รู้จัก Biometrics เทคโนโลยีเพิ่มความปลอดภัยก่อนโอนเงิน

รู้จัก Biometrics เทคโนโลยีเพิ่มความปลอดภัยก่อนโอนเงิน

By Krungsri Plearn Plearn
เนื่องจากปัญหาการระบาดของเหล่ามิจฉาชีพส่งผลให้มีผู้คนที่เสียหายจากการถูกแอบอ้าง และโดนสวมรอยจากมิจฉาชีพจนเกิดการสูญเงินเป็นจำนวนมากทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือที่เราเรียกกันว่าแบงก์ชาติเล็งเห็นถึงปัญหา และประกาศมาตรการรักษาความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานธุรกรรมทางการเงินให้รัดกุมขึ้นด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกในการยืนยันตัวตนผ่านการสแกนใบหน้าลงในแอปพลิเคชันโมบายแบงค์กิ้งซึ่งเรียกว่าข้อมูลชีวมิติ หรือ Biometrics (ไบโอเมตริกซ์)

แล้วทุกคนคงสงสัยว่าเจ้าข้อมูลนี้คืออะไร และรักษาความปลอดภัยให้เราได้จริงหรือไม่ มาหาคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้

การยืนยันตัวตนด้วย Biometrics คืออะไร?

ระบบ Biometrics คือเทคโนโลยีในการระบุยืนยันถึงตัวตนตามลักษณะทางกายภาพ และลักษณะพฤติกรรมที่ไม่ซ้ำ หรือเหมือนใครบนร่างกายของเราซึ่งประกอบไปด้วยเทคโนโลยีทางชีวภาพ และทางการแพทย์ที่สามารถตรวจจับอัตลักษณ์ (identity) เฉพาะของเราได้อย่างแม่นยำทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย โดยมีองค์ประกอบหลักเลยก็คือ เซนเซอร์ที่จับไบโอเมตริกซ์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลเดิม และซอฟต์แวร์เพื่อเปรียบเทียบทั้งสอง
การสแกนนิ้วมือ ทำธุรกรรมการเงิน

Biometrics แต่ละแบบที่ใช้ยืนยันตัวตน

1. ระบบสแกนลายนิ้วมือ Fingerprint Scanners

ข้อมูล Biometrics ที่เรารู้จัก และมีการนำมาใช้แรก ๆ เลยก็คือการสแกนลายนิ้วมือโดยมีการทำงานแบบจดจำลายนิ้วมือซึ่งตัวเซนเซอร์จะทำการบันทึกเป็นข้อมูลภาพให้เครื่องสแกนอ่านลายนิ้วมือจากนั้นเครื่องจะเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เคยมีการบันทึกไว้ในประวัติการสแกนก่อนหน้า และระบุได้ว่าเป็นบุคคลนั้นหรือไม่ เช่นเดียวกับการจดจำเส้นเลือดดำบนชั้นผิวหนังของนิ้วมือ เพราะโครงสร้างเส้นเลือดในร่างกายมนุษย์ไม่เหมือนกัน และมีคุณสมบัติที่ต่างกัน สามารถทำได้โดยการนำมือไปสัมผัสรังสีอินฟราเรดหลังจากนั้นเครื่องจะประมวล และแสดงผลด้วยการแรงเงาของเส้นที่เปลี่ยนเป็นสีดํา แล้วระบุข้อมูลไบโอเมตริกซ์ที่ผ่านการสแกนออกมา

2. ระบบสแกนใบหน้า Facial Recognition

เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี Biometric ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันด้วยการทำงานของเทคโนโลยี Deep Learning โดยมี AI ที่ถูกคอยเรียนรู้ลักษณะเฉพาะสำคัญที่จะช่วยแยกแยะหน้าตาของผู้คนจากรูปใบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ตัวอย่างเช่น ระยะห่างระหว่างตา ตำแหน่งความยาวของจมูก เป็นต้น

นอกจากนี้ข้อมูลระบบ Biometrics อื่น ๆ ยังมีอีกหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ลักษณะใบหู กระจกเรตินาในม่านตา ลักษณะของมือ เสียงพูด หรือลายเซ็นต์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการยืนยันตัวตนที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับตัวบุคคลได้อีกด้วย
การสแกนหน้า เพื่ออ่าน SMS ดูดเงิน 

ทำไมต้องสแกนใบหน้ายืนยันตัวตน เมื่อทำธุรกรรมเกิน 50,000 บาท?

จากการระบาดของแก๊งมิจฉาชีพ และความเสียหายของผู้ที่ถูกสวมรอยจากกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ 3 มาตรการจัดการภัยการทุจริตทางการเงิน ที่จะดูแลครอบคลุมตลอดเส้นทางในการทำธุรกรรมทางการเงินซึ่งกำหนด “โอนเงินเกิน 50,000” ต้องสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

มาตรการความปลอดภัย ทั้ง 3 ข้อมีดังนี้

1. มาตรการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล

เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงข้อมูลของพวกเรา ให้สถาบันทางการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล โดยการเลิกส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งานระบบโมบายแบงก์กิ้งของแต่ละสถาบันทางการเงิน ให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดยสถาบันทางการเงิน ต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ โมบายแบงก์กิ้งก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง

โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด 3 ธุรกรรม ที่จะต้องมีการยืนยันตัวตนผ่านระบบ Biometrics
  • การโอนวงเงินเกิน 50,000 บาทต่อรายการ
  • โอนวงเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน
  • การปรับเพิ่มวงเงินเกิน 50,000 บาทต่อวัน

2. มาตรการตรวจจับ และติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัย

ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับ และติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิดเพื่อให้สถาบันทางการเงินรายงานไปสำนักงาน ปปง. (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) และสถาบันทางการเงินจะต้องมีระบบตรวจจับ ติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบ Near Real-time เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมนั้น ๆ ได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบเพื่อป้องกันความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น

3. มาตรการรับมือมิจฉาชีพ

เพื่อจัดการปัญหามิจฉาชีพที่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ทางสถาบันทางการเงินทุกแห่งจะต้องมีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotline) ตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็วขึ้น รวมทั้งให้ดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของสถาบันทางการเงิน

*ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.tba.or.th

วิธียืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า เมื่อต้องโอนเงินเกินครั้งละ 50,000 จากธนาคารกรุงศรี

  • วิธีการสมัคร NDID ที่ธนาคารกรุงศรี สามารถทำตามได้ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้
     
    การยืนยันตัวตนแบบ NDID
  • วิธีการลงทะเบียน NDID ผ่าน KMA (Krungsri Mobile App) และ Krungsri Biz Online สามารถทำตามได้ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้
     
    วิธีลงทะเบียนบริการ NDID
การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก และพวกเราทุกคนสามารถทำด้วยตัวเองได้อย่างสะดวก เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง โดยสำหรับลูกค้ากรุงศรีที่ยังไม่ได้ยืนยันตัวตนสามารถทำได้ในแอปพลิเคชั่น KMA (Krungsri Mobile App) ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2566 และ สำหรับ Krungsri Biz Online มีผลตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2566 (เฉพาะบุคคลแบบ Single Control เท่านั้น) 
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
  1. scimath.org
  2. wizberry.biz
  3. aigencorp.com
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow