โครงการ Krungsri Zero Waste

การพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการ Krungsri Zero Waste

ปัญหาขยะที่เกิดจากการผลิตและบริโภคของมนุษย์ถือเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสนใจและผสานร่วมมือกันเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลภาวะจากขยะพลาสติก ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีปริมาณขยะพลาสติกจำนวนมากและถูกทิ้งลงสู่ทะเลมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยเหตุนี้หลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้กำหนดนโยบายในการจัดการขยะ กำหนดมาตรการงดใช้ถุงพลาสติก การส่งเสริมให้แยกขยะและรีไซเคิลเพื่อลดปริมาณขยะเข้าสู่กระบวนการฝังกลบ การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง เป็นต้น เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาขยะที่สั่งสมมานาน

เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขยะและรับมือกับภาวะโลกร้อน กรุงศรีจึงได้ริเริ่มโครงการ “Krungsri Zero Waste” ขึ้นในปี 2561 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังลดขยะให้เป็นศูนย์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักแก่พนักงานเกี่ยวกับปัญหาขยะ และส่งเสริมให้มีการจัดการขยะภายในองค์กรที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถนำไปรีไซเคิล (Recycle) ให้ได้มากที่สุดและลดปริมาณขยะสู่บ่อฝังกลบ โดยธนาคารได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างอุปนิสัย “ลดขยะให้เป็นศูนย์” โดยเริ่มจากความร่วมมือภายในองค์กร อาทิ การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้พนักงานเรื่องการจัดการขยะ การรณรงค์และส่งเสริมให้พนักงานแยกขยะอย่างถูกวิธีก่อนนำไปกำจัดตามขั้นตอน การรณรงค์ให้พนักงานงดใช้โฟมและลดใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) เพื่อลดปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก เป็นต้น

โครงการ “Krungsri Zero Waste” นอกจากจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเป้าหมายที่ 12: การมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ และเป้าหมายที่ 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกด้วย

ผลการดำเนินงาน

กรุงศรีตระหนักดีกว่าการกระตุ้นและส่งเสริมให้พนักงานมีอุปนิสัย “ลดขยะให้เป็นศูนย์” และเปลี่ยนพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันต้องใช้ระยะเวลาและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ธนาคารจึงได้เพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินโครงการ Krungsri Zero Waste ผ่านกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อยที่หลากหลาย อาทิ
  • การให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ โดยบรรจุเป็นหนึ่งในหลักสูตรฝึกอบรมภายในธนาคาร ชื่อหลักสูตร “ขยะเหลือศูนย์ เป็นจริงได้ ไม่ใช่แค่ฝัน (Zero Waste)” เพื่อปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในเรื่องการจัดการขยะ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การขยายกิจกรรม “กรุงศรี ถูกที่ ถูกถัง” ไปยังสาขาของธนาคาร และสาขาของกรุงศรี ออโต้ รวมเกือบ 700 สาขา เพื่อรณรงค์ให้พนักงานสาขาของธนาคารและกรุงศรี ออโต้มีส่วนร่วมในกิจกรรมแยกขยะด้วย
  • การสนับสนุนส่วนลดพิเศษสำหรับพนักงานที่พกแก้วน้ำส่วนตัวมาเพื่อซื้อเครื่องดื่มที่ร้านค้า ณ ศูนย์อาหาร อาคารสำนักงานใหญ่ กรุงศรี (ชั้น 8 และ 9) และอาคารกรุงศรี สำนักงานเพลินจิต (ชั้น 12) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ ในวันสิ่งแวดล้อมโลก (วันที่ 5 มิถุนายน 2563) กรุงศรีได้ส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมง่ายๆ ในกิจวัตรประจำวัน โดยเฉพาะการลดใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) ธนาคารจึงได้มอบของที่ระลึก “ขวดน้ำรีฟิลและถุงผ้า” ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ให้กับพนักงานทุกคน ซึ่งการใช้ขวดน้ำรีฟิลส่วนตัวนอกจากจะสะท้อนถึงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสุขอนามัยเพื่อส่วนรวม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ในเดือนตุลาคม 2563 ธนาคารได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร (Food Waste Decomposer) ณ อาคารสำนักงานใหญ่ เพื่อลดปริมาณขยะเศษอาหารสู่กระบวนการฝังกลบให้เป็นศูนย์ ซึ่งขยะเศษอาหารจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญและเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการสะสมพลังงานความร้อนในชั้นบรรยากาศจนเกิดภาวะโลกร้อน และด้วยเทคโนโลยีชีวภาพในเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารจะช่วยแปรสภาพเศษอาหารให้กลายเป็นอาหารบำรุงพืชคุณภาพสูง เพื่อใช้สำหรับบำรุงต้นไม้คืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศต่อไป

ปี 2564 กรุงศรีได้การดำเนินกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย “ขยะเป็นศูนย์” ได้แก่
  • เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยริเริ่มโครงการ ‘Krungsri…The Green Office’ โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร เพื่อลดใช้พลังงานและทรัพยากร รวมทั้งลดปริมาณของเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรต่างๆ รวมถึงการดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุดจนเหลือ ศูนย์
  • ติดตั้งเครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร (Food Waste Decomposer) ณ อาคารสำนักงานใหญ่ เพื่อลดปริมาณขยะเศษอาหารสู่กระบวนการฝังกลบให้เป็นศูนย์ โดยปี 2564 สามารถลดปริมาณขยะ เศษอาหารสู่กระบวนการฝังกลบได้จำนวน 5,000 กิโลกรัม หรือเทียบเท่ากับการลดปริมาณก๊าซเรือน กระจกได้ถึง 12,700 kgCO2e นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้เป็นอาหารบำรุง พืชคุณภาพสูงได้จำนวน 1,300 กิโลกรัม โดยได้นำไปบำรุงพื้นที่สีเขียวโดยรอบอาคารสำนักงาน แ ละ มอบให้กรมป่าไม้ใช้ประโยชน์ต่อไป รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งเครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร ณ อาคารกรุงศรีสำนักงานเพลินจิต โดยคาดว่าจะสามารถติดตั้งและเดินเครื่องกำจัดขยะเศษ อาหารได้ภายในปี 2565

ปี 2565 นับเป็นปีที่ 5 ของโครงการ ‘Krungsri Zero Waste’ ซึ่งมีการดำเนินงาน ดังนี้
  • การสนับสนุนโครงการ ‘Care the Whale’ โดยร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการลดขยะจากต้นทาง แยกขยะเพื่อนำาไปกำจัดอย่างถูกวิธีตลอดจนส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจ หมุนเวียน (Circular Economy) ทั้งนี้ปี 2565 ได้มีการรวบรวมและคัดแยกขยะเชื้อเพลิง จากอาคารสำนักงานใหญ่และอาคารกรุงศรีสำนักงานเพลินจิตเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ รวมทั้งสิ้น 5,384.65 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 8,817.63 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)
  • ลดปริมาณขยะเศษอาหารจากอาคารสำนักงานใหญ่ได้จำนวน 5,810.76 กิโลกรัม เทียบเท่ากับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้ 14,701* กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ (kgCO2e) และแปรเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน (Bio -Soil) ได้จำนวน 1,174 กิโลกรัมนอกจากนี้ได้ขยายขอบเขต การติดตั้งเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารไปยังอาคารกรุงศรีสำนักงานเพลินจิต โดยได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องฯ แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2565 และจะเริ่มเดินเครื่องใช้งานจริงในต้นปี 2566 ทั้งนี้คาดวาจะสามารถ ลดปริมาณขยะเศษอาหารสู่กระบวนการฝังกลบได้ถึง 3,000 กิโลกรัมต่อปี เทียบเท่ากับการลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 7,500* กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 830 ต้น

ปี 2566 นับเป็นปีที่ 6 ของโครงการ ‘Krungsri Zero Waste’ ซึ่งมีการดำเนินงาน ดังนี้
  • โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ขององค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยได้เข้าร่วมโครงการประเภทการจัดการของเสียภายใต้กิจกรรมกรุงศรี ถูกที่ ถูกถัง ครอบคลุมพื้นที่อาคารสำนักงานใหญ่ และอาคารกรุงศรีสำนักงานเพลินจิต โดยได้รับใบประกาศเกียรติคุณ จากการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกในโครงการดังกล่าว (อ้างอิงข้อมูลการแยกขยะรีไซเคิลปี 2565) โดยกรุงศรี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้ถึง 1,081.561 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
  • การสนับสนุนโครงการ ‘Care the Whale’ โดยร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการลดขยะจากต้นทางแยกขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีตลอดจนส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งกรุงศรีได้ตั้งเป้าหมายลดขยะประเภทที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้แต่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ได้ หรือที่เรียกว่า “ขยะเชื้อเพลิง” หรือ “ขยะ RDF” (Refuse-Derived Fuel) ไปสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero RDF to Landfills) เช่น ถุงพลาสติกก๊อบแก๊บ ซองขนม ช้อนส้อม และภาชนะพลาสติก แก้วกระดาษ แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องนม และกล่องน้ำผลไม้ โดยธนาคารได้ดำเนินการ สื่อสารและจัดเตรียมถังขยะ RDF ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ปี 2566 ได้มีการรวบรวมและคัดแยกขยะเชื้้อเพลิงจากอาคารสำนักงานใหญ่ อาคารริมน้ำและอาคารกรุงศรีสำนักงานเพลินจิต เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ รวมทั้งสิ้น 9,106.75 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 7,224.38* กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)
  • การติดตั้งเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเพื่อลดปริมาณขยะสู่บ่อฝังกลบและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยกรุงศรีมีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการเป็นองค์กรที่มีการนำขยะเศษอาหารไปสู่กระบวนการฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Food Waste Organization)
    • ริเริ่มการติดตั้งเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารในปี 2563 ที่อาคารสำนักงานใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายขยะเศษอาหารให้กลายเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน (Bio-soil) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยในปี 2566 สามารถลดปริมาณขยะเศษอาหารจากอาคารสำนักงานใหญ่ได้จำนวน 16,243.47 กิโลกรัมเทียบเท่ากับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้ 41,095.98* กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e) และแปรเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน (Bio-Soil) ได้จำนวน 2,960 กิโลกรัม
    • ขยายขอบเขตการติดตั้งเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารไปยังอาคารกรุงศรีสำนักงานเพลินจิต โดยได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องฯ แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2565 และเริ่มเดินเครื่องใช้งานจริงในต้นปี 2566 โดยสามารถลดปริมาณขยะเศษอาหารสู่กระบวนการฝังกลบได้ถึง 4,957.61 กิโลกรัมต่อปี เทียบเท่ากับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 12,542.74* กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e) หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 1,393 ต้น

หมายเหตุ:
* คำนวณการปลอยก๊าซเรือนกระจกโดยอ้างอิงจากค่า Emission Factor คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (กรกฎาคม 2565) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)
โครงการ Krungsri Zero Waste
โครงการ Krungsri Zero Waste
โครงการ Krungsri Zero Waste
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา