้เป็นหนี้ที่สร้างคุณมากกว่าสร้างโทษ เป็นหนี้ที่สร้างรายได้ อาทิเช่น กู้เงินมาลงทุน กู้เพื่อการศึกษา กู้เงินซื้อบ้าน เพราะโดยปกติของบ้านจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะถ้าบ้านอยู่ในทำเลที่ดี มูลค่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในส่วนของการกู้เงินซื้อรถถือเป็นหนี้ดี ถ้ารถสามารถพาเราไปประกอบรายได้ เช่น เป็นเซลล์ หรือซื้อรถเพื่อขับไปทำงาน ก็ยังถือว่าเป็นหนี้ดี เพราะรถพาเราไปหารายได้นั่นเอง หนี้สินเหล่านี้ถือว่าเป็นหนี้เพื่อการลงทุน และสามารถเพิ่มมูลค่าได้ในอนาคต แต่ถ้าซื้อรถราคาแพงเกินตัว หรือแพงเกินความจำเป็น เกินกำลังที่จะผ่อนไหว ทำให้ไม่เหลือเงินเลย เงินส่วนใหญ่หมดไปกับรถ อันนี้จะถือเป็นหนี้เสียทันที

เมื่อเข้าใจแล้วว่า “หนี้ดี” คืออะไรมีประโยชน์อย่างไรต่อไป ไปทำความรู้จักหนี้ที่ก่อให้เกิดโทษ หรือ “หนี้เสีย” กันเลย

หนี้เสีย

“หนี้เสีย” คือ หนี้ไม่สร้างรายได้ เช่น หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเกินตัว การกู้ซื้อรถโดยไม่มีความจำเป็นหรือไม่สามารถนำรถไปหารายได้เพิ่มได้ การกู้ยืมเพื่อไปเที่ยวก่อน การเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยแพงแสนแพง เพื่อเอามาจับจ่ายใช้สอย หรือเพื่อสนองกิเลสส่วนตัว และไม่สามารถจัดการควบคุมได้จนมีผลให้เกิดหนี้สินวนเวียนเป็นวงจรจนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ก็จะกลายเป็นหนี้เสียทันที
 
หนี้ดี หนี้เสีย คืออะไรแตกต่างกันอย่างไร

เมื่อใดก็ตามที่ได้ก่อหนี้ขึ้นมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ก็ตาม เราก็ต้องมีการชำระหนี้ตามกำหนดและถูกต้องเช่นเดียวกัน อย่างแรกที่ต้องคำนึงตั้งแต่ก่อนตัดสินใจก่อหนี้คือต้องประเมินว่าเมื่อก่อหนี้แล้วจะมีกำลังในการใช้หนี้หรือเปล่า เมื่อประเมินและวางแผนการใช้จ่ายและพร้อมชำระหนี้แล้ว ก็อย่าลืมที่จะชำระคืนให้ครบทุกจำนวน ซึ่งหนี้เหล่านี้มักจะมีการกำหนดให้ใช้เป็นงวด ในระยะเวลาที่กำหนด ในช่วงระยะเวลาเหล่านั้นลูกหนี้สามารถวางแผน และจัดสรรกับเงินได้
 
เป็นหนี้กู้เงินนอกระบบหรือกู้เงินในระบบดีกว่ากัน

ถ้าต้องเป็นหนี้จะกู้เงินนอกระบบหรือกู้เงินในระบบดีกว่ากัน?

ในเมื่อชีวิตมันเลือกไม่ได้ขนาดนั้น และตัดสินใจว่าฉัน “จะเป็นหนี้” อยู่ที่ตัวคุณแล้วว่าจะเลือกเดินไปในเส้นทางไหนระหว่างการเป็นหนี้จากการกู้เงินในระบบ หรือเป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบ การกู้นอกระบบอาจจะผิดวิธีการไปหน่อย เพราะการกู้เงินนอกระบบไม่ใช่เรื่องดีเลย อีกทั้งยังคิดดอกเบี้ยตามใจ ถ้าไม่จ่ายเวลาทวงหนี้ก็จะยึดทรัพย์สินไปจนถึงขั้นทำร้ายร่างกายได้
 
จะเป็นหนี้ทั้งที...ต้องเป็นหนี้แบบไหนดี?

ซึ่งการเป็นหนี้ดีก็ต้องกู้เงินก้อนในระบบที่ถูกกฎหมาย เจตนาตั้งแต่เริ่มแรกที่อยากจะเป็นหนี้ดีต้องมาพร้อม ๆ กับวิธีที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน การกู้เงินในระบบจะเป็นการกู้เงินผ่านสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จะเป็นหนี้กี่บาทก็วางใจเพราะคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดเอาไว้ เพราะเป็นแหล่งกู้เงินก้อนที่ถูกกฎหมาย ดังนั้น เลือกกู้เงินในระบบจะดีกว่า และอย่าคิดว่าการกู้เงินในระบบจะล่าช้าไม่ทันใจ เพราะปัจจุบันหลาย ๆ ที่ดำเนินการเร็วมาก เช่น สินเชื่อ Krungsri iFIN สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ให้คุณยื่นกู้ได้ง่าย ๆ ทำเองได้ทุกขั้นตอนบนมือถือ ผ่าน KMA krungsri app รับผลการพิจารณาสินเชื่อไว ใน 1 วัน*
 
การคิดดอกเบี้ยของธนาคารมีแบบไหนบ้าง

รู้หรือไม่ว่าการกู้สินเชื่อทุกประเภทจะมีการเก็บดอกเบี้ยของสินเชื่อ เพราะดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายโดยไม่มีข้อแม้เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินก้อน อัตราดอกเบี้ยจะคิดเป็นเท่าไหร่ก็อยู่ที่ประเภทสินเชื่อที่เลือกกู้เงิน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือวิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคารมีอยู่กี่ประเภทบ้าง ไปดูกัน

วิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคารมีแบบไหนบ้าง?

1. การคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate)

ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยคงที่ คือการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดเอาไว้แล้วแบบตายตัว ตั้งแต่เริ่มต้นทำสัญญาจนกระทั่งสิ้นสุดสัญญาผู้เป็นหนี้ดีจะต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวนนี้ไปเรื่อย ๆ เช่น ออกรถยนต์แล้วทำสัญญาไว้ 5 ปี โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ก็ต้องจ่ายเงินต้นไปเรื่อย ๆ และดอกเบี้ยเท่านี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบกำหนด
 
การคิดดอกเบี้ยแบบคงที่และการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก
 

2. การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)

ดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนเงินต้นที่ผู้ขอสินเชื่อได้ชำระแต่ละงวด โดยดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อย ๆ ตามเงินต้นที่ลดลง เนื่องจากถูกหักออกไปจากการชำระหนี้งวดก่อนหน้า เช่น กู้เงินมา 30,000 บาท คิดดอกเบี้ยที่ 1.5% ในงวดแรกทำการจ่ายหนี้มาแล้ว และในงวดต่อไปดอกเบี้ย 1.5% จะถูกนำไปคิดกับเงินต้นใหม่ที่ถูกจ่ายมาแล้วนั้นเอง

การเลือกดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะเมื่อใดก็ตามที่พอจะมีเงินก้อนมาโปะหนี้ก็จะทำให้คุณปลดหนี้ได้ไวขึ้นโดยที่ไม่ต้องรอให้ครบสัญญา

สุดท้ายนี้การเป็นหนี้เป็นได้แต่ควรเลือกที่จะเป็นหนี้ดี การเป็นหนี้ดี และรู้จักวิธีกู้หนี้ที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถจัดการจ่ายหนี้ได้อย่างเป็นระเบียบ และไม่ถูกเอาเปรียบ เพราะหนี้ดีจากการกู้เงินในระบบคือหนี้ที่ถูกกฎหมาย คิดอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมและเป็นธรรม ทำให้เป็นหนี้ที่สบายใจ และปลอดภัยกว่าหนี้เสียนั้นเอง
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา