4 วิธีบริหารเงินให้อยู่สบาย สำหรับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวยุคใหม่
เพื่ออนาคตลูก
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

4 วิธีบริหารเงินให้อยู่สบาย สำหรับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวยุคใหม่

icon-access-time Posted On 26 มีนาคม 2567
By Krungsri The COACH
ในยุคปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะใช้ชีวิตแบบปัจเจกบุคคล (Individualism) กันมากขึ้น ทำให้อัตราการแต่งงานลดลง อยู่เป็นโสดมากขึ้น ขนาดคู่แต่งงานบางคู่ ถึงแม้จะมีลูกด้วยกันแล้ว ก็มีโอกาสเลิกราได้ ทำให้ต้องใช้ชีวิตพ่อหม้าย-แม่หม้าย หรือแม่เลี้ยงเดี่ยวกันอย่างกะทันหัน โดยที่ไม่ได้ทันวางแผนรับมือมาก่อน นั่นส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต รวมถึงการบริหารจัดการเงินและทรัพย์สินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วันนี้ Krungsri THE COACH ขอแนะนำขั้นตอนการบริหารเงินสำหรับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวยุคใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่า คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวทุกคนจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างราบรื่นและมีความสุข ไม่มีปัญหาการเงินมาให้กวนใจกัน
การบริหารเงินสำหรับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว

4 วิธีบริหารเงินสำหรับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวยุคใหม่แบบง่าย ๆ

1. ทำงบการเงินปัจจุบัน และประเมินกระแสเงินสด

เราจะไม่สามารถวางแผนการเงินให้ตัวเองได้เลย ถ้าเราไม่รู้สถานะการเงินของตัวเองว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน รายรับ รายจ่าย หรือเงินเหลือ เงินขาด ทั้งปีอยู่เท่าไหร่ ดังนั้น ขั้นตอนแรกสุดถ้าเราจะวางแผนการเงินให้ตัวเองอย่างถูกต้อง คือ เราต้องเริ่มจัดทำงบการเงินของตัวเอง ซึ่งจะมีอยู่ 2 งบด้วยกันคือ
  1. งบดุลแบบง่าย ๆ
    โดยระบุรายการทรัพย์สิน และหนี้สินทั้งหมดที่เรามี เพื่อให้เราทราบว่า ปัจจุบันเรามีทรัพย์สินรายการอะไรบ้าง มีอยู่ทั้งหมดเท่าไหร่ เพื่อที่ว่าหากเราต้องดึงเงินเก็บมาใช้ยามจำเป็น เราจะได้รู้ว่าควรจะดึงเงินมาจากส่วนไหน

    ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณแม่มีรายจ่ายในช่วงไม่เกิน 1-3 ปี เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน อาจจะดึงจากเงินออมที่อยู่ในบัญชีเงินฝาก แต่หากเป็นรายจ่ายในอนาคต (3 ปีขึ้นไป) เช่น เงินค่าเล่าเรียนบุตรในอนาคต หรือเงินเก็บเพื่อการเกษียณ ก็อาจจะดึงจากเงินลงทุนต่าง ๆ ที่เราวางแผนเก็บออมมาใช้ในอนาคตมาใช้ได้ เป็นต้น

    ส่วนในด้านหนี้สิน จะทำให้เราทราบว่า เรามีภาระหนี้ปัจจุบันรวมกันทั้งหมดเท่าไหร่ ยอดหนี้แต่ละรายการจำนวนเท่าไหร่ เพื่อจะได้วางแผนปลดหนี้ไปทีละรายการได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง

  2. งบกระแสเงินสด
    คือ งบที่เราประเมินรายได้เทียบกับรายจ่ายทั้งปี ทำให้เราทราบว่า เราจะมีเงินเหลือมากน้อยเท่าไหร่ ถ้าเหลือจะได้วางแผนส่วนที่เหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือถ้าเงินขาดจะได้ทราบว่าขาดมากแค่ไหน ควรจะลดรายจ่ายรายการไหน หรือเพิ่มรายได้อีกเท่าไหร่ ถึงจะกลับมารอดได้

    แต่อย่าลืมว่า รายได้หรือรายจ่ายบางรายการ ก็มาบางเดือน ไม่ใช่ทุกเดือน เช่น เงินโบนัส ค่าเทอมบุตร หรือค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรไล่ประเมินแต่ละเดือนจนครบทั้งปี จะทำให้เราเห็นภาพการใช้จ่ายรวมทั้งปีได้ชัดเจนขึ้น
คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้
 

2. หาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ตามทักษะประสบการณ์ หรือความสนใจที่มี

เนื่องจากคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวมีภาระค่อนข้างเยอะ ทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัว เงินออมเพื่อเป้าหมายส่วนตัวแล้ว ยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบุตรแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น อาจจะมีโอกาสสูงที่รายได้จะไม่พอใช้ หากรายได้ประจำไม่สูงมากนัก

เมื่อเป็นเช่นนี้ การหารายได้เสริม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากการสำรวจตัวเองดังนี้
  • เรายังต้องการรายรับเพิ่มอีกเท่าไหร่ จึงจะพอกับรายจ่าย?
  • เรามีทักษะ ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญด้านอะไรบ้าง ที่ช่วยเหลือผู้คนได้?
  • เรามีความสนใจอะไร เช่น การสอน การทำอาหาร หรือการขายของที่เป็นที่ต้องการของตลาด แล้วเริ่มศึกษา พัฒนาตัวเอง เพื่อหารายได้เพิ่มจากสิ่งนั้น
 

3. สร้างระบบควบคุมรายจ่าย-การออมอัตโนมัติ

การวางแผนรายจ่ายและการออมอย่างเป็นระบบ จะทำให้เราสามารถควบคุมรายจ่ายได้ดี และมีวินัยในการออมมากขึ้น อาจจะสามารถทำได้โดยใช้แอปพลิเคชัน กำหนดงบประมาณและจดยอดรายจ่าย หรือการใช้บัตรเครดิต ให้แจ้งเตือนเมื่อมีการใช้หรือเมื่อใกล้ครบยอด จะช่วยให้เรามีสติในการใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนการออม ก็ตั้งระบบให้มีการตัดบัญชีรายได้ไปออมอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือน แล้วค่อยใช้จ่ายในส่วนที่เหลือ ก็จะทำให้เราอุ่นใจว่า เราจะมีเงินออมเพิ่มขึ้นทุกเดือนได้อย่างแน่นอน
 
วางแผนทำประกันคุ้มครองเพื่อลูก
 

4. วางแผนทำประกันคุ้มครองความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ทำให้เราต้องเป็นหัวหน้าครอบครัว ที่มีภาระต้องรับผิดชอบชีวิตของลูกเพียงคนเดียวอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เราจึงต้องวางแผนเพื่อรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้แน่ใจว่า หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา การดำเนินชีวิตและเป้าหมายการเงินต่าง ๆ ของทั้งเราและลูกยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ด้วยการมีสวัสดิการความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพจากรัฐ จากที่ทำงาน หรือจากการทำประกันส่วนตัวอย่างเพียงพอ ได้แก่

4.1 ความเสี่ยงจากการจากไปก่อนวัยอันควร
เพื่อให้แน่ใจว่า หากเราจากไปกะทันหัน ลูกก็ยังมีเงินไว้ใช้ดำรงชีวิตและเป็นค่าการศึกษาจนกว่าจะเรียนจบได้ จึงต้องสำรวจวงเงินคุ้มครองชีวิตจากสวัสดิการ หรือทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (ประกันมรดก) เพื่อคุ้มครองภาระการเงินดังกล่าว
 
ทำประกันชีวิตแบบตลอดชีวิตเพื่อลูก

และเพื่อให้แน่ใจว่า หากเรามีชีวิตอยู่จะมีเงินเก็บระยะยาวที่เพียงพอไว้เป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสำคัญ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตรในอนาคต จึงต้องสำรวจสวัสดิการเงินออมระยะยาว หรือทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หากต้องการออมแบบความเสี่ยงต่ำ ได้ผลตอบแทนที่แน่นอน หรือแบบควบการลงทุน หากสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น

4.2 ความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย
ไม่ว่าตัวเรา หรือบุตร เกิดเจ็บป่วยจากโรคหรืออุบัติเหตุ เราควรจะมีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล หรือจากการทำประกันสุขภาพ
 
แม่เลี้ยงเดี่ยวเก็บเงินอย่างไร

คุณแม่เลี้ยงเดี่ยววางแผนทำประกันอย่างไรดี?

หากคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวท่านใดที่ต้องการวางแผนการทำประกันด้วยตัวเอง เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงดังกล่าว Krungsri The COACH ขอแนะนำแนวทางการวางแผนการทำประกันแต่ละด้านไว้ดังนี้
 

1. คุ้มครองภาระการเงิน

ด้วยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (ประกันมรดก)

คำแนะนำ : ควรทำที่จำนวนเงินเอาประกันอย่างน้อย เท่ากับ “[ค่าเลี้ยงดูบุตรต่อปี x จำนวนปีจนกว่าบุตรจะเรียนจบ] + เงินทุนค่าเล่าเรียนบุตร + ยอดหนี้สินคงค้าง” แนะนำเป็นแบบประกัน “กรุงศรีประกันตลอดชีพ มรดกเพิ่มทรัพย์” มีให้เลือกเป็นแบบ 90/5 (จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 90 ปี) หรือแบบ 90/10 (จ่ายเบี้ย 10 ปี คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 90 ปี)

สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรุงศรีประกันตลอดชีพ มรดกเพิ่มทรัพย์
 

2. เก็บออมเงินไว้เป็นค่าเล่าเรียนบุตรในอนาคต

ด้วยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์, ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน

คำแนะนำ : ควรทำที่จำนวนเงินเอาประกัน ที่จะจ่ายเงินคืนทั้งหมด เท่ากับ “จำนวนเงินทุนการศึกษาที่ต้องการ และตามระยะเวลาคุ้มครองที่สอดคล้องกับเป้าหมาย” ซึ่งมีหลายแบบให้เลือก

สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์แบบสั้น (ไม่เกิน 15 ปี) และสะสมทรัพย์แบบกลาง (16 ปี - ไม่เกิน 20 ปี)

สำหรับคุณแม่ที่ต้องการประกันแบบควบการลงทุน แนะนำเป็น “กรุงศรี ประกันยูนิตลิงค์ ซูเปอร์ สมาร์ท” สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรุงศรี ประกันยูนิตลิงค์ ซูเปอร์ สมาร์ท
 

3. คุ้มครองความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาล

ด้วยการทำประกันสุขภาพ

คำแนะนำ : ควรทำแผนที่วงเงินค่ารักษา ครอบคลุมค่ารักษาของโรงพยาบาลที่คาดว่าจะใช้บริการในกรณีฉุกเฉิน แนะนำ “กรุงศรีประกันสุขภาพตามใจ พลัส” ที่สามารถเลือกวงเงินความคุ้มครองค่ารักษาสูงสุดต่อปี ได้ตั้งแต่ 1 ล้าน - 30 ล้านบาท รวมถึงสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ทั้งกรณี OPD และเงินก้อนกรณีเป็นโรคร้ายแรงได้อีกด้วย

สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรุงศรีประกันสุขภาพตามใจ พลัส

จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปิดโอกาสและยอมรับความสามารถในการทำงานของผู้หญิงยุคใหม่กันมากขึ้น รวมถึงโอกาสในการหารายได้ที่มีหลายช่องทาง นั่นทำให้ปัจจุบัน ผู้หญิงโสด รวมไปถึงคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ต่างก็มีโอกาสที่จะยืนหยัดด้วยตัวเองได้อย่างมั่นคงมากกว่าในอดีตที่ต้องพึ่งพาการดูแลจากสามี ด้วยเหตุนี้ หากเรามีความรู้ทางการเงิน และมีการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบรัดกุม พร้อมกับมองหาโอกาสใหม่ ๆ ให้ตัวเองตลอดเวลาแล้วล่ะก็ การวางแผนชีวิตและวางแผนการเงินของแม่เลี้ยงเดี่ยวยุคใหม่ให้อยู่ได้อย่างแข็งแกร่ง แม้จะต้องรับภาระทั้งหมดด้วยตัวคนเดียว จะมีความเป็นไปได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา